“เด็กวัยอนุบาล” คือ เด็กที่มีช่วงอายุระหว่าง 3 – 5 ปีเด็กที่อยู่ในช่วงวัยนี้จะมีความซุกซน มักจะเคลื่อนไหวตลอดเวลา เด็กในวัยนี้จะไม่ค่อยอยู่นิ่ง ความคิดมีอิสระอย่างมากและมักจะมีพฤติกรรมเลียนแบบหรือแปรเปลี่ยนไปตามสิ่งแวดล้อมที่พบเห็นใกล้ตัวจึงมีความจำเป็นอย่างมากที่จะต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดเป็นพิเศษ เพื่อให้การพัฒนาเด็กปฐมวัยเป็นไปอย่างเหมาะสมทั้งพัฒนาการด้านร่างกาย พัฒนาการด้านสติปัญญา
พัฒนาการด้านอารมณ์ และพัฒนาการด้านสังคมเรียกได้ว่าการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยในช่วงระยะนี้จะมีผลต่อคุณภาพของคนตลอดชีวิตเลย
“คุณครูปฐมวัย” คือ ผู้ที่อยู่ใกล้ชิดกับเด็ก ๆ วัยนี้ย่อมมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของเด็กที่จะมีการปรับเปลี่ยนไปตามผู้ที่อยู่ใกล้ชิด และ ยังมีอิทธิพลต่อพัฒนาการด้านต่าง ๆ ของเด็กมากที่สุดฉะนั้น คุณครูปฐมวัย จึงจะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถมาก ๆ มีความรับผิดชอบ รักเด็ก จิตใจดี อ่อนโยน และ ต้องเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับเด็ก ๆ ได้อันจะเป็นการวางรากฐานที่ดีทั้งในด้านความคิด ลักษณะนิสัยสติปัญญา และอารมณ์ให้เด็ก
“พัฒนาการทางด้านร่างกาย” สำหรับเด็กปฐมวัยนั้นมีความสำคัญไม่แพ้พัฒนาการด้านอื่น ๆ เลยโดยพัฒนาการด้านร่างกายสำหรับ เด็กปฐมวัย นั้นจะแบ่งเป็นพัฒนาการด้านปริมาณและด้านคุณภาพ โดยด้านปริมาณ คือ การเจริญเติบโตทางด้านต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น ส่วนสูง ตัวโตขึ้นและมีน้ำหนักเพิ่มมากขึ้นส่วนด้านคุณภาพคือการพัฒนาทักษะทางกายภาพในการเคลื่อนไหวส่วนต่าง ๆ เช่น การนั่ง การยืน การเดิน การวิ่ง
และการกระโดด
หน้าที่ในการประเมินพัฒนาการเด็กถือเป็นหน้าที่อีกสำคัญหน้าที่หนึ่งของคุณครูปฐมวัยเลยก็ว่าได้
การประเมินพัฒนาการด้านร่างกาย นั้น คุณครูปฐมวัย จะต้องหมั่นสังเกตพัฒนาการของเด็ก และ เฝ้าระวังปัญหาสุขภาพของ เด็กปฐมวัย จดบันทึกพฤติกรรมลงในบันทึกประจำตัวเด็ก หรือ สมุดรายงานประจำตัวปฐมวัย เพื่อจะได้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับตัวเด็กแต่ละคนทั้งที่ เป็นปกติ และ ไม่ปกติ จะได้หาสาเหตุของปัญหาและช่วยเหลือแก้ไขได้อย่างทันท่วงที โดยคุณครูปฐมวัย ควรมีแบบประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัย สมุดพกปฐมวัยที่มีคุณภาพ เพื่อให้การประเมินพัฒนาการเด็กเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพที่สุด
การประเมินพัฒนาการการเจริญเติบโต ของเด็กปฐมวัยสามารถทำได้โดยชั่งน้ำหนักและ วัดส่วนสูง ของเด็กแล้วนำมาเปรียบเทียบกับมาตรฐานตามอายุ ดังนี้
เด็กปฐมวัยอายุ 3 ปี ต้องน้ำหนักประมาณ 13-14.5 กิโลกรัม สูง ประมาณ 94-95 เซนติเมตร
เด็กปฐมวัยอายุ 4 ปี ต้องน้ำหนักประมาณ 15-17 กิโลกรัม สูง ประมาณ 100-101เซนติเมตร
เด็กปฐมวัยอายุ 5 ปี ต้องน้ำหนักประมาณ 17-19.5 กิโลกรัม สูง ประมาณ 105-106 เซนติเมตร
การเฝ้าระวังปัญหาสุขภาพและดูแลร่างกายของเด็กปฐมวัย ไข้ อาการไข้ในเด็กปฐมวัยนั้น เกิดขึ้นได้หลายสาเหตุอาการที่พบได้บ่อยมาก ได้แก่ ไข้หวัด คอและอักเสบ ไข้ออกผื่น
เป็นต้น
การดูแลเบื้องต้นสามารถทำได้ ดังนี้
ถ้าอุณหภูมิร่างกายสูงกว่า 37.8 องศาเซลเซียส ควรเช็ดตัว เบื้องต้นด้วยน้ำอุณหภูมิห้องหรือ น้ำอุ่นโดยใช้ผ้าขนหนูชุบน้ำ บิดหมาด ๆ เช็ดบริเวณซอกคอ รักแร้ ขาหนีบ ถ้าอุณหภูมิร่างกายสูงกว่า 38.5 องศาเซลเซียส ควรแจ้งผู้ปกครองหรือพาไปพบแพทย์
อาเจียน เกิดจากการบีบรัดตัวของกระเพาะอาหารเพื่อขับสิ่งที่อยู่ในกระเพาะอาหารออกมาจากร่างกาย มาจากหลายสาเหตุ เช่น การรับประทานอาหารที่ไม่สะอาดหรือปนเปื้อนเชื้อโรคอาหารไม่ย่อย เป็นต้นการดูแลเบื้องต้นสามารถทำได้ ดังนี้ ให้เด็กนอนพักในที่ที่มีอากาศถ่ายเท ดื่มน้ำบ่อย ๆดูว่ามีไข้ร่วมด้วย หรือ เปล่าหลังอาเจียนให้เด็กป้วนปากหรือแปรงฟันเพื่อลดการกระตุ้นการอาเจียนซ้ำและแจ้งผู้ปกครองให้พาไปพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุและดูแลรักษาต่อไป
ชัก อาการชักในเด็กมีที่มาหลายสาเหตุ เช่น เป็นไข้สูงโรคลมชัก การติดเชื้อในสมองหรืออุบัติเหตุที่กระทบกระเทือนสมองทำเกิดอาการกระตุกที่ แขนขา ใบหน้า ปาก คล้ำเขียว
การดูแลเบื้องต้นสามารถทำได้ ดังนี้
จับเด็กนอนหงาย แล้วตะแคงหน้าบนพื้นราบเพื่อไม่ให้สำลักน้ำลาย เสมหะ หรือเศษอาหาร ไม่ควรเขย่าตัวเด็กหรืออุ้มมากอดขณะชักถ้ามีไข้ร่วมด้วยให้เช็ดตัวด้วยน้ำอุ่นตลอดเพื่อให้ไข้ลดควรสังเกตเด็กไว้ตลอดว่าชักตอนหลับหรือตื่น ชักกี่นาที มีส่วนใดกระตุกตอนชักหรือไม่โดยปกติอาการชักจะหยุดเองภายใน 15 นาที จากนั้นให้รีบพาไปพบแพทย์ และแจ้งผู้ปกครอง
เลือดกำเดาไหล เกิดจากเส้นเลือดฝอยเล็ก ๆ ในโพรงจมูกแตก ในช่วงที่อากาศหนาวจัดหรือร้อนจัดหรือเกิดอุบัติเหตุจนมีการกระทบกระเทือนทำให้เลือดกำเดาไหล
การดูแลเบื้องต้นสามารถทำได้ ดังนี้
ให้เด็กหายใจทางปาก บีบที่จมูกโดยใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้ประมาณ 5 นาที นั่งตัวตรงหรือนอนให้ศีรษะสูงเพื่อป้องกันการสำลักเลือด หลีกเลี่ยงการสั่งน้ำมูกแรง ๆจากนั้นให้นำฝ้าเย็น หรือน้ำแข็งมาประคบบริเวณจมูกและแก้มเพื่อช่วยให้เลือดหยุดเร็วขึ้น
คุณครูปฐมวัยมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการช่วยดูแลร่างกายและสุขภาพของเด็กวัยอนุบาลตลอดจนเป็นแบบอย่างของการมีพฤติกรรมสุขภาพที่ดีให้กับเด็กปฐมวัย ซึ่งจะช่วยส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการสมวัยครบทุกด้านสุขภาพดี จิตใจแจ่มใส พร้อมเจริญเติบโตขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ
Related posts
ประสบการณ์ยิ่งเยอะ…ยิ่งเรียนรู้ได้ไว ชวนคุณครูปฐมวัยมาดูแนวทางการจัดประสบการณ์การเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย (ตามหลักสูตรปฐมวัย พ.ศ. 2560)
หมวดหมู่
- ความรู้ครูปฐมวัย (108)
- หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย (30)
- อื่นๆ (66)
- ดาวน์โหลดเอกสาร (2)
- พัฒนาการเด็กปฐมวัย (44)
- เอกสารประเมินพัฒนาการเด็ก (14)
- โปรแกรมครูแคร์ (11)
- วิดีโอ (6)
บทความล่าสุด
- 5 เทคนิคเด็ดสำหรับครูและพ่อแม่ เพิ่มทักษะอารมณ์และสังคมให้เด็กปฐมวัย กันยายน 23, 2024
- เคล็ดลับการเตรียมเด็กอนุบาลให้พร้อมสำหรับวันแรกของโรงเรียน กันยายน 22, 2024
- การสร้างสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่เป็นมิตรและปลอดภัยของเด็กปฐมวัย กันยายน 17, 2024
- เปลี่ยนเด็กดื้อเป็นเด็กดี ด้วยวิธีรับมือแบบคุณครูมืออาชีพ กรกฎาคม 1, 2024
- รับมือเด็ก Gen Alpha เรื่องนี้ คุณครูต้องรู้ มิถุนายน 10, 2024
บทความแนะนำ
-
5 เทคนิคเด็ดสำหรับครูและพ่อแม่ เพิ่มทักษะอารมณ์และสังคมให้เด็กปฐมวัย
กันยายน 23, 2024 -
การจัดประสบการณ์เพื่อการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย
มิถุนายน 6, 2018 -
การให้ความช่วยเหลือเด็กที่มีปัญหาพฤติกรรม
มิถุนายน 6, 2018 -
วิธีฟื้นคืนเด็กพิเศษให้ปกติด้วยการศึกษา
มิถุนายน 6, 2018 -
เสริมสร้างพัฒนาการเด็กอย่างไรให้โตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ!
มิถุนายน 6, 2018