“ศิลปะ” ไม่มีคำว่าถูกหรือผิด การเรียนรู้ศิลปะของเด็กปฐมวัย ถือเป็นการเปิดโอกาสให้เด็กแต่ละได้ปลดปล่อยจินตนาการให้โลดแล่นออกมาได้อย่างเต็มที่ มีประโยชน์ต่อเด็กปฐมวัยในหลาย ๆ ด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการส่งเสริมพัฒนาการอย่างรอบด้าน แต่ทั้งนี้เด็กในแต่ละช่วงวัยนั้นจะมีความสามารถในการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะที่แตกต่างกัน โดยจะเป็นไปตามพัฒนาการด้านศิลปะของเด็กปฐมวัย ดังต่อไป
พัฒนาการด้านศิลปะของเด็กปฐมวัย ในช่วงอายุ 2 – 4 ขวบ
จะมีพัฒนาการของขั้นการขีดเขียน ทั้งหมด 4 ระยะ ซึ่งสามารถแบ่งออกได้ดังนี้
ระยะที่ 1
ในระยะนี้พัฒนาการด้านศิลปะของเด็กปฐมวัย จะเป็นการขีดเขียนเป็นเส้นยุ่ง ๆ ไม่มีทิศทางที่แน่นอน ไม่มีระเบียบ ไม่มีแบบแผน ไม่คำนึงถึงความหมาย การลากเส้นของเด็กที่ยุ่งเหยิงและสับสนนี้ สามารถแสดงให้เห็นว่าเด็กในช่วงวัยนี้ยังมีการควบคุมกล้ามเนื้อที่ไม่มีความแข็งแรงเพียงพอ จึงไม่สามารถบังคับมือให้เป็นไปตามความต้องการของตนเองได้
ระยะที่ 2
ในระยะนี้พัฒนาการด้านศิลปะของเด็กปฐมวัย จะเป็นการเขียนเส้นยาว โดยเด็กจะสามารถลากเส้นแนวนอนยาว ๆ จากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งได้ ทว่าก็ยังลากได้ไม่ตรงนัก แต่ก็ถือว่าเป็นการเริ่มสร้างเส้นที่มีทิศทางและเป้าหมาย ซึ่งเป็นขั้นที่มีพัฒนาการมากกว่าขั้นที่ขีดเขียนไม่เป็นระเบียบ
ระยะที่ 3
ในระยะนี้พัฒนาการด้านศิลปะของเด็กปฐมวัย จะเป็นการเขียนวงกลม มีการพัฒนากล้ามเนื้อใหญ่ร่วมด้วย โดยสามารถเคลื่อนไหวได้ทั้งแขนด้วยการเขียนเส้นเป็นวงกลม ในช่วงแรกเด็กอาจจะวิธีการหมุนรอบกระดาษในการลากเส้น แต่ต่อมาก็มีการพัฒนาการหมุนข้อมือในการลากเส้นวงกลม จึงทำให้สามารถลากเส้นอยู่กับที่ได้ ถือเป็นขั้นของพัฒนาการทางศิลปะที่เด็กสามารถเริ่มควบคุมกล้ามเนื้อได้
ระยะที่ 4
ในระยะนี้พัฒนาการด้านศิลปะของเด็กปฐมวัย จะเป็นระยะที่เด็กมีการเขียนอะไรลงไปแล้ว จะตั้งชื่อสิ่งที่เขียนไปด้วย เด็กเริ่มที่จะมีการนึกภาพถึงสิ่งที่กำลังเขียน ทั้งภาพวัตถุ คน สัตว์ สิ่งที่เด็กเขียนออกมามักจะไม่เป็นภาพที่ถูกต้องหรือมีรูปร่างที่ถูกต้องตามธรรมชาติ แต่เด็กก็จะพอใจและเริ่มที่จะสนุกสนานกับเรียนรู้ทางศิลปะ
พัฒนาการด้านศิลปะของเด็กปฐมวัย ในช่วงอายุ 4 – 6 ปี
ในระยะนี้พัฒนาการด้านศิลปะของเด็กปฐมวัย จะเป็นขั้นขีดเขียนอย่างมีความหมาย มีพัฒนาการด้านการเขียนเพิ่มจากวงกลม เป็นวงรี สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม แล้วนำมาผสมผสานต่อเติมได้ แต่ภาพยังไม่เป็นเอกลักษณ์ ยังกระจัดกระจาย ตามความพึงพอใจของเด็ก ถือขั้นเริ่มต้นของการแสดงออกที่มีความหมายภาพของสิ่งต่าง ๆ ซึ่งเป็นกระบวนการพัฒนาที่ต่อเนื่องของการขีดเขียนในระยะ 2-3 ปีแรก เด็กเริ่มเรียนรู้แบบมีแบบแผนการเรียนรู้อย่างมีเจตคติ และมีความเป็นตัวของตัวเอง
เมื่อทราบถึงพัฒนาการด้านศิลปะของเด็กปฐมวัยแต่ละช่วงอายุแล้ว คุณครูปฐมวัยก็จำเป็นต้องมีการประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัยด้านศิลปะ เพื่อให้ตัวของคุณครูเองเกิดการพัฒนากิจกรรมการสอนให้มีประสิทธิภาพและเพื่อการพัฒนาเด็กอย่างเต็มศักยภาพ ส่งเสริมพัฒนาการของเด็กให้ครอบคลุมอย่างสมดุล
การประเมินผลงานศิลปะของเด็กปฐมวัย จะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ
- การประเมินผลด้านผลงาน
- การประเมินผลด้านพัฒนาการปฐมวัย
การประเมินผลด้านผลงาน คือ การประเมินผลงานศิลปะของเด็กจากการสังเกตและบันทึกผล โดยคุณครูไม่ควรนำผลงานของเด็กปฐมวัยแต่ละคนมาเปรียบเทียบกัน ทางที่ดีคือจะต้องเปรียบเทียบผลงานแต่ละครั้งของเด็กแต่ละคนว่ามีพัฒนาการขึ้นอย่างไรบ้าง ควรดูไปที่การพัฒนาเด็กปฐมวัยแต่ละคนมากกว่า
- คุณครูปฐมวัยจะต้องคอยดูว่าเด็กปฐมวัยแต่ละคนสร้างสรรค์ผลงานศิลปะสำเร็จมากน้อยแค่ไหน
- คุณครูปฐมวัยจะต้องสังเกตดูว่าเด็กปฐมวัยแต่ละคนพัฒนาก้าวหน้าอย่างไรบ้าง อาจจะดูจากทักษะการใช้กล้ามเนื้อมือ ทักษะการใช้เครื่องมือ ดูการพัฒนาของเด็กปฐมวัยจากผลงานที่เคยทำครั้งก่อน ๆ นำมาเปรียบเทียบกับผลงานปัจจุบัน
- คุณครูปฐมวัยจะต้องคอยดูว่าเด็กมีความคิดสร้างสรรค์มากน้อยขนาดไหน
การประเมินผลด้านพัฒนาการเด็กปฐมวัย คือ การประเมินพัฒนาการเด็กแต่ละด้าน โดยสามารถสังเกตอย่างละเอียด บันทึกผลอย่างสม่ำเสมอ และนำไปสรุปในแบบสมุดพัฒนาการเด็กปฐมวัย สมุดรายงานประจำตัวเด็กปฐมวัย หรือสมุดพกเด็กปฐมวัยได้
- คุณครูปฐมวัยจะต้องดูพัฒนาการด้านร่างกายของเด็ก โดยสังเกตจากความสามารถในการทำงานศิลปะว่าสามารถใช้เครื่องมือใช้อุปกรณ์ได้อย่างคล่องแคล่ว มั่นคงมากแค่ไหน สามารถให้ความสนใจในการทำกิจกรรมได้ยาวนานขนาดไหน เป็นต้น
- คุณครูปฐมวัยจะต้องดูพัฒนาการด้านอารมณ์ของเด็ก โดยสังเกตจากการแสดงออกจากความพึงพอใจต่องานที่ตัวเด็กได้ทำ มีความเพลิดเพลินในขณะที่ได้ลงมือทำงาน เป็นต้น
- คุณครูปฐมวัยจะต้องดูพัฒนาการด้านสังคมของเด็ก โดยสังเกตจากการทำงานร่วมกับเพื่อน ๆ ในชั้นเรียนว่าสามารถปรับตัวให้เข้ากับเพื่อน ๆ ได้หรือไม่ สังเกตว่ามีความรับผิดชอบต่องานได้ดีเพียงใด สังเกตว่าเด็กรู้จักหน้าที่ของตนหรือไม่ เช่น การทำความสะอาดหลังจากทำกิจกรรมเสร็จ การเก็บอุปกรณ์และเครื่องมือหลังจากใช้งานเสร็จ เป็นต้น
- คุณครูปฐมวัยจะต้องดูพัฒนาการด้านสติปัญญาของเด็ก โดยสังเกตดูที่การใช้ความคิดสร้างสรรค์ของเด็ก ดูความสามารถในการแสดงความคิดที่แตกต่างโดยไม่เลียนแบบผลงานของผู้อื่น เป็นต้น
ศิลปะจัดเป็นทักษะที่ต้องการฝึกฝนและเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง หากเด็กคนไหนที่มีความสามารถด้านศิลปะ มีใจรักในการทำงานศิลปะ มีความคิดสร้างสรรค์ที่โดดเด่น คุณครูก็ควรให้การส่งเสริมสนับสนุน แต่ทั้งนี้คุณครูก็ต้องพยายามชื่นชมและให้กำลังใจกับเด็กทุกคนในชั้นเรียน เพื่อให้เด็กมีความมั่นใจซึ่งจะเป็นสิ่งที่ช่วยส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยกล้าที่จะคิด กล้าที่จะทำงานศิลปะต่อไปในอนาคต
Related posts
ประสบการณ์ยิ่งเยอะ…ยิ่งเรียนรู้ได้ไว ชวนคุณครูปฐมวัยมาดูแนวทางการจัดประสบการณ์การเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย (ตามหลักสูตรปฐมวัย พ.ศ. 2560)
หมวดหมู่
- ความรู้ครูปฐมวัย (108)
- หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย (30)
- อื่นๆ (66)
- ดาวน์โหลดเอกสาร (2)
- พัฒนาการเด็กปฐมวัย (44)
- เอกสารประเมินพัฒนาการเด็ก (14)
- โปรแกรมครูแคร์ (11)
- วิดีโอ (6)
บทความล่าสุด
- 5 เทคนิคเด็ดสำหรับครูและพ่อแม่ เพิ่มทักษะอารมณ์และสังคมให้เด็กปฐมวัย กันยายน 23, 2024
- เคล็ดลับการเตรียมเด็กอนุบาลให้พร้อมสำหรับวันแรกของโรงเรียน กันยายน 22, 2024
- การสร้างสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่เป็นมิตรและปลอดภัยของเด็กปฐมวัย กันยายน 17, 2024
- เปลี่ยนเด็กดื้อเป็นเด็กดี ด้วยวิธีรับมือแบบคุณครูมืออาชีพ กรกฎาคม 1, 2024
- รับมือเด็ก Gen Alpha เรื่องนี้ คุณครูต้องรู้ มิถุนายน 10, 2024
บทความแนะนำ
-
5 เทคนิคเด็ดสำหรับครูและพ่อแม่ เพิ่มทักษะอารมณ์และสังคมให้เด็กปฐมวัย
กันยายน 23, 2024 -
การจัดประสบการณ์เพื่อการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย
มิถุนายน 6, 2018 -
การให้ความช่วยเหลือเด็กที่มีปัญหาพฤติกรรม
มิถุนายน 6, 2018 -
วิธีฟื้นคืนเด็กพิเศษให้ปกติด้วยการศึกษา
มิถุนายน 6, 2018 -
เสริมสร้างพัฒนาการเด็กอย่างไรให้โตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ!
มิถุนายน 6, 2018