สมองของเด็กวัยอนุบาลเป็นสมองที่จัดว่าสร้างสรรค์ ในช่วงอายุของเด็กวัยนี้ สมองจะเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว มีการขยายเครือข่ายที่เชื่อมโยงต่อกันของเซลล์สมองจนเป็นเครือข่ายใยสมองอย่างว่องไว ยิ่งเซลล์สมองและจุดเชื่อมต่อของเครือข่ายใยสมองได้รับการกระตุ้นมากขึ้นเท่าไหร่ก็ยิ่งทำให้สมองมีความสามารถในการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วและยิ่งจดจำบทเรียนต่าง ๆ ได้มากขึ้น โดยปัจจัยในการพัฒนาของสมองนั้นจะประกอบไปด้วย พันธุกรรม โภชนาการ และสิ่งแวดล้อม
เด็กในวัยนี้จะมีการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นสัมพันธ์กับอารมณ์ และสมองจะมีผลต่อพัฒนาการที่สำคัญของเด็กวัยอนุบาลอย่างมาก ทั้งในเรื่องของการควบคุม เรื่องการเรียนรู้ ความคิด จินตนาการ ความฉลาด และพัฒนาการทุก ๆ ด้านของเด็ก ๆ เลยก็ว่าได้
ในช่วงวัยอนุบาลหรือช่วงปฐมวัยนี้ถือเป็นเวลาทองในการพัฒนากระบวนการทางความคิดของสมองส่วนหน้า ที่ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการคิด ความรู้สึก และการควบคุมการกระทำ โดยจะส่งผลต่อการยับยั้งชั่งใจ การคิดไตร่ตรอง การควบคุมอารมณ์ การจดจำ เป็นต้น
นอกจากนี้ สมองยังเป็นอวัยวะสำคัญสำหรับการเรียนรู้ภาษาและการสื่อสาร โดยสมองเด็กจะมีความจำผ่านการฟัง ต้องการรับรู้ข้อมูลของเสียงพร้อมเห็นภาพไปด้วยพร้อม ๆ กัน เริ่มรู้จัก เพราะข้อมูลจากภาพ เสียง และสัมผัสเหล่านี้จะทำให้เด็กปฐมวัยรับรู้และเข้าใจซับซ้อนขึ้นเรื่อย ๆ ได้ในที่สุด สมองเด็กที่สามารถเรียนรู้ภาษาได้ดีต้องอยู่ในสิ่งแวดล้อมของภาษาที่เรียนรู้อย่างเหมาะสมจึงจะเรียนรู้ได้ดีนั่นเอง
การจัดประสบการณ์การการเรียนรู้ที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านการใช้ภาษาและการสื่อสารสำหรับเด็กปฐมวัย ผ่านการใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้า และการมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลและสิ่งต่าง ๆ รอบตัว รวมถึงส่งเสริม เจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้และการแสวงหาความรู้ มีดังตัวอย่างต่อไปนี้
1. การฟังเพลง นิทาน บทร้อยกรอง คำคล้องจอง หรือเรื่องราวต่างๆ
ตัวอย่างประสบการณ์และกิจกรรม : ให้คุณครูอนุบาลเปิดเพลง เล่านิทาน อ่านบทร้อยกรอง พูดคำคล้องจอง และบอกเล่าเรื่องราวที่น่าสนใจให้เด็กปฐมวัยฟัง
2. การพูดกับผู้อื่นเกี่ยวกับประสบการณ์ของตนเองหรือพูดเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับตนเอง
ตัวอย่างประสบการณ์และกิจกรรม : ให้คุณครูอนุบาลลองฝึกให้เด็กปฐมวัยพูดเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับตนเอง พูดเล่าข่าว เล่าประสบการณ์ หรือเรื่องราวเกี่ยวกับตนเอง หรือเหตุการณ์ประจำวัน เช่น ครอบครัวของฉัน
3. การพูดอธิบายเกี่ยวกับสิ่งของ เหตุการณ์ และ ความสัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ
ตัวอย่างประสบการณ์และกิจกรรม : ให้คุณครูอนุบาลฝึกให้เด็กปฐมวัย พูดบอกลักษณะสิ่งของที่สังเกต เล่าข่าว เล่าประสบการณ์ เช่น กิจกรรมที่ทำในวันหยุด กิจกรรมที่ได้ทำด้วยตนเอง หรือทำร่วมกับเพื่อนและครู หรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ตามลำดับหรือตามช่วงเวลา
4. การอ่านหนังสือภาพหรือนิทานที่ตัวเด็กสนใจ
ตัวอย่างประสบการณ์และกิจกรรม : ให้คุณครูอนุบาลฝึกให้เด็กปฐมวัยได้อ่านภาพ นิทาน อ่านป้ายและสัญลักษณ์ที่เด็กสนใจให้เพื่อนร่วมห้องฟัง
5. การอ่านโดยมีคุณครูคอยแนะนำ
ตัวอย่างประสบการณ์และกิจกรรม : ให้คุณครูอนุบาลแนะนำส่วนต่าง ๆ ของหนังสือตั้งแต่ปกหน้าจนถึงปกหลังแล้วเป็นผู้นำการอ่านโดย ชี้คำในหนังสือจากซ้ายไปขวา เด็กชี้และอ่านตามครูพร้อมกัน อ่านชี้แนะโดยครูเป็นผู้นำการอ่านกับเด็กกลุ่มย่อย 3 – 5 คน
6. การสังเกตตัวอักษรที่ประกอบเป็นคำผ่านการอ่านหรือเขียนของคุณครู
ตัวอย่างประสบการณ์และกิจกรรม : ให้เด็กปฐมวัยได้มองและชี้ตัวอักษรในคำ ข้อความ ประโยค นิทาน แผนภูมิเพลง ปริศนาคำทาย หรือประโยคที่ครูเขียน
7. การคิดสะกดคำและเขียนเพื่อสื่อความหมายด้วยตนเองอย่างอิสระ
ตัวอย่างประสบการณ์และกิจกรรม : ให้คุณครูอนุบาลได้ฝึกให้เด็กปฐมวัยเขียนคำง่าย ๆ ประกอบภาพตามความสนใจ เช่น เขียนชื่อตนเอง เขียนคำอวยพรในโอกาสต่าง ๆ เป็นต้น
8. การเล่นเกมทางภาษา
ตัวอย่างประสบการณ์และกิจกรรม : ให้คุณครูอนุบาลจัดกิจกรรมเล่นเกมทางภาษาต่าง ๆ ให้เด็กปฐมวัยได้เรียนรู้ร่วมกันอย่างสนุกสนาน เช่น หาภาพกับสัญลักษณ์ จับคู่คำกับภาพ หาตัวอักษรหรือคำบางคำจากนิทาน วาดภาพและแต่งเรื่องราวที่มีโครงเรื่องเดียวกับนิทาน เป็นต้น
จากที่ได้กล่าวมาข้างต้น จะเห็นได้ว่าการจัดประสบการณ์การการเรียนรู้ที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านการใช้ภาษาและการสื่อสารสำหรับเด็กปฐมวัยนั้น ในบางครั้งคุณครูปฐมวัยก็ต้องการสื่อการเรียนการสอน เพื่อนำไปใช้ในการจัดกิจกรรมภายในห้องเรียน ไม่ว่าจะเป็น นิทาน หนังสือภาพ เพลง รวมไปถึงเกมสร้างสรรค์ต่าง ๆ
“รัฐกุล” คือผู้ผลิตสินค้าสื่อการเรียนรู้ส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยโดยสินค้าทั้งหมดได้มาตรฐานตรงตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยของกระทรวงศึกษาธิการ มีให้เลือกมากมายหลายประเภทให้เลือกสรร อันจะช่วยให้ การจัดประสบการณ์การการเรียนรู้ที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านการใช้ภาษาและการสื่อสารสำหรับเด็กปฐมวัยในห้องเรียนเป็นไปได้อย่างราบรื่นมากยิ่งขึ้น
Related posts
ประสบการณ์ยิ่งเยอะ…ยิ่งเรียนรู้ได้ไว ชวนคุณครูปฐมวัยมาดูแนวทางการจัดประสบการณ์การเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย (ตามหลักสูตรปฐมวัย พ.ศ. 2560)
หมวดหมู่
- ความรู้ครูปฐมวัย (108)
- หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย (30)
- อื่นๆ (66)
- ดาวน์โหลดเอกสาร (2)
- พัฒนาการเด็กปฐมวัย (44)
- เอกสารประเมินพัฒนาการเด็ก (14)
- โปรแกรมครูแคร์ (11)
- วิดีโอ (6)
บทความล่าสุด
- 5 เทคนิคเด็ดสำหรับครูและพ่อแม่ เพิ่มทักษะอารมณ์และสังคมให้เด็กปฐมวัย กันยายน 23, 2024
- เคล็ดลับการเตรียมเด็กอนุบาลให้พร้อมสำหรับวันแรกของโรงเรียน กันยายน 22, 2024
- การสร้างสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่เป็นมิตรและปลอดภัยของเด็กปฐมวัย กันยายน 17, 2024
- เปลี่ยนเด็กดื้อเป็นเด็กดี ด้วยวิธีรับมือแบบคุณครูมืออาชีพ กรกฎาคม 1, 2024
- รับมือเด็ก Gen Alpha เรื่องนี้ คุณครูต้องรู้ มิถุนายน 10, 2024
บทความแนะนำ
-
5 เทคนิคเด็ดสำหรับครูและพ่อแม่ เพิ่มทักษะอารมณ์และสังคมให้เด็กปฐมวัย
กันยายน 23, 2024 -
การจัดประสบการณ์เพื่อการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย
มิถุนายน 6, 2018 -
การให้ความช่วยเหลือเด็กที่มีปัญหาพฤติกรรม
มิถุนายน 6, 2018 -
วิธีฟื้นคืนเด็กพิเศษให้ปกติด้วยการศึกษา
มิถุนายน 6, 2018 -
เสริมสร้างพัฒนาการเด็กอย่างไรให้โตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ!
มิถุนายน 6, 2018