ก่อนหน้านี้รัฐกุลได้มีบทความดี ๆ เกี่ยวกับ HOW TO การกรอกแบบบันทึกผลประเมินพัฒนาการ อ02 หรือ ศพด.2 กันไปแล้ว (คลิก) วันนี้รัฐกุลมาพร้อมกับบทความ HOW TO วิธีการสังเกตพัฒนาการเด็ก ที่คุณครูต้องรู้ โดยหลักการเหล่านี้คือการดูวิธีการที่เด็กแสดงออกและการให้ความร่วมมือ รวมไปถึงการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่หลักสูตรได้กำหนด ซึ่งมีหลักการในการสังเกตตัวเด็กดังนี้
การสังเกตพัฒนาการด้านร่างกาย
การสังเกตพัฒนาการทางด้านร่างกาย เป็นสิ่งที่สามารถสังเกตได้ด้วยตาเปล่ามากที่สุด ผ่านจากการปฏิบัติตามหลักการพัฒนาการที่ถูกกำหนดไว้ และผ่านการเติบโตของร่างกาย
โดยส่วนใหญ่แล้วการพัฒนาการทางด้านร่างกายนั้นจะเน้น การใช้กล้ามเนื้อใหญ่,กล้ามเนื้อเล็ก, การประสานสัมพันธ์ระหว่างกล้ามเนื้อและระบบประสาท การเคลื่อนไหวทางร่างกาย นอกจากนี้ไม่เพียงแต่การสังเกตผ่านการเคลื่อนไหวเท่านั้น ยังมีพฤติกรรมการรักษาอนามัยของตนเอง และรักษาความปลอดภัยให้แก่ผู้อื่น ตัวอย่างเช่น การใส่ใจการแปรงฟันหลังทานอาหารของตัวเอง เป็นต้น
การสังเกตพัฒนาการทางด้านอารมณ์ และจิตใจ
การสังเกตพัฒนาการทางด้านอารมณ์ และจิตใจ จะเป็นสิ่งที่บอกว่าสังเกตง่ายก็จะเหมือนง่าย แต่จะว่ายากก็เหมือนยากเพราะความแตกต่างของเด็กที่เราเจอนั้นไม่เหมือนกัน ดังนั้นคุณครูผู้สอนต้องใส่ใจและสังเกตพัฒนาการทางด้านนี้เป็นพิเศษ โดยดูผ่านการแสดงออกทางอารมณ์ ผ่านเวลาการให้ความร่วมมือกับกิจกรรมที่ทางผู้สอนจัดขึ้น
ตัวอย่างเช่น เด็กให้ความร่วมมือหรือแสดงออกเวลามีการเปิดเพลง ให้ทุกคนร่วมทำกิจกรรม หากเด็กเกิดอารมณ์ทางจิตใจที่ไม่ดีก็อาจจะแสดงออกด้วยการปฏิเสธการทำ ดังนั้นผู้สอนต้องสังเกตและหาถึงปัญหาพร้อมหาวิธีทางออกร่วมกับผู้ปกครองของเด็ก
การสังเกตพัฒนาการทางด้านสติปัญญา
การสังเกตพัฒนาการทางด้านสติปัญญา เป็นการวัดความรู้ในตัวของเด็ก แม้จะเป็นเด็กในช่วงปฐมวัยก็สามารถวัดได้ โดยดูผ่านการแก้ปัญหาของเขา การจดจำความรู้หรือสิ่งรอบตัวที่เราได้ให้ความรู้แก่เขาไป โดยเขาจะใช้ประสาททั้ง 5
และการใช้ความคิดในการคิดรวบยอด คิดเชิงเหตุผล การตัดสินใจในการทำสิ่งต่าง ๆ โดยวิธีการสังเกตก็สามารถทำผ่านบทเรียน หรือระหว่างในห้องเรียน ตั้งคำถามพร้อมสังเกตการกระทำและคำตอบของเขาก็จะเป็นตัวช่วยได้อย่างมาก
การสังเกตพัฒนาการทางด้านสังคม
การสังเกตพัฒนาการทางด้านสังคม เป็นการสังเกตที่ตัวเด็กโดยตรง ผ่านการดูการมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมชั้นเรียน หรือผู้คนรอบข้างตัวของเด็ก สิ่งแวดล้อมรอบตัว ดูว่าเขามีปฏิกิริยาอย่างไรในการสานสัมพันธ์กับผู้อื่น รวมไปถึงดูว่าเขาวางตัวอย่างไร นอกจากนี้ให้สังเกตว่าเขาได้มีการปรับตัวเข้ากับสังคมรอบด้านเขาหรือไม่
เช่น หากมีการตั้งหน้าที่ให้ทำเวร เก็บกวาดห้อง ให้ดูว่าเขากระตือรือร้นที่จะทำร่วมกับเพื่อนหรือไม่ หากไม่ให้แนะนำเขาว่าควรทำอย่างไร เพื่อที่จะทำให้เขาได้อยู่ในสังคมส่วนรวมได้นั่นเอง
“การสังเกต” เป็นส่วนหนึ่งในทักษะของคุณครูที่ควรมี เพราะเด็กในช่วงปฐมวัยเป็นช่วงที่กำลังเริ่มรับรู้ และเริ่มต้นปูรากฐานเพื่อพัฒนาไปสู่อนาคต ดังนั้นคุณครูต้องหมั่นสังเกตและส่งเสริมเขาในทุกช่องโหว่ที่มีช่วยเติมเต็มให้พัฒนาการของเขาพร้อมที่จะเรียนรู้ในระดับชั้นที่สูงกว่าเดิม
Related posts
หมวดหมู่
- ความรู้ครูปฐมวัย (108)
- หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย (30)
- อื่นๆ (66)
- ดาวน์โหลดเอกสาร (2)
- พัฒนาการเด็กปฐมวัย (44)
- เอกสารประเมินพัฒนาการเด็ก (14)
- โปรแกรมครูแคร์ (11)
- วิดีโอ (6)
บทความล่าสุด
- 5 เทคนิคเด็ดสำหรับครูและพ่อแม่ เพิ่มทักษะอารมณ์และสังคมให้เด็กปฐมวัย กันยายน 23, 2024
- เคล็ดลับการเตรียมเด็กอนุบาลให้พร้อมสำหรับวันแรกของโรงเรียน กันยายน 22, 2024
- การสร้างสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่เป็นมิตรและปลอดภัยของเด็กปฐมวัย กันยายน 17, 2024
- เปลี่ยนเด็กดื้อเป็นเด็กดี ด้วยวิธีรับมือแบบคุณครูมืออาชีพ กรกฎาคม 1, 2024
- รับมือเด็ก Gen Alpha เรื่องนี้ คุณครูต้องรู้ มิถุนายน 10, 2024
บทความแนะนำ
-
5 เทคนิคเด็ดสำหรับครูและพ่อแม่ เพิ่มทักษะอารมณ์และสังคมให้เด็กปฐมวัย
กันยายน 23, 2024 -
การจัดประสบการณ์เพื่อการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย
มิถุนายน 6, 2018 -
การให้ความช่วยเหลือเด็กที่มีปัญหาพฤติกรรม
มิถุนายน 6, 2018 -
วิธีฟื้นคืนเด็กพิเศษให้ปกติด้วยการศึกษา
มิถุนายน 6, 2018 -
เสริมสร้างพัฒนาการเด็กอย่างไรให้โตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ!
มิถุนายน 6, 2018