เคลียร์ครบ จบข้อสงสัย ทำไม “ตัวบ่งชี้” และ “สภาพที่พึงประสงค์ ” ของ “รัฐกุล” ถึงมีหลายข้อกว่าหลักสูตร การศึกษาปฐมวัย พ.ศ. 2560 ?

เรียกได้ว่านี่คือคำถามสุดฮอตฮิตที่ลูกค้าหลายท่านต่างสอบถามกันเข้ามามากมาย ว่า ทำไม “ตัวบ่งชี้” และ “สภาพที่พึงประสงค์
ของ “รัฐกุล” ถึงมีหลายข้อกว่าหลักสูตร การศึกษาปฐมวัย พ.ศ. 2560 ? ทำไมไม่ตรงกันเป๊ะ ๆ ? ทำไมบางส่วนถึงแตกต่างกัน ?

บทความนี้จะพาทุกท่านไปพบกับคำตอบที่ใช่ พร้อมแถลงไขให้หายข้องใจถึงสาเหตุที่มาที่ไปที่ทำให้ “รัฐกุล” มีการปรับเปลี่ยนเนื้อหาบางอย่างไปให้แตกต่างจากตัวหลักสูตรเดิม ถ้าพร้อมแล้วไปพบกับคำตอบกันได้เลยค่ะ

สำหรับในจำนวนข้อของตัวบ่งชี้บางตัว และ จำนวนข้อ ของสภาพที่พึงประสงค์บางตัวในเอกสารการประเมินพัฒนาการของ “รัฐกุล” (ศพด.01/-ศพด.02 และ อ.01 / อ.02) ที่ไม่ตรงกับที่กำหนดไว้ในหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย 2560 นั้น

ขออธิบายก่อนว่าในส่วนของพัฒนาการ ทั้ง 4 ด้าน คือ

  1. ด้านร่างกาย 
  2. ด้านอารมณ์ จิตใจ 
  3. ด้านสังคม 
  4. ด้านสติปัญญา

ในการพัฒนาและประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัยนั้น “ตรงกัน

ส่วนประเด็นในเรื่องจำนวนข้อของตัวบ่งชี้บางตัว และจำนวนข้อของสภาพที่พึงประสงค์บางตัวจึงไม่ตรงกันนั้น เกี่ยวข้องกับเหตุผล ดังต่อไปนี้

ทางคณะทำงานยกร่างเอกสารการประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัยผู้เชี่ยวชาญของรัฐกุล ได้ทำการศึกษาและวิเคราะห์หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย 2560 พบว่า…หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย 2560 ได้กำหนดจำนวนตัวบ่งชี้ของมาตรฐานคุณลักษณะที่พึ่งประสงค์บางมาตรฐาน ไม่สอดคล้องกับหลักการทางวิชาการที่ควรจะเป็น

“ในหนึ่งมาตรฐาน ควรกำหนดตัวบ่งชี้ไว้ไม่น้อยกว่า 1 ตัวบ่งชี้”

“ในหนึ่งตัวบ่งชี้ ควรกำหนดสภาพที่พึงประสงค์ไว้ไม่น้อยกว่า 1 สภาพที่พึงประสงค์”

แต่ !! มีบางมาตรฐานของคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ในหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย 2560 ได้กำหนดไว้เพียง 1 ตัวบ่งชี้ หรือในหนึ่งตัวบ่งชี้ กำหนดไว้เพียง 1 สภาพที่พึงประสงค์

“ในหนึ่งสภาพที่พึงประสงค์ ควรกำหนดพฤติกรรมที่เด็กควรแสดงออกได้ตามวัยเพียง 1 พฤติกรรม เพื่อความชัดเจนของการประเมิน”

แต่ !! ในหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย 2560 บางจุดประสงค์ได้กำหนดไว้เพียง 1 ข้อ แต่มีพฤติกรรมหลายพฤติกรรม

โดยหากเป็นเช่นนี้ ในทางปฏิบัติ จะทำให้คุณครูปฐมวัยผู้ที่มีหน้าที่ในทำการประเมิน เกิดความยุ่งยากในการประเมินขึ้น อันจะนำมาซึ่งความไม่ชัดเจน และมีผลการประเมินไม่ตรงกับความเป็นจริง

ทาง “รัฐกุล” จึงได้ตัดสินใจทำการปรับปรุงให้สอดคล้องกับหลักวิชาการ และเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่คุณครูผู้ประเมิน อันจะส่งผลให้เกิดความง่ายต่อการประเมิน และตรงกับสภาพความเป็นจริง มีความชัดเจน และสอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของการประเมินอย่างแท้จริง

ดังตัวอย่างดังต่อไปนี้

กล่าวโดยสรุป คือ เหตุผลที่ “ตัวบ่งชี้” และ “สภาพที่พึงประสงค์ ” ของ “รัฐกุล” ถึงมีหลายข้อกว่าหลักสูตร การศึกษาปฐมวัย พ.ศ. 2560 เป็นเพราะว่ารัฐกุลได้ทำการปรับปรุงให้สอดคล้องกับหลักวิชาการและเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่คุณครูผู้ประเมิน ประเมินง่ายกว่า ชัดเจนกว่า ตรงสภาพความเป็นจริงกว่า

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *