‘สมุดรายงานประจำตัวเด็ก’ หรือ ที่เรียกกันติดปากกว่า ‘สมุดพก’ คือเอกสารประเมินพัฒนาการสำหรับเด็กปฐมวัย โดยปัจจุบันสมุดรายงานประจำตัวเด็ก ได้มีการปรับให้ตรงตามเกณฑ์การประเมินและจุดหมายของหลักสูตรปฐมวัยปี พ.ศ. 2560 ซึ่งหลักสูตรนี้เป็นหลักสูตรล่าสุดที่ใช้กันในการสอนหลักสูตรปฐมวัยนั่นเอง
โดยวันนี้ “รัฐกุล” จะมาไขข้อสงสัยสำหรับใครหลายคนที่ยังอาจไม่รู้ว่าทำไม “สมุดรายงานประจำตัว” ถึงจำเป็นสำหรับคุณครู สิ่งนี้มีหน้าที่และช่วยอะไรคุณครูในการเรียนการสอนสำหรับเด็กปฐมวัยได้บ้าง
เรามีคำตอบให้คุณในบทความนี้แล้ว มาอ่านเพื่อทำความเข้าใจกันเลย
สมุดรายงานประจำตัวเด็ก…ตัวช่วยการประเมินพัฒนาการ
การพัฒนาการของเด็กนั้นนอกจากการมองเห็นด้วยตา รับรู้ด้วยความรู้สึกและการกระทำ สิ่งที่จำเป็นคือต้องทำการจดบันทึกเพื่อเป็นการประเมินและส่งให้ตรงตามหลักเกณฑ์ของสถานศึกษา และหลักเกณฑ์ของกระทรวงศึกษาธิการที่ระบุไว้ในหลักสูตรการศึกษาภาคปฐมวัย ฉบับปี 2560
โดยเจ้าตัวสมุดรายงานประจำตัวเด็กนั้นจะมีข้อมูลเกี่ยวกับเด็ก,การบันทึกพัฒนาการ และ หลักเกณฑ์ของจุดมุ่งหมายในการพัฒนาของตัวเด็กที่ระบุไว้ เพื่อให้คุณครูได้เก็บบันทึกข้อมูลของเด็ก
ซึ่งหน้าที่ของคุณครูกับสมุดรายงานประจำตัวเด็กเล่มนี้คือการทำการกรอกข้อมูล การบันทึกพัฒนาการ และการประเมินพัฒนาการเด็ก โดยการใช้สมุดรายงานประจำตัวเด็กนั้นจะใช้ 1 เล่ม ต่อ 1 คน
สมุดรายงานประจำตัวเด็ก…สื่อกลางสื่อสารกับผู้ปกครอง
สมุดรายงานประจำตัวเด็กจะเป็นแหล่งบันทึกข้อมูลและหลักฐานสำหรับการพูดคุยกับผู้ปกครองของเด็ก เพื่อให้พวกเขารับรู้ถึงพัฒนาการของลูก และรับรู้ว่าลูกมีข้อบกพร่องทางด้านพัฒนาการทางไหน เพื่อที่จะได้หาทางร่วมกันระหว่างผู้สอนและผู้ปกครองในการช่วยส่งเสริมพัฒนาการของเด็ก ที่ยังไม่ผ่านหลักเกณฑ์ให้กลับมามีพัฒนาการตรงตามเกณฑ์ เพื่อพร้อมที่จะเรียนในระดับชั้นถัดไป
สมุดรายงานประจำตัวเด็ก…มีความแม่นยำกว่าการทำเอง
อย่างที่บอกในข้อก่อนหน้าสมุดรายงานประจำตัวเด็กมีหน้าที่ช่วยคุณครูสำหรับการบันทึกข้อมูล แต่การจดบันทึกข้อมูลเองโดยไม่ได้ใช้สมุดรายงานประจำตัวเด็กนั้นอาจจะทำให้มีส่วนใดส่วนหนึ่งตกหล่นดังนั้นการใช้สมุดรายงานประจำตัวเด็กที่จัดเนื้อหาข้อมูลครบถ้วนตามเกณฑ์ของกระทรวงศึกษาธิการ จะทำให้คุณครูผู้สอนสามารถลงบันทึกสำเร็จได้ครบทุกจุดนั่นเอง
สมุดรายงานประจำตัวเด็ก…คือหลักฐานการประเมินคุณภาพการจัดการศึกษา
แน่นอนว่าการที่คุณครูบันทึกข้อมูลการพัฒนาของเด็กและทำการประเมินพัฒนาการตามที่ระบุไว้ในสมุดรายงานประจำตัวเด็กนั้น จะทำให้มีหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษรในการประเมินคุณภาพของเด็ก
และข้อมูลนี้นั่นเองที่สามารถนำมาใช้ประเมินคุณภาพการจัดการศึกษาของคุณครูได้ เพราะการจัดการศึกษาที่จะรู้ว่ามีคุณภาพหรือไม่ผลสัมฤทธิ์ของการพัฒนาในตัวเด็กจะเป็นตัวบ่งชี้ ที่สำคัญอย่างหนึ่งของการประเมินคุณครูโดยสถานศึกษาหรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง
เห็นถึงความจำเป็นของ “สมุดรายงานประจำตัวเด็ก” กันแล้ว วันนี้รัฐกุลมีสมุดพกมาแนะนำให้ทุกคนค่ะ
กับ “สมุดพกรายงานประจำตัวเด็กปฐมวัย” ฉบับ สพฐ. และแบบ ศพด. ที่สามารถใช้สำหรับเด็ก 3-5 ปี มาพร้อมกับสีสันหลากสี หลายสไตล์ ใช้บันทึกพัฒนาการของเหล่าเด็กปฐมวัยของคุณครูได้อย่างครบถ้วนตัวเอกสารแม่นยำ ตามหลักสูตรกลางที่ใช้กันทั่วประเทศ มีการอัปเดตข้อมูลเป็นหลักสูตรล่าสุดเสมอ เพราะฉะนั้นคุณครูสามารถใช้กับเด็กได้ทันที ไม่ต้องทำเอกสารเองให้ยุ่งยากอีกต่อไป
หากสนใจแบบประเมินพัฒนาการเด็กที่ได้มาตรฐาน กรอกและสรุปผลง่าย สามารถติดต่อได้ที่
โทร 081-6257458 / 089-6911094
Line @rathakun11
Fax 043-340335
Email rathakun11@gmail.com
รัฐกุล ผู้ช่วยที่ดีที่สุดของครูอนุบาล
Related posts
ประสบการณ์ยิ่งเยอะ…ยิ่งเรียนรู้ได้ไว ชวนคุณครูปฐมวัยมาดูแนวทางการจัดประสบการณ์การเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย (ตามหลักสูตรปฐมวัย พ.ศ. 2560)
หมวดหมู่
- ความรู้ครูปฐมวัย (105)
- หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย (30)
- อื่นๆ (63)
- ดาวน์โหลดเอกสาร (2)
- พัฒนาการเด็กปฐมวัย (44)
- เอกสารประเมินพัฒนาการเด็ก (14)
- โปรแกรมครูแคร์ (11)
- วิดีโอ (6)
บทความล่าสุด
- เปลี่ยนเด็กดื้อเป็นเด็กดี ด้วยวิธีรับมือแบบคุณครูมืออาชีพ กรกฎาคม 1, 2024
- รับมือเด็ก Gen Alpha เรื่องนี้ คุณครูต้องรู้ มิถุนายน 10, 2024
- HOW TO สร้าง Growth Mindset ในชั้นเรียน พฤษภาคม 28, 2024
- ปพ.6 สำคัญไฉน มาไขคำตอบไปพร้อมๆ กัน พฤษภาคม 15, 2024
- รัฐกุล…พาดูแผนภาพการประเมินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2551 ตุลาคม 25, 2023
บทความแนะนำ
-
เปลี่ยนเด็กดื้อเป็นเด็กดี ด้วยวิธีรับมือแบบคุณครูมืออาชีพ
กรกฎาคม 1, 2024 -
การจัดประสบการณ์เพื่อการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย
มิถุนายน 6, 2018 -
การให้ความช่วยเหลือเด็กที่มีปัญหาพฤติกรรม
มิถุนายน 6, 2018 -
วิธีฟื้นคืนเด็กพิเศษให้ปกติด้วยการศึกษา
มิถุนายน 6, 2018 -
เสริมสร้างพัฒนาการเด็กอย่างไรให้โตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ!
มิถุนายน 6, 2018