การกำหนดวิธีการและเครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน” เป็นหนึ่งในขั้นตอนของการ “ประเมินพัฒนาการ”  ที่เกิดขึ้นในห้องเรียนขณะจัดประสบการณ์การเรียนรู้และการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันของเด็กปฐมวัย

โดยขั้นตอนการประเมินพัฒนาการจะประกอบไปด้วยขั้นตอน ดังต่อไป

  1. การวิเคราะห์มาตรฐาน ตัวบ่งชี้ สภาพที่พึงประสงค์ และการกำหนดประเด็นการประเมิน
  2. การกำหนดวิธีการและเครื่องมือที่ใช้ในการประเมินพัฒนาการ
  3. การกำหนดเกณฑ์การประเมินและระดับคุณภาพ
  4. การดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล
  5. การสรุปผลการประเมินพัฒนาการเด็ก
  6. การรายงานผลการประเมินพัฒนาการและการนำข้อมูลไปใช้

ในบทความนี้เราจะเจาะลึกไปยังประเด็นที่เกี่ยวกับ “การกำหนดวิธีการและเครื่องมือที่ใช้ในการประเมินพัฒนาการ” ซึ่งเป็นขั้นตอนที่คุณครูปฐมวัยจะต้องวางแผนและกำหนดวิธีการประเมินให้เหมาะสม กับกิจกรรม เช่น ใช้การสังเกตพฤติกรรม การประเมินผลงาน/ชิ้นงาน การพูดคุยหรือสัมภาษณ์เด็ก ฯลฯ และวิธีการที่คุณครูปฐมวัยเลือกใช้ต้องมากกว่า 2 วิธีการ หรือใช้วิธีการหลากหลาย ซึ่งวิธีการที่เหมาะสมและนิยมใช้ในการประเมินเด็กปฐมวัย มีดังต่อไปนี้

1.การสังเกตและการบันทึก

2.การบันทึกการสนทนา

3.การสัมภาษณ์

4.สารนิทัศน์สำหรับเด็กปฐมวัยเพื่อการประเมินพัฒนาการ

5.การประเมินการเจริญเติบโตของเด็ก

การกำหนดวิธีการและเครื่องมือที่ใช้ในการประเมินพัฒนาการให้เหมาะสมกับกิจกรรม มีวิธีการที่เหมาะสมและนิยมใช้มากที่สุด คือ “การสังเกตและการบันทึก” ที่ต้องทำอย่างชัดเจนและสม่ำเสมอ เพราะว่าเด็กปฐมวัยมีการเจริญเติบโตและมีเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

การสังเกตและบันทึกพัฒนาการเด็กปฐมวัยสามารถใช้แบบง่าย ๆ ดังนี้

1.แบบบันทึกพฤติกรรมแบบเป็นทางการ 

โดยกำหนดประเด็นหรือพัฒนาการที่ต้องการสังเกต (สอดคล้องกับสภาพที่พึงประสงค์หรือจุดประสงค์การเรียนรู้ของหน่วยการเรียนรู้) ระบุชื่อ นามสกุลเด็ก วัน เดือน ปี เกิด ไว้ล่วงหน้า รวมทั้งชื่อผู้ทำการสังเกต ดำเนินการสังเกตโดยบรรยายพฤติกรรมเด็กที่สังเกตได้ตามประเด็น ผู้สังเกตต้องบันทึกวัน เดือน ปีที่ทำการสังเกตแต่ละครั้ง 

ข้อมูลการสังเกตที่ครูผู้สอนบันทึกลงในแบบบันทึกพฤติกรรมนี้จะช่วยให้ครูผู้สอนเข้าใจพฤติกรรมเด็กได้ดีขึ้น และทราบว่าเด็กแต่ละคนมีจุดเด่น มีความต้องการ มีความสนใจ หรือต้องการความช่วยเหลือในเรื่องใดบ้าง

2.แบบบันทึกพฤติกรรมแบบไม่เป็นทางการ 

เป็นการบันทึกพฤติกรรม เหตุการณ์ หรือจากการจัดประสบการณ์ที่เกิดขึ้นในชั้นเรียนทุกวัน โดยระบุชื่อ นามสกุล วันเดือนปีเกิดเด็ก ผู้สังเกต วันเดือนปีที่บันทึก อาจบันทึกโดยใช้การบรรยาย ใคร ทำอะไร ที่ไหน ทำอย่างไร ซึ่งจะเน้นเฉพาะเด็กรายกรณีที่ต้องการศึกษา ควรมีรายละเอียดและข้อมูลที่ชัดเจน ครูผู้สอนควรบรรยายสิ่งที่เด็กทำได้มากกว่าสิ่งที่เด็กทำไม่ได้ และวิเคราะห์ประเด็นการประเมินตามสภาพที่พึงประสงค์อย่างเป็นระบบ 

ข้อมูลในการบันทึกต้องเป็นตามความเป็นจริง ซึ่งข้อดีของการบันทึกรายวัน คือ การชี้ให้เห็นความสามารถเฉพาะอย่างของเด็ก จะช่วยให้ครูผู้สอนได้พิจารณาปัญหาของเด็กเป็นรายบุคคล รวมทั้งช่วยให้ผู้เชี่ยวชาญมีข้อมูลสำหรับวินิจฉัยเด็กได้ชัดเจนขึ้นว่าสมควรจะได้รับคำปรึกษาเพื่อลดปัญหา หรือส่งเสริมพัฒนาการของเด็กได้อย่างถูกต้อง และเป็นข้อมูลในการพิจารณาปรับปรุงแก้ไขหรือพัฒนาการจัดกิจกรรมและประสบการณ์ของครูให้ดียิ่งขึ้น

โดยกำหนดประเด็นหรือพัฒนาการที่ต้องการสำรวจ (สอดคล้องกับสภาพที่พึงประสงค์หรือจุดประสงค์การเรียนรู้ของหน่วยการเรียนรู้)

มีการระบุชื่อ นามสกุลเด็ก วันเดือนปีเกิดไว้ล่วงหน้า มีการกำหนดรายการพฤติกรรมที่ต้องการสำรวจละเอียดขึ้น และกำหนดเกณฑ์ในการสำรวจพฤติกรรม เช่น ปฏิบัติ-ไม่ปฏิบัติ ทำได้-ทำไม่ได้ เป็นต้น

3.แบบสำรวจรายการ 

ช่วยให้ครูสามารถบันทึกได้สะดวกขึ้น ควรมีการสำรวจพฤติกรรมใน เรื่องเดียวกันอย่างน้อย 3 ครั้ง เพื่อยืนยันว่าเด็กทำได้จริง

ข้อพึงระวัง !!

ในการสังเกตพฤติกรรมของเด็ก ระหว่างการสังเกต ไม่ควรแปลความพฤติกรรมของเด็ก ให้สังเกตการแสดงออกของเด็กที่เด็กใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 คือ ตา หู จมูก ลิ้น และร่างกายหรือการสัมผัส การแปลความจะดำเนินการหลังเสร็จสิ้นการสังเกตในส่วนของการบันทึก ครูอาจบันทึกย่อหรือทำสัญลักษณ์ไว้ และบันทึกเป็นหลักฐานทันทีเมื่อมีเวลา

การกำหนดวิธีการและเครื่องมือที่ใช้ในการประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัยให้เหมาะสมกับกิจกรรมถือเป็นส่วนหนึ่งของการจัดประสบการณ์การเรียนรู้และการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน เป็นความรับผิดชอบของผู้สอนที่ต้องดำเนินการต่อเนื่องตลอดทั้งภาคเรียน

ที่มาของข้อมูล : คู่มือหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พ.ศ.2560 สำหรับเด็กอายุ 3 – 6 ปี สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกระทรวงศึกษาธิการ

#สอบถาม #สั่งซื้อ #สื่อการเรียนการสอน
.
📲 m.me/rathakun11/
📲 Line ID: (ใส่ @ ข้างหน้าด้วยนะคะ )
หรือ คลิก https://bit.ly/3PpzYDC
☎️ 081-6257458 , 0896911094
รัฐกุล “ผู้ช่วยที่ดีที่สุดของคุณครูอนุบาล”

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *