“รอยเชื่อมต่อ” ทางการศึกษาที่เด็กทุกคนจะต้องเจอ แบ่งได้เป็น 3 ระยะ คือ รอยเชื่อมต่อระหว่างบ้านและโรงเรียนอนุบาล, รอยเชื่อมต่อระหว่างชั้นเรียนอนุบาลและประถมศึกษา , รอยเชื่อมต่อระหว่างชั้นเรียนประถมศึกษาและมัธยมศึกษา โดยรอยเชื่อมต่อทางการศึกษาที่เป็นปัญหามากที่สุด ก็คือ “รอยเชื่อมต่อระหว่างชั้นเรียนปฐมวัยและประถมศึกษา” เพราะด้วยหลักสูตรที่แตกต่างกันค่อนข้างมาก รูปแบบการเรียนที่เปลี่ยนแปลงไป ประกอบกับต้องพบเจอกับสภาพแวดล้อมใหม่ ๆ กิจวัตรประจำวันใหม่ ๆ ธรรมชาติของเด็กวัยนี้ถือว่าค่อนข้างยากที่จะยอมรับความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น เด็กบางคนที่สามารถปรับตัวได้ก็จะส่งผลดีต่อพัฒนาการและสามารถเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็ว มีความก้าวหน้า แต่บางคนก็มีปัญหาในช่วงเชื่อมต่อการศึกษาจากปฐมวัยไปประถมศึกษา ไม่สามารถปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงในช่วงรอยต่อได้ จนกลายอุปสรรคข้อสำคัญต่อการเรียนรู้ของเด็กในระดับชั้นประถมศึกษาอย่างมาก
ผอ. ต้องออกโรง : บทบาทหน้าที่ของผู้บริหารในการเชื่อมรอยต่อ ระหว่างระดับชั้นอนุบาล สู่ระดับประถมศึกษาให้ไร้สะดุด ไม่มีขาดตอน
“การเชื่อมต่อของการศึกษาระดับปฐมวัยกับระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1” เป็นสิ่งที่ผู้บริหารสถานศึกษาต้องให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง และจัดว่าเป็นบุคคลแรกที่มีบทบาทสำคัญในการสร้างรอยเชื่อมต่อ โดยจะต้องทำหน้าที่หลัก ๆ ในการทำให้คุณครูอนุบาล คุณครูประถม พ่อ แม่ ผู้ปกครอง ตลอดจนบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับเด็กปฐมวัย ตระหนักรู้และเข้าใจถึงพัฒนาการการเรียนรู้ของเด็ก เพื่อนำไปสร้างหลักสูตรที่เชื่อมต่อกับระดับการศึกษาและจัดการเรียนการสอนที่เหมาะสมกับธรรมชาติการเรียนรู้และพัฒนาการของเด็กแต่ละคน อันจะเป็นประโยชน์ทำให้เด็ก ๆ ทุกคนสามารถพัฒนาและเรียนรู้ได้อย่างเหมาะสมตามวัย โดยที่ไม่ทิ้งเด็กคนไหนไว้ข้างหลัง
บุคลากรทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องจึงจะต้องทำหน้าที่ของตนเองอย่างเคร่งครัด เพื่อช่วยลดช่องว่างของความไม่เข้าใจในการจัดการศึกษาทั้งสองระดับ ซึ่งจะส่งผลต่อการจัดการเรียนการสอน ตัวเด็ก คุณครู ผู้ปกครองและบุคลากรทางการศึกษาอื่น ๆ ทั้งระบบ คุณครูระดับปฐมวัยกับคุณครูระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ต้องสร้างความเข้าใจร่วมกัน ผู้บริหารสถานศึกษา พ่อแม่ ผู้ปกครอง ชุมชน และผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายควรให้การสนับสนุนและช่วยเหลือที่เหมาะสม เพื่อให้เด็กทุก ๆ คน สามารถปรับตัวรับความเปลี่ยนแปลงในช่วงรอยเชื่อมต่อได้เป็นอย่างดี ดีต่อพัฒนาการเรียนรู้ของเด็ก มีความสุขในการไปโรงเรียน ประสบผลสำเร็จตามเป้าหมายหลักสูตรที่กาหนดไว้
เพื่อทำความเข้าใจและจัดระบบการบริหารงานด้านวิชาการที่จะเอื้อต่อการสร้างรอยเชื่อมต่อการศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษาควรดำเนินการ ดังนี้
จัดประชุมสร้างความเข้าใจให้ผู้สอนระดับปฐมวัยและผู้สอนระดับป. 1 เพื่อร่วมกันสร้างแนวปฏิบัติเกี่ยวกับรอยเชื่อมต่อของการศึกษาปฐมวัยและชั้นป.1
จัดเตรียมเอกสารหลักสูตร เอกสารทางวิชาการของระดับการศึกษาปฐมวัยและชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มาไว้ให้ผู้เกี่ยวข้องได้ศึกษาและทำความเข้าใจเกี่ยวกับรอยเชื่อมต่อของการศึกษาปฐมวัยและชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
จัดกิจกรรมการสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของรอยเชื่อมต่อให้ผู้สอนทั้งสองระดับ โดยแลกเปลี่ยนวิธีสอน สะท้อนสภาพปัญหา ความต้องการ และแนวทางการแก้ไข เพื่อเตรียมเด็กปฐมวัย ให้พร้อมสำหรับการเข้าเรียนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
จัดหาสื่อ วัสดุอุปกรณ์ และจัดสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมการเรียนรู้ให้กับเด็ก เพื่อเป็นประโยชน์ในการสร้างรอยเชื่อมต่อของทั้งระดับการศึกษาปฐมวัยและชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
จัดกิจกรรมพัฒนาพ่อแม่ผู้ปกครองเพื่อช่วยเหลือเด็กให้สามารถปรับตัวเข้ากับการเป็นนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เช่น กิจกรรมสัมพันธ์ในรูปแบบต่างๆ จัดทำเอกสารเผยแพร่ จัดประชุมเพื่อปฐมนิเทศ หัวข้อสำคัญในการสร้างความเข้าใจแก่ผู้ปกครอง เช่น จิตวิทยาและพัฒนาการการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย การจัดประสบการณ์ทางภาษาและการรู้หนังสือในระดับปฐมวัย การเตรียมความพร้อมให้กับเด็กส่งผลต่อการเรียนรู้อย่างไร เป็นต้น
การเชื่อมรอยต่อระหว่างระดับชั้นอนุบาล สู่ระดับประถมศึกษาให้ไร้สะดุด ไม่มีขาดตอน ถือเป็นความท้าทายของผู้บริหารสถานศึกษาในการบริหารจัดการรูปแบบของการเชื่อมต่อนี้ หากสามารถบริหารจัดการได้อย่างถูกต้อง ถูกที่ ถูกทางและเหมาะสมแล้ว จะช่วยลดปัญหาในการเรียนรู้ของเด็กที่เปลี่ยนผ่านจากระดับปฐมวัยมาสู่ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ได้มาก นอกจากนี้ยังต้องอาศัยความร่วมมือจากคุณครู พ่อ แม่ ผู้ปกครอง ตลอดจนบุคลาการทุกคนที่เกี่ยวข้อง เพื่อขับเคลื่อนประสานรอยเชื่อมต่อระหว่างการศึกษาระดับปฐมวัยกับระดับประถมศึกษาปีที่ 1 ให้ก้าวไปสู่ความสำเร็จ อันจะส่งผลให้เด็กสามารถเติบโตและมีพัฒนาการตามวัยที่เหมาะสม พร้อมเรียนรู้ในระดับที่สูงขึ้นได้อย่างมีความสุข
Related posts
ประสบการณ์ยิ่งเยอะ…ยิ่งเรียนรู้ได้ไว ชวนคุณครูปฐมวัยมาดูแนวทางการจัดประสบการณ์การเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย (ตามหลักสูตรปฐมวัย พ.ศ. 2560)
หมวดหมู่
- ความรู้ครูปฐมวัย (108)
- หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย (30)
- อื่นๆ (66)
- ดาวน์โหลดเอกสาร (2)
- พัฒนาการเด็กปฐมวัย (44)
- เอกสารประเมินพัฒนาการเด็ก (14)
- โปรแกรมครูแคร์ (11)
- วิดีโอ (6)
บทความล่าสุด
- 5 เทคนิคเด็ดสำหรับครูและพ่อแม่ เพิ่มทักษะอารมณ์และสังคมให้เด็กปฐมวัย กันยายน 23, 2024
- เคล็ดลับการเตรียมเด็กอนุบาลให้พร้อมสำหรับวันแรกของโรงเรียน กันยายน 22, 2024
- การสร้างสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่เป็นมิตรและปลอดภัยของเด็กปฐมวัย กันยายน 17, 2024
- เปลี่ยนเด็กดื้อเป็นเด็กดี ด้วยวิธีรับมือแบบคุณครูมืออาชีพ กรกฎาคม 1, 2024
- รับมือเด็ก Gen Alpha เรื่องนี้ คุณครูต้องรู้ มิถุนายน 10, 2024
บทความแนะนำ
-
5 เทคนิคเด็ดสำหรับครูและพ่อแม่ เพิ่มทักษะอารมณ์และสังคมให้เด็กปฐมวัย
กันยายน 23, 2024 -
การจัดประสบการณ์เพื่อการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย
มิถุนายน 6, 2018 -
การให้ความช่วยเหลือเด็กที่มีปัญหาพฤติกรรม
มิถุนายน 6, 2018 -
วิธีฟื้นคืนเด็กพิเศษให้ปกติด้วยการศึกษา
มิถุนายน 6, 2018 -
เสริมสร้างพัฒนาการเด็กอย่างไรให้โตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ!
มิถุนายน 6, 2018