เทคนิคการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้เด็กอนุบาลต้องครอบคลุมทุกด้านในชีวิตประจำวัน
การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ เป็นขอบข่ายหน้าที่ที่คุณครูปฐมวัยจะต้องจัดกิจกรรมเพื่อให้เด็กพัฒนาตามวัยครบทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา ถือเป็นการปูพื้นฐานหรือพัฒนาทักษะที่จำเป็นต่อการเรียนรู้ต่อไปในระดับชั้นประถมศึกษา
หลักการจัดประสบการณ์ หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พ.ศ. 2563 ได้กำหนดหลักการจัดประสบการณ์ไว้ ดังต่อไปนี้
1.จัดประสบการณ์การเล่นและการเรียนรู้อย่างหลากหลาย เพื่อพัฒนาเด็กโดยองค์รวมอย่างสมดุลและต่อเนื่อง
2.เน้นเด็กเป็นสำคัญ สนองความต้องการ ความสนใจ ความแตกต่างระหว่างบุคคลและบริบทของสังคมที่เด็กอาศัยอยู่
3.จัดให้เด็กได้รับการพัฒนา โดยให้ความสำคัญทั้งด้านกระบวนการเรียนรู้และพัฒนาการของเด็ก
4.จัดการประเมินพัฒนาการให้เป็นกระบวนการอย่างต่อเนื่อง และเป็นส่วนหนึ่งของการจัด ประสบการณ์ พร้อมทั้งนำผลการประเมินมาพัฒนาเด็กอย่างต่อเนื่อง
5.ให้พ่อแม่ ครอบครัว ชุมชน และทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง มีส่วนร่วมในการพัฒนาเด็ก
เทคนิคสำหรับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ในแต่ละวันอย่างครอบคลุม
สำหรับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ในแต่ละวันนั้น คุณครูอนุบาลสามารถเลือกกิจกรรมที่จะนำมาจัดกิจกรรมในแต่ละวันได้อย่างหลากหลาย ทั้งนี้ก็ต้องขึ้นอยู่กับความพอเหมาะสมของสถานการณ์และการนำไปใช้ โดยกิจกรรมที่จัดประสบการณ์ให้กับเด็กปฐมวัยนั้นจะต้องครอบคลุมพัฒนาการทุกด้าน ดังต่อไปนี้
1. กิจกรรมสำหรับการพัฒนากล้ามเนื้อมัดใหญ่
การประสบการณ์การเรียนรู้ด้วยกิจกรรมสำหรับการพัฒนากล้ามเนื้อมัดใหญ่ จะเป็นกิจกรรมที่จะช่วยพัฒนาความแข็งแรง การทรงตัว การยืดหยุ่น รวมไปถึงความคล่องแคล่วในการใช้อวัยวะต่าง ๆ ให้ประสานสัมพันธ์กัน คุณครูปฐมวัยจึงควรจัดกิจกรรมให้เด็กได้เล่นอิสระกลางแจ้ง เล่นเครื่องเล่นสนาม เล่นปีนป่ายอย่างอิสระ และเคลื่อนไหว ร่างกายตามจังหวะดนตรี
2. กิจกรรมสำหรับการพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็ก
การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ด้วยกิจกรรมสำหรับการพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็ก จะเป็นกิจกรรมที่จะช่วยพัฒนาความแข็งแรงของกล้ามเนื้อมือ นิ้วมือ และ การประสานสัมพันธ์ระหว่างมือกับตาได้อย่างคล่องแคล่ว คุณครูปฐมวัยจึงควรจัดกิจกรรมให้เด็กได้เล่นเครื่องเล่นสัมผัส และเป็นกิจกรรมที่มีการใช้อุปกรณ์ต่างๆ เช่น ช้อนส้อม สีเทียน กรรไกร พู่กัน ดินเหนียว เป็นต้น
3. กิจกรรมสำหรับการพัฒนาอารมณ์ จิตใจ และปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม
การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ด้วยกิจกรรมสำหรับการพัฒนาอารมณ์ จิตใจ และปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม เป็นกิจกรรมที่จะช่วยให้เด็ก ๆ ปฐมวัย ได้มีพื้นฐานลักษณะนิสัยที่ดีงาม มีวินัย มีความรับผิดชอบ ซื่อสัตย์ รู้จักเมตตา กรุณา เอื้อเฟื้อต่อผู้อื่น รู้จักการแบ่งปัน มีมารยาท และปฏิบัติตนตามวัฒนธรรมไทยและศาสนาที่นับถือ โดยคุณครูปฐมวัยสามารถจัดกิจกรรมต่างๆ ผ่านการเล่นซึ่งสอดแทรก คุณธรรม จริยธรรมอย่างต่อเนื่อง
4. กิจกรรมสำหรับการพัฒนาทางสังคม
การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ด้วยกิจกรรมสำหรับการพัฒนาทางสังคม ซึ่งก็คือกิจกรรมที่จะช่วยให้เด็กอนุบาลสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างเหมาะสมและมีความสุข คุณครูจึงควรจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อให้เด็ก ๆ ได้ช่วยเหลือตนเองในการทำกิจวัตรประจำวัน เช่น การระมัดระวังคนแปลกหน้า การรับประทานอาหารให้เรียบร้อย การขับถ่ายทำความสะอาดร่างกาย การเล่นและทำงานร่วมกับผู้อื่นด้วยการปฏิบัติตามกฎกติกา ข้อตกลงของส่วนรวม เป็นต้น
5. กิจกรรมสำหรับการพัฒนาการคิด
การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ด้วยกิจกรรมสำหรับการพัฒนาการคิด ถือเป็นการพัฒนาให้เด็กมีความสามารถในการคิดแก้ปัญหา การคิดรวบยอด และการคิดเชิงเหตุผลทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ คุณครูปฐมวัยสามารถจัดกิจกรรมให้กับเด็กปฐมวัยได้พัฒนาทักษะเหล่านี้ โดยฝึกให้เด็ก ๆ หมั่นสังเกต จำแนก เปรียบเทียบ อภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
6. กิจกรรมสำหรับการพัฒนาภาษา
การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ด้วยกิจกรรมสำหรับการพัฒนาภาษา เป็นกิจกรรมที่จะช่วยให้เด็ก ๆ ปฐมวัยได้พัฒนาภาษาที่ใช้ในการสื่อสาร เพื่อถ่ายทอดความรู้สึก ความคิด ความเข้าใจในสิ่งต่าง ๆ รวมไปถึงส่งเสริมการทำกิจกรรมที่เน้นการฟัง การพูด การอ่าน การเขียนอีกด้วย
7. กิจกรรมสำหรับการส่งเสริมจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์
การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ด้วยกิจกรรมสำหรับการส่งเสริมจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ เป็นกิจกรรมที่คุณครูจะช่วยส่งเสริมให้เด็กมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ คุณครูสามารถจัดกิจกรรม ศิลปะสร้างสรรค์ การเคลื่อนไหวและจังหวะตามจินตนาการ ไม่ว่าจะเป็นการประดิษฐ์สิ่งต่าง ๆ วาดรูป ระบายสี เล่นบทบาทสมมติ เล่นน้ำเล่นทราย เล่นบล็อก เป็นต้น
ทั้งนี้ในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ในแต่ละวัน อาจจะไม่จำเป็นแบ่งเป็นรายชั่วโมงหรือรายคาบ เพื่อให้เด็ก ๆ สามารถเรียนรู้และทำกรรมได้อย่างต่อเนื่อง และต้องจัดกิจกรรมไม่น้อยกว่า 5 ชั่วโมงต่อ 1 วัน โดยการกำหนดระยะเวลาในการจัดกิจกรรมแต่ละกิจกรรมนั้นก็ขึ้นอยู่กับความต้องการและความสนใจของเด็ก เช่น เด็กวัย 3-4 ปี มีความสนใจประมาณ 8-12 นาที เด็กวัย 4-5 ปี มีความสนใจประมาณ 12-15 นาที เด็กวัย 5-6 ปี มีความสนใจประมาณ 15-20 นาที
สิ่งสำคัญอย่างหนึ่งที่จะช่วยให้รู้ว่าแต่ละกิจกรรมในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่คุณครูปฐมวัยจัดขึ้นนั้นมีความเหมาะสมกับเด็กมากน้อยเพียงใด ก็คือคุณครูจะต้องมีการประเมินพัฒนาการเด็ก เพราะการประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัยอย่างต่อเนื่องจะส่งผลต่อการจัดการเรียนการสอน ช่วยให้การจัดประสบการณ์เป็นไปอย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับความสนใจของเด็กปฐมวัยอย่างมากที่สุด
หากสนใจแบบประเมินพัฒนาการเด็กที่ได้มาตรฐาน กรอกและสรุปผลง่าย
สามารถติดต่อได้ที่
โทร 081-6257458 / 089-6911094
Line @rathakun11 Fax 043-340335
Email rathakun11@gmail.com
รัฐกุล ผู้ช่วยที่ดีที่สุดของครูอนุบาล
Related posts
ประสบการณ์ยิ่งเยอะ…ยิ่งเรียนรู้ได้ไว ชวนคุณครูปฐมวัยมาดูแนวทางการจัดประสบการณ์การเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย (ตามหลักสูตรปฐมวัย พ.ศ. 2560)
หมวดหมู่
- ความรู้ครูปฐมวัย (111)
- หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย (30)
- อื่นๆ (69)
- ดาวน์โหลดเอกสาร (2)
- พัฒนาการเด็กปฐมวัย (44)
- เอกสารประเมินพัฒนาการเด็ก (14)
- โปรแกรมครูแคร์ (11)
- วิดีโอ (6)
บทความล่าสุด
- สนุกและสร้างสรรค์! สื่อการเรียนการสอนปฐมวัยด้วยเทคโนโลยีที่ครูอนุบาลไม่ควรพลาด มกราคม 9, 2025
- ยิ่งสนุก ยิ่งได้เรียนรู้! เคล็ดลับปั้นทักษะสังคมเด็กปฐมวัยด้วยการเล่นกลางแจ้ง มกราคม 8, 2025
- 8 ไอเดียกิจกรรมสนุก ๆ ในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ระดับปฐมวัยช่วงเทศกาลปีใหม่ ธันวาคม 20, 2024
- 5 เทคนิคเด็ดสำหรับครูและพ่อแม่ เพิ่มทักษะอารมณ์และสังคมให้เด็กปฐมวัย กันยายน 23, 2024
- เคล็ดลับการเตรียมเด็กอนุบาลให้พร้อมสำหรับวันแรกของโรงเรียน กันยายน 22, 2024
บทความแนะนำ
-
สนุกและสร้างสรรค์! สื่อการเรียนการสอนปฐมวัยด้วยเทคโนโลยีที่ครูอนุบาลไม่ควรพลาด
มกราคม 9, 2025 -
การจัดประสบการณ์เพื่อการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย
มิถุนายน 6, 2018 -
การให้ความช่วยเหลือเด็กที่มีปัญหาพฤติกรรม
มิถุนายน 6, 2018 -
วิธีฟื้นคืนเด็กพิเศษให้ปกติด้วยการศึกษา
มิถุนายน 6, 2018 -
เสริมสร้างพัฒนาการเด็กอย่างไรให้โตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ!
มิถุนายน 6, 2018