ส่งเสริมพัฒนาการด้านการวาดของเด็กตามอายุในช่วงวัยอนุบาล

การจัดการการศึกษาปฐมวัยนั้นเป็นเรื่องสำคัญ ถือว่าเป็นการวางรากฐานให้กับเด็ก ๆ ได้พัฒนาโดยองค์รวมผ่านการเล่นอย่างมีความหมาย และมีสมดุลครบทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา โดยทุกๆฝ่ายทั้งครูผู้สอน ผู้ปกครอง สถานศึกษา และชุมชนต้องมีส่วนช่วยและรับผิดชอบในการดูแลส่งเสริมพัฒนาการของเด็ก เพื่อให้เด็กพัฒนาจนเกิดการเรียนรู้ตามจุดหมายของหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย 2560 หลักสูตรนี้ จัดทำขึ้นโดยอาศัยแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาปฐมวัยสากล แต่อยู่บนพื้นฐานของความเป็นไทย ส่งผลให้การพัฒนาเด็กปฐมวัยสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคม และการสร้างรากฐานคุณภาพชีวิตให้แก่เด็ก โดยมุ่งเน้นการพัฒนาเด็กแต่ละคนให้เต็มศักยภาพ สามารถเป็นกำลังที่ดีของชาติได้ในอนาคต ซึ่งหลักสูตรถูกพัฒนาขึ้นมาตามแนวคิดต่าง ๆ แต่แกนหลักแล้วต้องทำความใจความเข้าใจว่าการเจริญเติบโตของเด็กแต่ละคนไม่เท่ากัน และแตกต่างกันออกไป การดูแลและส่งเสริมพัฒนาการของเด็ก ควรครอบคลุมทุกด้าน ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์จิตใจ สังคม และสติปัญญา และทุกด้านจะส่งผลต่อกันและกัน ดังนั้นผู้สอนต้องเข้าใจ ส่งเสริม เฝ้าระวังและช่วยดูแลเด็ก เขาก็จะมีพัฒนาการสมวัยนั้นเอง โดยครูผู้สอนควรมีความรู้ความเข้าใจในกระบวนการเรียนรู้และพัฒนาการของเด็ก จึงจะสามารถวางแผนจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสม สอดคล้องกับวัยได้ ในการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย เด็กจะไม่ได้เรียนแยกส่วนเป็นรายวิชา แต่จะเรียนรู้ผ่านการรับประสบการณ์ตรงจากการลงมือทำ การใช้สัมผัสสำรวจ เล่นกับคนอื่นหรือสิ่งรอบ ๆ ตัว ทำให้เกิดการสร้างองค์ความรู้ด้วยตัวเอง การจัดสภาพแวดล้อมและการใช้สื่อจึงต้องเอื้อต่อการเรียนรู้  โดยสื่อสำหรับเด็กปฐมวัยนั้นสามารถเป็น บุคคล วัสดุ อุปกรณ์ ของเล่น ฯลฯ ควรมีการใช้สื่อที่หลากหลาย เช่น สื่อที่เป็นของจริง สื่อธรรมชาติ สื่อที่อยู่ใกล้ตัวเด็ก สื่อที่สะท้อนวัฒนธรรมสื่อภูมิปัญญาท้องถิ่น ซึ่งการจัดประสบการณ์การเรียนการสอนในระดับปฐมวัย ยึดในหลักที่ว่า “ หนึ่งแนวคิดเด็กสามารถเรียนรู้ได้หลายกิจกรรม หนึ่งกิจกรรมเด็กสามารถเรียนรู้ได้ หลายทักษะและหลายประสบการณ์ ” นอกจากจะเน้นให้เด็กได้เรียนรู้แล้ว เด็กๆควรได้ความรักความอบอุ่น ความเอื้ออาทร การดูแลสุขภาพ โภชนาการ   ความปลอดภัย การมีต้นแบบที่ดี และการอบรมกล่อมเกลาให้เด็กมีจิตใจดี ซึ่งเป็นความรับผิดชอบของทั้งพ่อแม่ ผู้ปกครอง และครูผู้สอนที่มีความใกล้ชิดในการดูแลเด็ก สิ่งที่สำคัญอีกประการหนึ่ง คือการประเมินพัฒนาการของเด็กปฐมวัย เพื่อช่วยดูแล ส่งเสริม ได้อย่างเหมาะสม  รวมทั้งใช้เป็นเครื่องมือในการสื่อสารกับผู้ปกครอง และประเมินคุณภาพ  ประสิทธิภาพของการจัดการศึกษาให้กับเด็กในวัยนี้ได้อีกด้วย สุดท้ายนี้ครู ผู้สอนควรเป็นผู้ใฝ่รู้ ติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการ รวมไปถึงพัฒนาตนเองอยู่อย่างเสมอ จึงจะสามารถนำความรู้มาใช้ สร้างสรรค์หลักสูตร และการจัดการเรียนรู้ให้กับเด็กได้อย่างมีคุณภาพ รัฐกุล ขอเป็นผู้ช่วยของครูอนุบาลทุกท่าน ด้วยการบอกเล่าเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาปฐมวัยที่มีประโยชน์ให้ทุกท่านได้รับทราบอย่างเข้าใจง่าย โดยหวังว่าจะเป็นประโยชน์ในการแบ่งเบาภาระงานของคุณครูและช่วยพัฒนาการจัดการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัยทุกคนอย่างมีประสิทธิภาพ ติดตาม ติชม เสนอแนะ กันได้เลยนะคะ