เสริมพัฒนาการด้านการเขียนเด็กปฐมวัย เอกสารพัฒนาการเด็ก

เหล่าเด็ก ๆ ตัวเล็กตัวน้อยแสนน่ารักและเป็นที่รักใคร่ของพ่อแม่ ญาติ พี่น้อง และคนรอบข้างทั้งหลาย เมื่อถึงวัยที่เหมาะสม ผู้ปกครองทุกคนก็จำเป็นต้องส่งบุตรหลานที่มีอายุแค่เพียงไม่กี่ขวบปีนี้ไปเรียนที่โรงเรียน ในระดับชั้นอนุบาล ซึ่งเด็ก ๆ เหล่านี้ก็จะถูกเรียกว่า “เด็กอนุบาล”  โดยการศึกษาระดับอนุบาลหรือที่เรียกว่าระดับปฐมวัยนั้น ถือว่ามีความจำเป็นและสำคัญอย่างยิ่งยวดสำหรับเด็ก ๆ เพราะเป็นการเรียนการสอนในระดับพื้นฐานที่ปลูกฝัง เสริมสร้าง และส่งเสริมพัฒนาการการเรียนรู้ เพื่อให้เด็ก ๆ มีการพัฒนาการอย่างเหมาะสมที่สุด ซึ่งเด็กในช่วงวัยนี้จะมีพัฒนาการทางด้านสมองและการเรียนรู้ที่รวดเร็ว จึงเป็นวัยที่ต้องการการปลูกฝังและดูแลเป็นพิเศษ และผู้ที่ต้องทำหน้าที่ในการดูแล ปลูกฝังสิ่งดี ๆ และส่งเสริมพัฒนาการของเด็กอนุบาลในโรงเรียนก็คงหนีไม่พ้น “ครูอนุบาล หรือ ครูปฐมวัย” นั่นเอง

         พัฒนาการที่สำคัญอย่างหนึ่งของเด็กอนุบาลที่คุณครูอนุบาลจะต้องเอาใจใส่ ฝึกฝนให้กับเด็ก ๆ และเป็นที่คาดหวังของผู้ปกครองอย่างมาก คือ “พัฒนาการด้านการเขียน” ซึ่งถือว่าเป็นการพัฒนาทักษะทางด้านภาษาและการใช้กล้ามเนื้อมือที่แข็งแรง โดยเป้าหมายของพัฒนาการด้านการเขียนของเด็กอนุบาลนั้นอยู่ที่การพัฒนาความสามารถในการเขียนจากง่ายไปสู่ความยากและซับซ้อนยิ่งขึ้น ดังนั้นเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ที่รวดเร็ว ครูปฐมวัยทั้งหลายควรจำเป็นต้องงัดกลเม็ดเคล็ดลับมาเพื่อฝึกฝนการเขียนของเด็ก ๆ โดยเราขอนำ “7 เทคนิค สอนเด็กอนุบาล เสริมพัฒการด้านการเขียนอย่างสมวัย” มาเป็นแนวทางให้กับคุณครูปฐมวัยนำไปใช้ในการฝึกฝนเด็ก ๆ จะมีอะไรบ้าง ไปดูกันเลย

บริหารนิ้วเสิรมพัฒนาการด้านการเขียน
  1. บริหารนิ้วให้พลิ้วเพียงพอ

เทคนิคนี้ทำได้ง่าย ๆ ครูสามารถฝึกให้เด็ก ๆ บริหารนิ้วเพื่อเพิ่มความคล่องแคล่วได้หลายวิธีเลย เช่น ให้เด็กนักเรียนจับดินสอมือหนึ่งแล้วขยับดินสอเข้าหามืออีกข้างหนึ่ง หรือจะให้เด็กนักเรียนฝึกจับดินสอด้วยมือข้างที่ถนัดแล้วเลื่อนตำแหน่งมือจากส่วนต้น ไปยังส่วนกลาง และส่วนปลาย หรือจะให้เด็กนักเรียนหมุนดินสอในมือเหมือนใบพัดเฮลิคอปเตอร์ การฝึกทั้งหมดนี้จะเป็นการบริหารนิ้วมือให้นิ้วมือแข็งแรง คล่องแคล่ว สามารถช่วยให้พัฒนาการด้านการเขียนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

บริหารกล้ามเนื้อมือให้แข็งแรง ส่งเสริมพัฒนาการด้านการเขียน

2. บริหารกล้ามเนื้อมือให้แข็งแรง มือไม้ไม่อ่อนแรงเวลาจับดินสอ!

การพัฒนากล้ามเนื้อมือมีส่วนสำคัญอย่างมากในการเขียน การฝึกบริหารกล้ามเนื้อมือจึงมีความจำเป็นเพื่อให้กล้ามเนื้อมือแข็งแรง! โดยคุณครูสามารถฝึกเด็กนักเรียนได้หลายวิธีเลย เช่น ใช้หนังยางฝึกกาง หุบ กับนิ้วโป้ง นิ้วชี้ และนิ้วนางเพื่อเพิ่มความแข็งแรง  ฝึกใช้คีมคีบสิ่งของต่าง ๆ โดยใช้นิ้วโป้ง นิ้วชี้ และนิ้วนางในการจับคีม ฝึกร้อยลูกปัด หรือจะเป็นการฝึกดึงสติกเกอร์อันเล็ก ๆ ก็ถือว่าเป็นวิธีการที่ดีในการบริหารกล้ามเนื้อให้แข็งแรง

เสริมความแข็งแกร่งให้กล้ามเนื้อมือ เสิรมพัฒนาการด้านการเขียน

3. เสริมความแกร่งไร้เทียมทานให้กับกล้ามเนื้อมือ

ถ้าอยากฝึกให้เด็กนักเรียนได้มีกล้ามเนื้อมือที่แข็งแรง แข็งแกร่ง และสตรอง ต้องลองใช้ตัวช่วยเช่น  ดินน้ำมัน : นำมาให้เด็ก ๆ ดึง บีบ ทุบ

ตัวหนีบผ้า : ฝึกหนีบค้างไว้ให้ได้นาน ๆ 

ฟองน้ำ : ฝึกบีบไปบีบมาอย่างสุดแรง

กระดาษ : ให้เด็ก ๆ ขยำด้วยมือเดียวให้เป็นก้อนกลม ๆ

ตัวช่วยเหล่านี้นับเป็นส่วนหนึ่งของสื่อการเรียนการสอนอนุบาล

ฝึกจับดินสอ เสริมพัฒนาการด้านการเขียน

4. ฝึกจับดินสอให้พอดีมือ

การฝึกจับดินสอก็ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้พัฒนาการด้านการเขียนไปเป็นอย่างมีประสิทธิภาพ สำหรับเทคนิคการจับดินสอนั้นเริ่มจากคุณครูสามารถให้เด็ก ๆ ฝึกจับจากการจับดินสอขนาดเล็กสั้นและช่วยเด็กจับแบบสามนิ้ว ถ้าหากเด็กคนไหนบังคับนิ้วนางกับนิ้วก้อยได้ไม่ดีสามารถใช้สำลีไว้ตำแหน่งตรงนิ้วกลางและนิ้วก้อยเพื่อให้ควบคุมได้ดีขึ้น ถ้าเด็กคนไหนมีปัญหากะระยะการจับดินสอไม่ถูกต้อง คุณครูสามารถใช้หนังยางมาพันตรงตำแหน่งดินสอเพื่อให้เด็ก ๆ รู้ถึงตำแหน่งการจับดินสอที่ถูกต้อง

นั่งให้ถูกวิธี เสริมพัฒนาการด้านการเขียน

5. การนั่งเขียนก็สำคัญต้องหมั่นฝึกให้ถูกต้อง

การนั่งเขียนให้เกิดประสิทธิภาพ คุณครูต้องจัดวางร่างกายของเด็ก ๆให้อยู่ในแนวที่เหมาะสมและรักษาสมดุลร่างกายเพื่อให้เกิดความมั่นคงขณะนั่งและเคลื่อนไหว ซึ่งเมื่อร่างกายอยู่ในตำแหน่งและทิศทางที่เหมาะสมการจะทำให้การใช้ข้อมือ นิ้วมือ การหยิบจับ และการเขียน เป็นไปอย่างคล่องแคล่วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ไม่จำเป็นต้องนั่งเขียน เสริมพัฒนาการด้านการเขียน

6. ไม่จำเป็นต้องนั่งเขียนตลอดเวลา

ในช่วงที่เด็กกำลังฝึกพัฒนาการด้านการเขียน นอกจากการนั่งเขียนแล้ว คุณครูยังสามารถให้เด็กนักเรียนฝึกเขียนโดยการยืน หรือแม้กระทั่งนั่งชันเข่า หรือนอนเขียนใต้โต๊ะ ก็ถือว่าเป็นการช่วยเพิ่มความมั่นคง แข็งแรงให้กับหัวไหล่ หลัง ส่งผลให้การบังคับข้อมือมั่งคงขึ้นขณะเขียน

เปลี่ยนจากจับดินสอเป็นอย่างอื่นเสริมพัฒนาการด้านการเขียน

7. เปลี่ยนจากจับดินสอไปจับอย่างอื่นก็เป็นการฝึกการเขียนได้

ไม่จำเป็นต้องจับดินสอเขียนเสมอไป คุณครูสามารถให้เด็ก ๆ ออกไปเขียนกับทราย กับน้ำ หรือกับดิน ก็จะช่วยให้เด็ก ๆ ได้สนุกและเป็นการเรียนรู้ไปในตัว และเป็นวิธีที่ไม่กดดันเด็กจนเกินไปอีกด้วย

7 เทคนิคเหล่านี้จะช่วยให้เหล่าเด็กอนุบาลได้พัฒนาทักษะการเขียนได้อย่างเต็มศักยภาพ แต่คุณครูปฐมวัยก็ไม่ควรเอาแต่ฝึกฝนเด็กเพียงอย่างเดียว เพราะการเคี่ยวเข็ญเด็กๆมากเกินไปจะทำให้เด็กๆ กดดัน จนไม่สามารถพัฒนาทักษะการเขียนได้อย่างเต็มที่เท่าที่ควร สภาวะอารมณ์ จิตใจ และแรงจูงใจในการเขียนนั่นสำคัญ ถ้าเด็กมีปัญหา คุณครูก็ต้องวิเคราะห์หาสาเหตุ การมี เอกสารประเมินพัฒนาการเด็ก ก็จะช่วยให้คุณครูสามารถเข้าใจเด็กแต่ละคนได้มากขึ้น เมื่อหาสาเหตุได้แล้วก็พยายามแก้ไข และที่สำคัญต้องให้กำลังใจเด็กๆ ไปพร้อมๆ กัน เพียงเท่านี้ก็จะทำให้เด็กมีพัฒนาการด้านการเขียนที่ดีมากขึ้น 

สำหรับคุณครูท่านใด อยากมี เอกสารประเมินพัฒนาการเด็ก คุณภาพดี ครบถ้วน ตรงตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พ.ศ. 2560 สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาระดับปฐมวัย พ.ศ. 2561 และสอดคล้องกับมาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ พ.ศ. 2562 ใช้ได้กับทุกสถาบันการศึกษา ราคาเริ่มต้นเพียง 25 บาทเท่านั้น


ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *