“ครูแคร์” ผู้ช่วยมือ 1 ของคุณครูและโรงเรียนทั่วประเทศ

“เด็กในวันนี้…คือผู้ใหญ่ที่ดีในวันข้างหน้า”

ในการที่จะทำให้คำกล่าวสุดคุ้นหูนี้เป็นความจริงขึ้นมาได้นั้นก็ย่อมต้องพึ่งพาแรงขับเคลื่อนจากสถาบันการศึกษาตั้งแต่ขั้นพื้นฐานที่สุด อย่าง… “การศึกษาระดับปฐมวัย” …ซึ่งจะเป็นพื้นฐานที่ช่วยเตรียมพร้อมให้เด็กประสบความสำเร็จในการเรียนรวมไปถึงเรื่องอื่น ๆ ในชีวิตของเด็กต่อไป

ทำไมถึงต้องเอาใจใส่เด็กปฐมวัยเป็นพิเศษ ?

เด็กในช่วงปฐมวัย อายุ 3 – 6 ปี ถือว่าเป็นวัยที่ร่างกายและสมองของเด็กกำลังเจริญเติบโต การทำให้เด็กวัยนี้มีโอกาสเรียนรู้จากประสบการณ์จริง ได้ใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้า ได้สำรวจ เล่น ทดลอง ค้นพบสิ่งใหม่ ๆ ด้วยตนเอง ได้มีโอกาสคิดแก้ปัญหา เลือกหรือตัดสินใจทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งด้วยตัวของเด็กเอง จะช่วยให้เด็กได้พัฒนาศักยภาพอย่างเต็มที่ ได้พัฒนาทุกด้านอย่างสมดุล ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา

การประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัยอายุ 3-6 ปี สำคัญอย่างไร ?

การประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัยอายุ 3-6ปี เป็นการประเมินพัฒนาการทางด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญาของเด็ก โดยถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่เป็นความรับผิดชอบของคุณครูผู้สอนที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ผ่านวิธีการประเมินที่เหมาะสม ได้แก่ การสังเกต การบันทึกพฤติกรรม การสนทนาหรือสัมภาษณ์ การวิเคราะห์ข้อมูลจากผลงานเด็กและสรุปผลการประเมิน เพื่อให้ได้ข้อมูลว่าเด็กบรรลุตามสภาพที่พึงประสงค์ ตัวบ่งชี้ และมาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์หรือไม่เพียงใด คุณครูผู้สอนควรวางแผนและพัฒนาการจัดประสบการณ์อย่างไรต่อไป

อะไรคือความสำคัญของหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย ปี 2560 ?

หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย ปี 2560 เป็นการจัดการศึกษาปฐมวัยตามปรัชญาการศึกษาและวิสัยทัศน์อันตั้งอยู่บนพื้นฐานของความรู้

ความเข้าใจในแนวคิดและหลักการจัดการศึกษาปฐมวัยมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาเด็กโดยองค์รวม และสมดุลครบทุกด้าน ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา เพื่อช่วยให้เด็กมีพัฒนาการและเกิดการเรียนรู้ตามเป้าหมายของหลักสูตร ด้วยวิธีการประเมินตามสภาพจริงที่สะท้อนถึงพัฒนาการและการเรียนรู้ที่แท้จริงของเด็ก

แนวทางการประเมินพัฒนาการตามหลักสูตรสถานศึกษา 2560 มีอะไรบ้าง ?

หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย ปี2560 กำหนดเป้าหมายคุณภาพของเด็กปฐมวัย  โดยยึดพัฒนาการเด็กปฐมวัย ใน 4 ด้าน ดังนี้

✅ด้านร่างกาย 

✅ด้านอารมณ์ จิตใจ 

✅ด้านสังคม 

✅ด้านสติปัญญา

แต่ละด้านจะมีแนวทางการประเมินอย่างไรบ้างนั้น มาดูไปพร้อม ๆ กันกับ “รัฐกุล” ได้เลยค่ะ

  1. พัฒนาการด้านร่างกาย

เป็นการประเมินความสามารถของร่างกายในการเคลื่อนไหว

การประเมินพัฒนาการด้านร่างกาย ประกอบด้วย 

-การประเมินนํ้าหนัก และส่วนสูงตามเกณฑ์ 

-การเคลื่อนไหวร่างกาย และการทรงตัว 

-การใช้มือและตาประสานสัมพันธ์กัน

  1. พัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ 

เป็นการประเมินความสามารถในการแสดงอารมณ์ และความรู้สึก เพื่อเผชิญกับเหตุการณ์ต่างๆ

การประเมินพัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ ประกอบด้วย 

-การประเมินความสามารถในการแสดงออกทางอารมณ์  

-การมีความรู้สึกที่ดีต่อตนเอง และผู้อื่น

  1. พัฒนาการด้านสังคม 

เป็นการประเมินความสามารถในการสร้างสัมพันธภาพกับผู้อื่น และอยู่ร่วมกับผู้อื่น รู้จักร่วมมือในการเล่นกับกลุ่มเพื่อน

การประเมินพัฒนาการด้านสังคม ประกอบด้วย 

-การประเมินความมีวินัยในตนเอง 

-ความสามารถในการช่วยเหลือตนเองในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน 

-ประหยัด และพอเพียง การดูแลรักษาธรรมชาติ

  1. พัฒนาการด้านสติปัญญา 

เป็นการประเมินความสามารถทางสมอง

การประเมินพัฒนาการด้านสติปัญญา ประกอบด้วย 

-การประเมินความสามารถในการสนทนาโต้ตอบ และเล่าเรื่องให้ผู้อื่นเข้าใจ 

-ความสามารถในการอ่าน เขียนภาพ และสัญลักษณ์ 

-ความสามารถในการคิดรวบยอด การคิดเชิงเหตุผล การคิดแก้ปัญหาและตัดสินใจ 

-การทำงานศิลปะ 

-การแสดงท่าทาง/เคลื่อนไหวตามจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์

-การมีเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้

การประเมินพัฒนาการเด็กให้ครบทุกด้าน ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา จำเป็นจะต้องสอดคล้องและครอบคลุม

มาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ตัวบ่งชี้ และสภาพที่พึงประสงค์แต่ละวัยที่กำหนดไว้ในหลักสูตรสถานศึกษา และสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย ที่มุ่งเน้นพัฒนาเด็กทุกคนให้ได้รับการ

พัฒนาด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญาอย่างมีคุณภาพและต่อเนื่อง

รัฐกุล “ผู้ช่วยที่ดีที่สุดของคุณครูอนุบาล”

📲 m.me/rathakun11/

📲 Line ID: @rathakun11 (ใส่ @ ข้างหน้าด้วยนะคะ )

หรือ คลิก https://bit.ly/3PpzYDC

☎️ 081-6257458 , 0896911094

#สอบถาม #สั่งซื้อ #สื่อการเรียนการสอน
.
📲 m.me/rathakun11/
📲 Line ID: (ใส่ @ ข้างหน้าด้วยนะคะ )
หรือ คลิก https://bit.ly/3PpzYDC
☎️ 081-6257458 , 0896911094
รัฐกุล “ผู้ช่วยที่ดีที่สุดของคุณครูอนุบาล”

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *