แนวทางการประเมินพัฒนาการเด็ก

“การประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัย” ถือเป็นบทบาทและหน้าที่ที่สำคัญสำหรับผู้ที่เป็นคุณครูปฐมวัยที่ต้องหมั่นใส่ใจและคอยดูแลสอดส่อง เพื่อการสังเกตและส่งเสริมพัฒนาการเด็กทุกด้านทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคมและสติปัญญา

สำหรับในหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พ.ศ. 2560  ได้มีการกำหนดมาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์ที่ต้องการให้เกิดขึ้นในตัวเด็ก เพื่อให้สถานศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดการศึกษาระดับปฐมวัย ใช้เป็นเป้าหมายในการพัฒนาและการประเมินเด็กให้บรรลุคุณภาพตาม มาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์ 

ตามที่ได้กำหนดไว้ จำนวน 12 ประการ ดังต่อไปนี้

1. แนวทางการประเมินพัฒนาการเด็ก

แนวทางการประเมินพัฒนาการเด็ก

   ประกอบด้วย 2 มาตรฐาน คือ 

        มาตรฐานที่ 1  ร่างกายเจริญเติบโตตามวัยและมีสุขนิสัยที่ดี 

        มาตรฐานที่ 2  กล้ามเนื้อใหญ่และกล้ามเนื้อเล็กแข็งแรง ใช้ได้อย่างคล่องแคล่วและประสานสัมพันธ์กัน 

        สำหรับแนวทางการประเมินพัฒนาการในด้านพัฒนาการด้านร่างกายที่ครอบคลุม 2 มาตรฐานข้างต้นนี้นั้น คุณครูปฐมวัยจะต้องสังเกตดูความเปลี่ยนแปลงของความสามารถของร่างกายในการเคลื่อนไหว การมีสุขภาพอนามัยที่ดี รวมถึงการใช้มือกับตาที่ประสานสัมพันธ์กันในการทำกิจกรรมต่าง ๆ

         การประเมินพัฒนาการด้านร่างกายของเด็กปฐมวัย ประกอบด้วย การประเมินน้ำหนักและส่วนสูงตามเกณฑ์ สุขภาพอนามัย สุขนิสัยที่ดี การรู้จักความปลอดภัย การเคลื่อนไหวและการทรงตัว การเล่นและ การออกกำลังกาย และการใช้กล้ามเนื้อเล็กอย่างประสานสัมพันธ์กัน                                      

2. พัฒนาการด้านอารมณ์และจิตใจ

พัฒนาการด้านอารมณ์และจิตใจ

   ประกอบด้วย 3 มาตรฐาน คือ 

         มาตรฐานที่ 1  มีสุขภาพจิตดีและมีความสุข 

         มาตรฐานที่ 2  ชื่นชมและแสดงออกทางศิลปะ ดนตรี และการเคลื่อนไหว  

         มาตรฐานที่ 3  มีคุณธรรม จริยธรรม  และมีจิตใจที่ดีงาม

         สำหรับแนวทางการประเมินพัฒนาการในด้านพัฒนาการด้านอารมณ์และจิตใจที่ครอบคลุม 3 มาตรฐานข้างต้นนี้นั้น คุณครูปฐมวัยจะต้องสังเกตเห็นความสามารถในการแสดงอารมณ์และความรู้สึกของเด็กแต่ละคน โดยต้องดูว่าเด็ก ๆ นั้นรู้จักควบคุมอารมณ์และแสดงออกอย่างเหมาะสมกับวัยและสถานการณ์หรือไม่ เพื่อการเตรียมความพร้อมในการเผชิญกับเหตุการณ์ต่าง ๆ ตลอดจนการมีความรู้สึกที่ดีต่อตัวเองและคนอื่น ๆ รอบข้าง

          การประเมินพัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ ของเด็กปฐมวัยประกอบด้วย การประเมินความสามารถในการแสดงออกทางอารมณ์อย่างเหมาะสมกับวัยและสถานการณ์ ความรู้สึกที่ดีต่อตนเองและผู้อื่น มีความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น มีความสนใจ ความสามารถและมีความสุขในการทำงานศิลปะ ดนตรี และการเคลื่อนไหว  มีความรับผิดชอบในการทำงาน มีความซื่อสัตย์สุจริตและรู้สึกถูกผิด มีน้ำใจ คอยแบ่งปัน ช่วยเหลือผู้อื่น ตลอดจนการรู้จักประหยัดอดออม

3. พัฒนาการด้านสังคม

พัฒนาการทางด้านสังคม

   ประกอบด้วย 3  มาตรฐาน คือ

         มาตรฐานที่ 1  มีทักษะชีวิตและปฏิบัติตนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

         มาตรฐานที่ 2  รักธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม และความเป็นไทย

         มาตรฐานที่ 3  อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุขและปฏิบัติตนเป็นสมาชิกที่ดีของสังคมในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

          สำหรับแนวทางการประเมินพัฒนาการในด้านพัฒนาการด้านสังคมที่ครอบคลุม 3 มาตรฐานข้างต้นนี้นั้น คุณครูปฐมวัยจะต้องสังเกตว่าเด็ก ๆ แต่ละคน มีความสามารถในการสร้างสัมพันธภาพกับผู้อื่น ปรับตัวในการเล่น และอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้หรือไม่  ตลอดจนสังเกตว่าเด็ก ๆ สามารถทำหน้าที่ตามบทบาทของตน สามารถช่วยเหลือตนเองในชีวิตประจำวัน และสามารถปฏิบัติตามข้อตกลงในการอยู่ร่วมกันได้   

          การประเมินพัฒนาการด้านสังคม ประกอบด้วย การประเมินความมีวินัยในตนเอง   การช่วยเหลือตนเองในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน การระวังภัยจากคนแปลกหน้าและสถานการณ์ที่เสี่ยงอันตราย การดูแลรักษาธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การมีสัมมาคาระและมารยาทตามวัฒนธรรมไทย รักความเป็นไทย การยอมรับความเหมือนและความแตกต่างระหว่างบุคคล การมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่น การปฏิบัติตนเบื้องต้นในการเป็นสมาชิกที่ดีของสังคมในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข 

 4. พัฒนาการด้านสติปัญญา

พัฒนาการด้านสติปัญญา

   ประกอบด้วย 4  มาตรฐาน คือ

   มาตรฐานที่ 1 ใช้ภาษาสื่อสารได้เหมาะสมกับวัย

   มาตรฐานที่ 2  มีความสามารถในการคิดที่เป็นพื้นฐานในการเรียนรู้

    มาตรฐานที่ 3  มีจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์                        

   มาตรฐานที่ 4  มีเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้และมีความสามารถในการแสวงหาความรู้ได้เหมาะสมกับวัย

       สำหรับแนวทางการประเมินพัฒนาการในด้านพัฒนาการด้านสังคมที่ครอบคลุม 4 มาตรฐานข้างต้นนี้นั้น คุณครูปฐมวัยจะต้องสังเกตการเปลี่ยนแปลงความสามารถในการรับรู้ การสังเกต การจดจำ วิเคราะห์  รู้คิด รู้เหตุผล และแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัยแต่ละคน ตลอดจนการแสดงออกด้วยการใช้ภาษาจากการทำกิจกรรมต่าง ๆ ในรูปแบบของการสนทนา การตอบคำถาม เล่านิทาน เป็นต้น

       การประเมินพัฒนาการด้านสติปัญญา ประกอบด้วย การประเมินความสามารถในการสนทนา โต้ตอบและเล่าเรื่องให้ผู้อื่นเข้าใจ ความสามารถในการอ่าน เขียนภาพ และสัญลักษณ์ ความสามารถในการคิดรวบยอด ความสามารถในการคิดเชิงเหตุผล ความสามารถในการคิดแก้ปัญหาและตัดสินใจ การทำงานศิลปะ การแสดงท่าทางและการเคลื่อนไหว                     ตามจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ ตลอดจนการมีเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้และความสามารถในการแสวงหาความรู้

       สิ่งหนึ่งที่จะช่วยอำนวยความสะดวกสบายให้กับคุณครูปฐมวัยหรือคุณครูอนุบาลทั้งหลายในการประเมินพัฒนาการของเด็กอนุบาลก็คือ “เอกสารประเมินพัฒนาการเด็กระดับปฐมวัย” ที่ดีและมีคุณภาพตรงตามหลักสูตรที่กระทรวงศึกษากำหนดไว้ โดยเอกสารประเมินพัฒนาที่ดีนั้นจะต้องใช้งานง่าย มีช่องข้อมูลให้บันทึกอย่างครบถ้วนตรงตามหลักสูตร สามารถทำให้คุณครูปฐมวัยนำข้อมูลของเด็กแต่ละคนที่ประเมินไว้นำไปสรุปได้อย่างรวดเร็วนั่นเอง

        รัฐกุล เป็นผู้จัดจำหน่ายทั้งปลีกและส่ง เอกสารการประเมินพัฒนาการเด็กระดับปฐมวัย ใช้งานง่าย ละเอียด เนื้อหาถูกต้อง มีมาตรฐานตรงตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยของกระทรวงศึกษาธิการ โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิคอยกำกับดูแล จึงเหมาะสมที่จะนำไปเป็นผู้ช่วยในการประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัยของคุณครูปฐมวัยมาก ๆ 

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *