
การประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัย ถือเป็นกระบวนการที่คุณครูอนุบาลต้องการวัดผลดูว่าเด็กมีพัฒนาการเป็นอย่างไร มีพัฒนาการมากขึ้นเพียงใดหลังผ่านการทำกิจกรรมเสริมประสบการณ์ที่คุณครูได้จัดเตรียมไว้ให้ สำหรับการประเมินพัฒนาการที่ดีต้องติดตามดูกระบวนการเรียนรู้มากกว่าการตัดสินว่าเด็กทำได้หรือไม่ได้ ควรจะเน้นไปที่กระบวนการและการพัฒนาก้าวหน้าของตัวเด็ก มากกว่าจะตัดสินออกมาว่าเด็กมีคะแนนเท่าไรจากการประเมินในแต่ละครั้ง
ในการประเมินพัฒนาการของเด็กอนุบาล คุณครูปฐมวัยจะต้องมีประเมินพัฒนาการอย่างละเอียดทุกด้าน และค่อย ๆ ทำการประเมินตามสภาพการณ์จริงซึ่งจะขึ้นอยู่กับหลักสูตรและกิจกรรมเสริมประสบการณ์ที่เด็ก ๆ ได้เข้าร่วมตลอดปี
เพื่อให้เกิดการประเมินพัฒนาการที่มีประสิทธิภาพที่สุด คุณครูปฐมวัยจะต้องเลือกใช้วิธีการประเมินให้กับเหมาะสมกับกิจกรรม โดนวิธีการที่คุณครูปฐมวัยเลือกใช้ควรจะต้องมากกว่า 2 วิธีการ หรือมากกว่านั้นก็ได้ ซึ่งวิธีการที่ใช้ประเมินพัฒนาการของเด็กอนุบาลที่นิยมใช้ มีดังต่อไปนี้

1. การสังเกตและบันทึก
– การสังเกตแบบเป็นทางการ คือ การสังเกตอย่างมีจุดมุ่งหมายที่แน่นอนตามแผนที่วางไว้
ข้อมูลการสังเกตที่คุณครูบันทึกลงในแบบบันทึกพฤติกรรมนี้จะช่วยให้คุณครูเข้าใจพฤติกรรมเด็กได้ดีขึ้น รู้ว่าเด็กแต่ละคนมีจุดเด่นตรงไหน หรือต้องการความช่วยเหลือในเรื่องใด
– การสังเกตแบบไม่เป็นทางการ คือการสังเกตในขณะที่เด็กทำกิจกรรมประจำวันหรือเกิดพฤติกรรมที่ไม่คาดคิดว่าจะเกิดขึ้น
การสังเกตแบบนี้จะช่วยให้คุณครูได้เห็นความสามารถเฉพาะอย่างของเด็ก จะช่วยให้คุณครูผู้สอนได้พิจารณาปัญหาของเด็กเป็นรายบุคคล เพื่อลดปัญหาหรือส่งเสริมพัฒนาการของเด็กได้อย่างถูกต้อง และเป็นข้อมูลในการพิจารณาปรับปรุงแก้ไขหรือพัฒนาการจัดกิจกรรมและประสบการณ์ของครูให้ดียิ่งขึ้น

2. การบันทึกการสนทนา
การบันทึกการสนทนานี้จะเป็นการบันทึกการสนทนาทั้งแบบเป็นกลุ่มหรือรายบุคคล มีจุดประสงค์เพื่อประเมินความสามารถในการแสดงความคิดเห็น ประเมินความคิด ประเมินความสามารถในการแก้ไขปัญหา รวมไปถึงพัฒนาการด้านการใช้ภาษา และดูทั้งอารมณ์และจิตใจ ข้อมูลเหล่านี้จะเป็นส่วนหนึ่งในการพิจารณาการผ่านสภาพที่พึงประสงค์ที่เกี่ยวข้องในแต่ละเรื่อง

3. การสัมภาษณ์
วิธีการนี้เป็นวิธีการพูดคุยกับเด็กเป็นรายบุคคลและควรจัดในสภาวะแวดล้อมเหมาะสมเพื่อไม่ให้เกิดความเครียดและวิตกกังวลจนเด็กไม่สามารถตอบคำถามออกมาได้เป็นธรรมชาติ คุณครูปฐมวัยควรใช้คำถามที่เหมาะสมเปิดโอกาสให้เด็กได้คิด และตอบอย่างอิสระ อันจะทำให้คุณครูสามารถประเมินความสามารถทางสติปัญญาของเด็กและค้นพบศักยภาพ ในตัวเด็กได้โดยบันทึกข้อมูลลงในแบบสัมภาษณ์

4. การจัดทำสารนิทัศน์สำหรับเด็กปฐมวัยเพื่อการประเมินพัฒนาการ
การจัดทำสารนิทัศน์ คือการจัดทำข้อมูลเพื่อเป็นหลักฐานแสดงให้เห็นว่าเด็กแต่ละคนมีพัฒนาการ มีการเติบโตอย่างไรบ้าง สามารถบ่งบอกถึง พัฒนาการทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา สารนิทัศน์จึงเป็นการประมวลผลที่แสดงให้เห็นถึงกระบวนการจัดประสบการณ์ของครูและการเรียนรู้ของเด็ก ๆ จากการทำกิจกรรมต่าง ๆ
5. การประเมินการเจริญเติบโตของเด็กและตรวจสุขภาพอนามัย
– การประเมินการเจริญเติบโตของเด็ก เป็นการประเมินการเจริญเติบโตด้านร่างกาย ซึ่งจะพิจารณาการเจริญเติบโตในเด็กที่ใช้ทั่ว ๆ ไปอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ น้ำหนัก ส่วนสูง เส้นรอบ ศีรษะ ฟัน และการเจริญเติบโตของกระดูก โดยการชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูงเด็กแล้วนำไปเปรียบเทียบกับเกณฑ์ปกติ ในกราฟแสดงน้ำหนักตามเกณฑ์อายุของกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งใช้สำหรับติดตามการเจริญเติบโตโดยรวม
– การตรวจสุขภาพอนามัย เป็นการตรวจสอบที่แสดงคุณภาพชีวิตของเด็ก โดยพิจารณาความสะอาด สิ่งผิดปกติของร่างกายที่จะส่งผลต่อการดำเนินชีวิตและการเจริญเติบโตของเด็ก
นอกจากวิธีการเหล่านี้แล้วการประเมินพัฒนาการเด็กให้มีประสิทธิภาพที่สุดนั้นจะขึ้นอยู่กับแบบประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัยด้วย ไม่ว่าจะเป็น แบบบันทึกผลการประเมินพัฒนาการประจำชั้น และสมุดรายงานประจำตัวเด็ก ซึ่งจะต้องถูกต้องตรงตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยของกระทรวงศึกษาธิการ
หจก.รัฐกุล เป็นผู้จัดจำหน่ายทั้งปลีกและส่ง เอกสารการประเมินพัฒนาการเด็กระดับปฐมวัย ใช้งานง่าย ละเอียด เนื้อหาถูกต้อง มีสีสันใส สวยงามน่าใช้งาน และที่สำคัญมีมาตรฐานตรงตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยของกระทรวงศึกษาธิการ และมีผู้ทรงคุณวุฒิคอยกำกับดูแลเนื้อหาให้ถูกต้องชัดเจน จึงเหมาะสำหรับการนำไปใช้ในการประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัยที่สุด

หากสนใจแบบประเมินพัฒนาการเด็กที่ได้มาตรฐาน กรอกและสรุปผลง่าย
สามารถติดต่อได้ที่
โทร 081-6257458 / 089-6911094
Line @rathakun11 Fax 043-340335
Email rathakun11@gmail.com
รัฐกุล ผู้ช่วยที่ดีที่สุดของครูอนุบาล
Related posts
ประสบการณ์ยิ่งเยอะ…ยิ่งเรียนรู้ได้ไว ชวนคุณครูปฐมวัยมาดูแนวทางการจัดประสบการณ์การเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย (ตามหลักสูตรปฐมวัย พ.ศ. 2560)

หมวดหมู่
- ความรู้ครูปฐมวัย (116)
- หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย (30)
- อื่นๆ (74)
- ดาวน์โหลดเอกสาร (2)
- พัฒนาการเด็กปฐมวัย (44)
- เอกสารประเมินพัฒนาการเด็ก (14)
- โปรแกรมครูแคร์ (11)
- วิดีโอ (6)
บทความล่าสุด
- สัญญาณเริ่มต้นที่ครูควรรู้ วิธีสังเกตเด็กที่อาจมีความต้องการพิเศษ มีนาคม 7, 2025
- ศิลปะบำบัด เสริมสร้างพัฒนาการเด็กปฐมวัย เรื่องที่ครูอนุบาลไม่ควรมองข้าม มีนาคม 1, 2025
- แจกเทคนิคจัดการความเครียดในเด็กปฐมวัย! ครูอนุบาลต้องรู้ไว้ รับรองเด็กๆ ผ่อนคลายและพร้อมเรียนรู้ กุมภาพันธ์ 20, 2025
- รู้หรือไม่ ความฉลาดทางอารมณ์ของเด็ก เริ่มต้นจากครูอนุบาล กุมภาพันธ์ 14, 2025
- การจัดการกับความหลากหลายทางวัฒนธรรมในห้องเรียนปฐมวัย มกราคม 23, 2025
บทความแนะนำ
-
สัญญาณเริ่มต้นที่ครูควรรู้ วิธีสังเกตเด็กที่อาจมีความต้องการพิเศษ
มีนาคม 7, 2025 -
การจัดประสบการณ์เพื่อการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย
มิถุนายน 6, 2018 -
การให้ความช่วยเหลือเด็กที่มีปัญหาพฤติกรรม
มิถุนายน 6, 2018 -
วิธีฟื้นคืนเด็กพิเศษให้ปกติด้วยการศึกษา
มิถุนายน 6, 2018 -
เสริมสร้างพัฒนาการเด็กอย่างไรให้โตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ!
มิถุนายน 6, 2018