ประสบการณ์ยิ่งเยอะ…ยิ่งเรียนรู้ได้ไว ชวนคุณครูปฐมวัยมาดูแนวทางการจัดประสบการณ์การเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย (ตามหลักสูตรปฐมวัย พ.ศ. 2560)
แนวทางการจัดประสบการณ์การเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย ตามหลักสูตรปฐมวัย พ.ศ. 2560
“สร้างประสบการณ์เพื่อเสริมการเรียนรู้มุ่งให้เด็กอนุบาลมีพัฒนาการที่ดี”
การเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย (ช่วงอายุ 3-6ปี) ซึ่งเป็นวัยที่จะต้องมาเรียนรู้สิ่งต่างๆ กับคุณครูอนุบาลในโรงเรียน ต้องการอบรม เลี้ยงดู ชี้แนะ เพื่อให้เด็กปฐมวัยได้มี พัฒนาการทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญาที่เหมาะสมกับวัย การเรียนการสอนในระดับชั้นอนุบาลจึงไม่ใช่แค่การสอนอ่านเขียน ไม่ใช่แค่การยัดเยียดเนื้อหาด้านวิชาการเท่านั้น แต่ยังจำเป็นต้องมีการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ โดยการจัดกิจกรรมที่หลากหลาย มีการ บูรณาการผ่านการเล่น ซึ่งต้องเป็นการเล่นที่มีความหมายและมีจุดมุ่งหมาย และต้องเป็นกิจกรรมที่เป็นประสบการณ์ตรงผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้า มีสื่อการเรียนการสอนอนุบาลที่เหมาะสม เพื่อส่งเสริมพัฒนาการทั้ง 4 ด้านให้กับเด็ก ได้แก่ ด้านร่างกาย ด้านอารมณ์-จิตใจ ด้านสังคมและด้านสติปัญญา โดยจะต้องเหมาะสมกับวัย เหมาะสมกับความสนใจของเด็ก ล้วนจะส่งผลดีและเป็นรากฐานต่อการพัฒนาและการศึกษาระดับอื่นด้วย
ยกตัวอย่าง “กิจกรรมการเล่นอย่างมีความหมาย” แบบง่ายๆ เลยก็คือ การเล่นขายของ เป็นการแสดงบทบาทสมมติที่เด็กจะได้เรียนรู้ทักษะทางภาษาจากการพูดสื่อสารกัน ในบทบาทของคนขายและลูกค้า นอกจากนี้เด็กๆ ยังจะได้เรียนรู้ทักษะการคำนวณ บวบลบเลขอย่างง่ายๆ จากการเล่นขายของนี้
ชวนคุณครูปฐมวัยมาดูแนวทางการจัดประสบการณ์การเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย (ตามหลักสูตรปฐมวัย พ.ศ. 2560)
หลักการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย
การจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย 3-5 จะไม่จัดเป็นรายวิชา แต่จะจัดในรูปของการบูรณาการผ่านการเล่น ซึ่งจะต้องครอบคลุมประสบการณ์สำคัญที่กำหนดในหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย โดยได้กำหนดเป็นหลักการไว้ 5 ข้อ คือ
1.จัดประสบการณ์การเล่นและการเรียนรู้เพื่อพัฒนาเด็กเป็นองค์รวมอย่างต่อเนื่องและหลากหลาย
2.เน้นเด็กเป็นสำคัญ สนองความต้องการ ความสนใจ ความแตกต่างระหว่างบุคคลและตามสภาพแวดล้อมของสังคมที่เด็กอยู่อาศัย
3.จัดให้เด็กได้รับการพัฒนาโดยให้ความสำคัญทั้งกระบวนการเรียนรู้และผลผลิตซึ่งก็คือพัฒนาการของเด็ก
4.จัดการประเมินพัฒนาให้เป็นกระบวนการอย่างต่อเนื่องและเป็นส่วนหนึ่งของการจัดประสบการณ์
5. ให้ผู้ปกครองและชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาเด็ก
ส่วนสำหรับ แนวทางการจัดเนื้อหาสาระในแต่ละกิจกรรมเพื่อให้มีประสิทธิภาพที่สุด ควรจัดตามลำดับขั้นตอน ความยากง่าย และความต่อเนื่อง โดยยึดหลักต่อไปนี้
1. จัดเรียงลำดับจากเนื้อหาสาระที่ง่ายไปหายาก
2. จัดให้เรียนส่วนรวมก่อนส่วนย่อย
3. จัดให้เรียนในสิ่งที่เป็นรูปธรรมก่อนนามธรรม
4. จัดให้เรียนในสิ่งที่เป็นความรู้พื้นฐานก่อนสิ่งที่เป็นความรู้ขั้นสูง
5. จัดให้เรียนตามลำดับเวลาให้เห็นความต่อเนื่องกัน
แนวทางการจัดประสบการณ์ (ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย 2560)
1.จัดประสบการณ์ให้สอดคล้องกับอายุ วุฒิภาวะและระดับพัฒนาการ เพื่อให้เด็กทุกคนได้พัฒนาเต็มตามศักยภาพ
2.จัดประสบการณ์ให้สอดคล้องกับแบบการเรียนรู้ของเด็ก เรียนรู้ผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้า
3.จัดประสบการณ์แบบบูรณาการ โดยบูรณาการทั้งกิจกรรม ทักษะ และสาระการเรียนรู้
4.จัดประสบการณ์ให้เด็กได้คิดริเริ่ม วางแผน ตัดสินใจ ลงมือกระทำ
5.จัดประสบการณ์ให้เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้การทำกิจกรรมแบบร่วมมือในลักษณะต่าง ๆ กัน
6.จัดประสบการณ์ให้เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับสื่อและแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลายและอยู่ในวิถีชีวิตของเด็ก สอดคล้องกับบริบท สังคม และวัฒนธรรมที่แวดล้อมเด็ก
7.จัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมลักษณะนิสัยที่ดีและทักษะการใช้ชีวิตประจำวันตลอดจนสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมให้เป็นส่วนหนึ่งของการจัดประสบการณ์การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
8.จัดประสบการณ์ทั้งในลักษณะที่ดีการวางแผนไว้ล่วงหน้าและแผนที่เกิดขึ้นในสภาพจริงโดยไม่ได้คาดการณ์ไว้
9.จัดทำสารนิทัศน์ด้วยการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กเป็นรายบุคคล นำมาไตร่ตรองและใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาเด็ก และการวิจัยในชั้นเรียน
10.จัดประสบการณ์โดยให้พ่อแม่ ครอบครัว และชุมชนมีส่วนร่วมทั้งการวางแผน การสนับสนุนสื่อแหล่งเรียนรู้ การเข้าร่วมกิจกรรม และการประเมินพัฒนาการ
เมื่อมีการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้กับเด็กๆ ไม่ว่าจะในโรงเรียนอนุบาลหรือในศูนย์เด็กเล็ก คุณครูปฐมวัยก็จำเป็นต้องมีการประเมินเด็กด้วย เพราะการจัดกิจกรรมการเรียนรู้นั้นมี จุดมุ่งหมายในการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยครอบคลุมพัฒนาการเด็กทุกด้าน ได้แก่ร่างกาย อารมณ์ สังคม สติปัญญา การประเมินพัฒนาการควรยึดหลักต่อไปนี้…
1. ประเมินพัฒนาการเด็กทุกด้านและนำผลมาพัฒนาเด็ก
2. ประเมินเป็นรายบุคคลสม่ำเสมอและต่อเนื่องตลอดปี
3. ประเมินพัฒนาการตามสภาพจริงจากกิจกรรมประจำวันด้วยเครื่องมือที่หลายหลาย
4. ประเมินอย่างเป็นระบบ มีการวางแผน และมีการจัดบันทึกไว้เป็นหลักฐาน ด้วยการใช้เอกสารประเมินพัฒนาการเด็ก
5. สรุปผลประเมิน จัดทำข้อมูลและนำผลการประเมินไปใช้พัฒนาเด็ก
การประเมินผลอย่างต่อเนื่องจะส่งผลต่อ การจัดการเรียนการสอน การจัดประสบการณ์ที่เหมาะสม และสอดคล้องกับความสนใจของเด็ก ย่อมทำให้เกิดประโยชน์ต่อเด็กมากที่สุด
หากสนใจเอกสารประเมินพัฒนาการเด็กที่ได้มาตรฐาน กรอกและสรุปผลง่าย หรือสื่อการเรียนการสอนอนุบาลอื่นๆ อีกมากมายที่จะช่วยพัฒนาศักยภาพของเด็กๆ สามารถติดต่อได้ที่
โทร 081-6257458 / 089-6911094
Line @rathakun11
Fax 043-340335
Email rathakun11@gmail.com
รัฐกุล ผู้ช่วยที่ดีที่สุดของครูอนุบาล
Related posts
หมวดหมู่
- ความรู้ครูปฐมวัย (108)
- หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย (30)
- อื่นๆ (66)
- ดาวน์โหลดเอกสาร (2)
- พัฒนาการเด็กปฐมวัย (44)
- เอกสารประเมินพัฒนาการเด็ก (14)
- โปรแกรมครูแคร์ (11)
- วิดีโอ (6)
บทความล่าสุด
- 5 เทคนิคเด็ดสำหรับครูและพ่อแม่ เพิ่มทักษะอารมณ์และสังคมให้เด็กปฐมวัย กันยายน 23, 2024
- เคล็ดลับการเตรียมเด็กอนุบาลให้พร้อมสำหรับวันแรกของโรงเรียน กันยายน 22, 2024
- การสร้างสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่เป็นมิตรและปลอดภัยของเด็กปฐมวัย กันยายน 17, 2024
- เปลี่ยนเด็กดื้อเป็นเด็กดี ด้วยวิธีรับมือแบบคุณครูมืออาชีพ กรกฎาคม 1, 2024
- รับมือเด็ก Gen Alpha เรื่องนี้ คุณครูต้องรู้ มิถุนายน 10, 2024
บทความแนะนำ
-
5 เทคนิคเด็ดสำหรับครูและพ่อแม่ เพิ่มทักษะอารมณ์และสังคมให้เด็กปฐมวัย
กันยายน 23, 2024 -
การจัดประสบการณ์เพื่อการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย
มิถุนายน 6, 2018 -
การให้ความช่วยเหลือเด็กที่มีปัญหาพฤติกรรม
มิถุนายน 6, 2018 -
วิธีฟื้นคืนเด็กพิเศษให้ปกติด้วยการศึกษา
มิถุนายน 6, 2018 -
เสริมสร้างพัฒนาการเด็กอย่างไรให้โตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ!
มิถุนายน 6, 2018