เพลงช่วยเสริมพัฒนาการ

เสียงเพลงกับเด็กปฐมวัยมักจะเป็นของคู่กัน สามารถสังเกตได้อย่างง่ายดายเลยว่าเด็กทั่วไปมักจะชอบเสียงเพลง เสียงดนตรี อาจเป็นเพราะว่าตั้งแต่อยู่ในครรภ์ จนคลอดออกมาเป็นทารก เด็ก ๆ มักจะอยู่ในบรรยากาศของการร้องเพลงขับกล่อมจากคุณพ่อ คุณแม่ ผู้ปกครอง ตลอดจนคนที่อยู่ใกล้ตัว  เมื่อเด็ก ๆ โตขึ้นมาอีกนิดก็จะเห็นว่าเป็นธรรมชาติของเด็กที่เมื่อได้ยินเสียงเพลง ได้ยินดนตรี ก็จะฟังอย่างตั้งอกตั้งใจ แสดงออกทางสีหน้าว่ากำลังมีความสุข สนุกสนาน หรือบางครั้งอาจจะมีการขยับแข้ง ขยับขา เต้นตามจังหวะดนตรีและเสียงเพลง ซึ่งสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นอย่างธรรมชาติและเป็นไปอย่างอัตโนมัติมาก ๆ 

เพลงช่วยเสริมพัฒนาการ และกระตุ้นเซลล์สมอง

มีผู้เชี่ยวชาญทางด้านดนตรี กล่าวไว้ว่า “การที่เด็กได้มีส่วนร่วมในเพลงตั้งแต่อายุยังน้อย หรือคุณพ่อคุณแม่เปิดเพลงให้ลูกฟังตั้งแต่เด็ก จะช่วยปรับปรุงความสามารถในการเรียนรู้ของเด็กและหน่วยความจำ โดยดนตรีจะกระตุ้นรูปแบบที่แตกต่างกันของการพัฒนาสมอง

เพลงพัฒนาสมองของเด็กปฐมวัยได้จริง มีส่วนช่วยเสริมสร้างพัฒนาการและกระตุ้นการสร้างเซลล์สมองในส่วนต่าง ๆ ซึ่งจะรวมไปถึงการพัฒนาเด็กปฐมวัยในหลายๆ ด้าน  ไม่ว่าจะเป็นด้านความรู้  ด้านอารมณ์ ด้านความจำ ด้านการเข้าสังคม   การคิดที่มีเหตุมีผล กระตุ้นความคิดสร้างสรรค์ การพัฒนากล้ามเนื้อ การเสริมสร้างทักษะทางด้านภาษา เป็นต้น

เพลงช่วยเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย

เพลงสำหรับเด็กปฐมวัยควรจะเป็นเพลงที่มีจังหวะสนุกสนาน เนื้อหาของเพลงก็จะต้องสอดแทรกบทเรียนและเนื้อหาต่าง ๆ เอาไว้  เพราะฉะนั้นคุณครูปฐมวัยจึงควรจะมีหนังสือเพลงเด็กปฐมวัย หนังสือเพลงพัฒนาสมองสำหรับเด็กปฐมวัยที่มีเนื้อหาตามแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้  แล้วใช้เพลงเป็นเนื้อหาในการเรียนแล้วโยงไปหาวิชาอื่น ๆ เช่น หากว่าในเนื้อเพลงของเพลงนั้นมีเนื้อหาที่บอกเล่าเรื่องราวต่าง ๆ หรือมีจุดประสงค์ในการสอนสิ่งใดสิ่งหนึ่งอยู่แล้ว ก็ให้คุณครูปฐมวัย นำเพลงนั้นมาให้เด็ก ๆ ฝึกร้อง แล้วอธิบายเนื้อหาตามเนื้อเพลงนั้นเลย จากนั้นก็ให้โยงไปถึง การเล่น การเล่าเรื่อง การเล่นนิทาน การฝึกทักษะด้านอื่น ๆ ซึ่งจะช่วยกระตุ้นคลื่นสมองของเด็กอนุบาลให้เกิดการจัดเรียงตัว มีความคิดสร้างสรรค์ และสามารถรับรู้เนื้อหาของบทเรียนได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ

การใช้เพลงมาเป็นสื่ออนุบาลในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้กับเด็กปฐมวัยนั้นจะมีส่วนช่วยในการประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัยได้ด้วย

ยกตัวอย่างเช่น…

การประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัยในด้านทักษะภาษา 

เพลงช่วยเสริมพัฒนาการเด็กด้านภาษา

เพราะว่าเสียงเพลงที่ใช้นำมาเป็นสื่ออนุบาลนั้นจะช่วยให้เด็กปฐมวัยรู้จักฟังและแยกความแตกต่างของระดับเสียง สูง ต่ำ ซึ่งถือว่าเป็นทักษะพื้นฐานของการฟังเสียงหนัก – เบา และเสียงวรรณยุกต์ของภาษาไทย อีกทั้งเพลงยังจะช่วยพัฒนาการด้านการพูด การอ่านออกเสียงของเด็ก  รู้จักรูปประโยคที่ถูกต้อง รู้จักคำที่มากขึ้น เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาทักษะด้านภาษาให้กับเด็กปฐมวัยได้เป็นอย่างดี และคุณครูปฐมวัยสามารถสังเกตพัฒนาการทางภาษาของเด็ก ๆ หลังจากผ่านการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ เพื่อนำไปประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัยเป็นขั้นตอนต่อไป

การประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัยในด้านอารมณ์และจิตใจ  

เพลงช่วยเสริมพัฒนาการด้านอารมณ์และจิตใจ

เสียงเพลงจะมอบความสนุกสนาน เพลิดเพลินให้กับเด็ก สำหรับในเด็กปฐมวัยที่มีปัญหาทางด้านอารมณ์และจิตใจ เสียงเพลงก็จะช่วยปรับอารมณ์ของเด็กให้ดีขึ้นได้ ช่วยให้เด็กผ่อนคลาย นอกจากนี้ยังช่วยให้เด็กปฐมวัยสามารถแสดงอารมณ์ ความรู้สึกออกมาตามความต้องการ เสียงเพลงยังจะช่วยพัฒนาอารมณ์ของเด็ก ค่อย ๆ กล่อมเกลาเด็ก ๆ ไปเรื่อย ๆ ให้เด็กกลายเป็นคนมีอารมณ์สุนทรีย์  ละเอียดอ่อน นุ่มนวล ไม่แข็งกระด้าง จนเด็ก ๆ สามารถมีการแสดงออกทางอารมณ์ที่เหมาะสมได้ และคุณครูปฐมวัยสามารถสังเกตพัฒนาการในด้านอารมณ์และจิตใจของเด็ก ๆ หลังจากผ่านการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ เพื่อนำไปประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัยเป็นขั้นตอนต่อไป

การประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัยในด้านร่างกาย

เพลงช่วยเสริมพัฒนาการในด้านร่างกาย

เสียงเพลงและดนตรีมีส่วนช่วยเสริมสร้างพัฒนาด้านร่างกายและสุขภาพอนามัยของเด็กปฐมวัย เพราะเด็ก ๆ จะได้เต้นไปตามจังหวะ ทำท่าทางประกอบไปตามเพลง มีการพัฒนาการเคลื่อนไหวอยู่ตลอด  ทั้งพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็ก พัฒนากล้ามเนื้อมัดใหญ่  ซึ่งจะช่วยให้เด็กปฐมวัยมีร่างกายที่แข็งแรง พัฒนาให้เด็กมีพลานามัยที่สมบูรณ์ และคุณครูปฐมวัยสามารถสังเกตพัฒนาการในด้านร่างกายของเด็ก ๆ หลังจากผ่านการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ เพื่อนำไปประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัยเป็นขั้นตอนต่อไป

แบบประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัยที่ดี จะช่วยให้การนำข้อมูลเกี่ยวกับพัฒนาการเด็กปฐมวัยมาจัดทำสรุปได้ง่าย และนำไปใช้ในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้สอดคล้องกับพัฒนาการของเด็กแต่ละด้านเป็นรายบุคคลเพื่อพัฒนาศักยภาพของเด็กให้ถึงขีดสุด นอกจากนี้คุณครูปฐมวัยก็ต้องมีสมุดรายงานประจำตัวเด็กปฐมวัย สมุดพกอนุบาล เพื่อนำการประเมินพัฒนาการเด็กที่ได้สรุปผลของเด็กแต่ละคนไว้แล้ว ไปรายงานต่อผู้ปกครองเพื่อให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการส่งเสริมและช่วยในการพัฒนาเด็กปฐมวัยต่อไป

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *