การรายงานผลการประเมินพัฒนาการของเด็กปฐมวัย และการนำไปใช้เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
การรายงานผลการประเมินพัฒนาการของเด็กปฐมวัยและการนำไปใช้เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
การประเมินพัฒนาการของเด็กปฐมวัย มีประโยชน์ในการคัดกรองพัฒนาการของเด็กอนุบาลเบื้องต้นว่าเด็กแต่ละคนมีพัฒนาการเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้หรือไม่ โดดเด่นในเรื่องอะไร ต้องการการพัฒนาเพิ่มเติมในเรื่องใดบ้าง เพื่อที่คุณครูปฐมวัยจะสามารถจัดกิจกรรมการเรียนการสอน กิจกรรมการเรียนรู้ของเด็กแต่ละคนได้อย่างมีประสิทธิผล สามารถให้คำแนะนำต่อพ่อแม่ผู้ปกครองในการช่วยดูแลและส่งเสริมพัฒนาการของลูกหลานได้อย่างเต็มที่
เมื่อมีการประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัยแต่ละคนอย่างครบถ้วนทุกด้านแล้วก็ต้องมีการรายงานผลการประเมินพัฒนาการเพื่อที่จำได้นำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ต่อไป นอกจากนี้การรายงานผลการประเมินพัฒนาการจะเป็นการสื่อสารให้พ่อแม่ ผู้ปกครองและผู้เกี่ยวข้องได้ทราบถึงความก้าวหน้าในการเรียนรู้ของเด็ก
โดยคุณครูอนุบาลและสถานศึกษาต้องสรุปผลการประเมินพัฒนาการและจัดทำเอกสารรายงานผลการประเมินให้ผู้ปกครองทราบเป็นระยะ ๆ อย่างน้อยที่สุดต้องรายงานผลการประเมินพัฒนาการอย่างน้อยภาคเรียนละ 1 ครั้ง
การรายงานผลการประเมินพัฒนาการสามารถรายงานเป็นระดับคุณภาพตามพฤติกรรมที่แสดงออกถึงพัฒนาการแต่ละด้านที่สะท้อนมาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์ทั้ง 12 ข้อตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย ดังต่อไปนี้
1. พัฒนาการด้านร่างกาย ประกอบด้วย 2 มาตรฐาน คือ
มาตรฐานที่ 1 ร่างกายเจริญเติบโตตามวัยและมีสุขนิสัยที่ดี
มาตรฐานที่ 2 กล้ามเนื้อใหญ่และกล้ามเนื้อเล็กแข็งแรง ใช้ได้อย่างคล่องแคล่วและประสานสัมพันธ์กัน
2. พัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ ประกอบด้วย 3 มาตรฐาน คือ
มาตรฐานที่ 3 มีสุขภาพจิตดีและมีความสุข
มาตรฐานที่ 4 ชื่นชมและแสดงออกทางศิลปะ ดนตรี และการเคลื่อนไหว
มาตรฐานที่ 5 มีคุณธรรม จริยธรรม และมีจิตใจที่ดีงาม
3. พัฒนาการด้านสังคม ประกอบด้วย 3 มาตรฐาน คือ
มาตรฐานที่ 6 มีทักษะชีวิตและปฏิบัติตนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
มาตรฐานที่ 7 รักธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม และความเป็นไทย
มาตรฐานที่ 8 อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุขและปฏิบัติตนเป็นสมาชิกที่ดีของสังคมในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
4. พัฒนาการด้านสติปัญญา ประกอบด้วย 4 มาตรฐาน คือ
มาตรฐานที่ 9 ใช้ภาษาสื่อสารได้เหมาะสมกับวัย
มาตรฐานที่ 10 มีความสามารถในการคิดที่เป็นพื้นฐานในการเรียนรู้
มาตรฐานที่ 11 มีจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์
มาตรฐานที่ 12 มีเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้และมีความสามารถในการแสวงหาความรู้ได้เหมาะสมกับวัย
จุดมุ่งหมายการรายงานผลการประเมินพัฒนาการ
1. เพื่อให้ พ่อ แม่ ผู้ปกครอง และผู้เกี่ยวข้องใช้เป็นข้อมูลในการปรับปรุงแก้ไข ส่งเสริม และ พัฒนาเด็กให้มีคุณภาพตามมาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์ในหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย
2. เพื่อให้ผู้สอนใช้เป็นข้อมูลในการวางแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
3. เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับสถานศึกษา เขตพื้นที่การศึกษา และหน่วยงานต้นสังกัดใช้ประกอบใน การกำหนดนโยบายวางแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา
โดยข้อมูลในการรายงานผลการประเมินพัฒนาการนั้นจะแบ่งออกเป็น ข้อมูลระดับชั้นเรียน ข้อมูลระดับสถานศึกษา และข้อมูลระดับเขตพื้นที่การศึกษา มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
1.ข้อมูลระดับชั้นเรียน ประกอบด้วย เวลามาเรียน บันทึกผลการประเมินพัฒนาการตามหน่วยการเรียนรู้ บันทึกผลการประเมินพัฒนาการประจำชั้น และบันทึกผลพัฒนาการรายบุคคล และต้องจัดทำสารนิทัศน์ที่สะท้อนการเรียนรู้ของเด็ก เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับรายงานให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา คุณครูผู้สอน พ่อ แม่ ผู้ปกครอง ได้รู้ถึงทความก้าวหน้า ประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการเรียนรู้ของเด็ก เพื่อนำไปใช้ในการวางแผนกำหนดเป้าหมายและวิธีการในการพัฒนาเด็ก
2.ข้อมูลระดับสถานศึกษา ประกอบด้วย ผลการประเมินมาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ทั้ง 12 ข้อตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย เพื่อใช้เป็นข้อมูลและสารสนเทศในการพัฒนาการจัดประสบการณ์และคุณภาพของเด็ก ให้เป็นไปตามมาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์ รวมทั้งแจ้งให้ผู้ปกครอง และผู้เกี่ยวข้องได้รับทราบข้อมูล โดยผู้มีหน้าที่รับผิดชอบแต่ละฝ่ายนำไปใช้ปรับปรุงแก้ไขและพัฒนาเด็กให้ เกิดพัฒนาการอย่างถูกต้อง เหมาะสม
3. ข้อมูลระดับเขตพื้นที่การศึกษา ประกอบด้วยผลการประเมินมาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ทั้ง 12 ข้อตามหลักสูตรเป็นรายสถานศึกษา เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับศึกษานิเทศก์ ผู้บริหารการศึกษา ผู้เกี่ยวข้องใช้วางแผนและดำเนินการพัฒนาคุณภาพการศึกษาปฐมวัยของสถานศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา ในการยกระดับคุณภาพเด็กปฐมวัยและมาตรฐานการศึกษาปฐมวัยของสถานศึกษา
เพื่อง่ายต่อการจัดทำรายงานการประเมินพัฒนาการระดับชั้นปฐมวัย และเพื่อให้รายงานการประเมินพัฒนาการระดับชั้นปฐมวัยนั้นออกมาอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด ก็ต้องเริ่มจากการมีเอกสารประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัยที่ดีก่อน หจก.รัฐกุล เป็นผู้จัดจำหน่ายทั้งปลีกและส่ง เอกสารการประเมินพัฒนาการเด็กระดับปฐมวัย ที่ทั้งใช้งานง่าย ละเอียด ครบถ้วน เนื้อหาถูกต้อง มีมาตรฐานตรงตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยของกระทรวงศึกษาธิการ เหมาะอย่างยิ่งที่ช่วยให้คุณครูปฐมวัยนำไปใช้ประเมินพัฒนาการเด็ก พร้อมช่วยให้การจัดทำรายงานการประเมินพัฒนาการระดับชั้นปฐมวัยเป็นไปอย่างง่ายดายมากยิ่งขึ้น
Related posts
ประสบการณ์ยิ่งเยอะ…ยิ่งเรียนรู้ได้ไว ชวนคุณครูปฐมวัยมาดูแนวทางการจัดประสบการณ์การเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย (ตามหลักสูตรปฐมวัย พ.ศ. 2560)
หมวดหมู่
- ความรู้ครูปฐมวัย (108)
- หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย (30)
- อื่นๆ (66)
- ดาวน์โหลดเอกสาร (2)
- พัฒนาการเด็กปฐมวัย (44)
- เอกสารประเมินพัฒนาการเด็ก (14)
- โปรแกรมครูแคร์ (11)
- วิดีโอ (6)
บทความล่าสุด
- 5 เทคนิคเด็ดสำหรับครูและพ่อแม่ เพิ่มทักษะอารมณ์และสังคมให้เด็กปฐมวัย กันยายน 23, 2024
- เคล็ดลับการเตรียมเด็กอนุบาลให้พร้อมสำหรับวันแรกของโรงเรียน กันยายน 22, 2024
- การสร้างสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่เป็นมิตรและปลอดภัยของเด็กปฐมวัย กันยายน 17, 2024
- เปลี่ยนเด็กดื้อเป็นเด็กดี ด้วยวิธีรับมือแบบคุณครูมืออาชีพ กรกฎาคม 1, 2024
- รับมือเด็ก Gen Alpha เรื่องนี้ คุณครูต้องรู้ มิถุนายน 10, 2024
บทความแนะนำ
-
5 เทคนิคเด็ดสำหรับครูและพ่อแม่ เพิ่มทักษะอารมณ์และสังคมให้เด็กปฐมวัย
กันยายน 23, 2024 -
การจัดประสบการณ์เพื่อการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย
มิถุนายน 6, 2018 -
การให้ความช่วยเหลือเด็กที่มีปัญหาพฤติกรรม
มิถุนายน 6, 2018 -
วิธีฟื้นคืนเด็กพิเศษให้ปกติด้วยการศึกษา
มิถุนายน 6, 2018 -
เสริมสร้างพัฒนาการเด็กอย่างไรให้โตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ!
มิถุนายน 6, 2018