การศึกษาระดับปฐมวัย สำหรับเด็กอายุ 3-6 ปี เป็นการจัดการศึกษาในลักษณะของการอบรมเลี้ยงดูและให้การศึกษา เด็กจะได้รับการพัฒนาทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา ตามวัยและความสามารถของแต่ละบุคคล ซึ่งมีการกำหนดมาตรฐานการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัย ไว้แตกต่างกันดังนี้

มาตรฐานการศึกษา 3 มาตรฐานและ 12 มาตรฐาน ต่างกันอย่างไร ?
มาตรฐานการศึกษาปฐมวัย 3 มาตรฐาน

เป็นมาตรฐานเพื่อการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ตามระบบหลักเกณฑ์ และวิธีประกันคุณภาพการศึกษาตาม พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ
มีจำนวน 3 มาตรฐาน ประกอบไปด้วย…
มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของเด็ก
มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ
มาตรฐานที่ 3 การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ

มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของเด็ก
1.1 มีพัฒนาการด้านร่างกาย แข็งแรง มีสุขนิสัยที่ดี และดูแลความปลอดภัยของตนเองได้
1.2 มีพัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ ควบคุม และแสดงออกทางอารมณ์ได้
1.3 มีพัฒนาการด้านสังคม ช่วยเหลือตนเอง และเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม
1.4 มีพัฒนาการด้านสติปัญญา สื่อสารได้ มีทักษะการคิดพื้นฐาน และแสวงหาความรู้ได้
มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ
2.1 มีหลักสูตรครอบคลุมพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน สอดคล้องกับบริบทของท้องถิ่น
2.2 จัดครูให้เพียงพอกับชั้นเรียน
2.3 ส่งเสริมให้ครูมีความเชี่ยวชาญด้านการจัดประสบการณ์
2.4 จัดสภาพแวดล้อมและสื่อเพื่อการเรียนรู้ อย่างปลอดภัย และเพียงพอ
2.5 ให้บริการสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อการเรียนรู้เพื่อสนับสนุนการจัดประสบการณ์
2.6 มีระบบบริหารคุณภาพที่เปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนร่วม
มาตรฐานที่ 3 การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ
3.1 จัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการทุกด้านอย่างสมดุลเต็มศักยภาพ
3.2 สร้างโอกาสให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรง เล่นและปฏิบัติอย่างมีความสุข
3.3 จัดบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ใช้สื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับวัย
3.4 ประเมินพัฒนาการเด็กตามสภาพจริงและนำผลการประเมินพัฒนาการเด็กไปปรับปรุงการจัดประสบการณ์และพัฒนาเด็ก
มาตรฐานการศึกษาปฐมวัย 12 มาตรฐาน

เป็นมาตรฐานคุณลักษณะที่พึ่งประสงค์ ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย 2560 (สำหรับอายุ 3-6 ปี)
และเป็นรายละเอียดตามมาตรฐานที่ 1 (ในมาตรฐานการศึกษาปฐมวัย 3 มาตรฐาน) ซึ่งก็คือ คุณภาพของเด็ก
ประกอบด้วย …
พัฒนาการด้านร่างกาย
1. ร่างกายเจริญเติบโตตามวัยและมีสุขนิสัยที่ดี
2. กล้ามเนื้อใหญ่และกล้ามเนื้อเล็กแข็งแรง ใช้ได้อย่างคล่องแคล่วและประสานสัมพันธ์กัน
พัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ
3. มีสุขภาพจิตดีและมีความสุข
4. ชื่นชมและแสดงออกทางศิลปะ ดนตรี และการเคลื่อนไหว
5. มีคุณธรรม จริยธรรม และมีจิตใจที่ดีงาม
พัฒนาการด้านสังคม
6. มีทักษะชีวิตและปฏิบัติตนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
7. รักธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม และความเป็นไทย
8. อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุขและปฏิบัติตนเป็นสมาชิกที่ดีของสังคมในระบอบ-ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
พัฒนาการด้านสติปัญญา
9. ใช้ภาษาสื่อสารได้เหมาะสมกับวัย
10. มีความสามารถในการคิดที่เป็นพื้นฐานในการเรียนรู้
11. จินตนาการและความคิดสร้างสรรค์
12. มีเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้ และมีความสามารถในการแสวงหาความรู้ได้เหมาะสมกับวัย
จะเห็นได้ว่า มาตรฐานทั้ง 2 อย่างนี้เป็นคนละเรื่องกัน อาจจะมีประเด็นที่เกี่ยวเนื่องกันอยู่บ้าง แต่ว่าจุดประสงค์ของการกำหนดมาตรฐานทั้ง 2 อย่างนี้ขึ้นมานั้นมีความแตกต่างกัน

หวังว่าบทความนี้จะทำให้เข้าใจและเห็นความแตกต่างของมาตรฐานที่เกี่ยวกับการศึกษาระดับปฐมวัยได้มากขึ้นนะคะ
Related posts

ประสบการณ์ยิ่งเยอะ…ยิ่งเรียนรู้ได้ไว ชวนคุณครูปฐมวัยมาดูแนวทางการจัดประสบการณ์การเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย (ตามหลักสูตรปฐมวัย พ.ศ. 2560)
หมวดหมู่
- ความรู้ครูปฐมวัย (116)
- หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย (30)
- อื่นๆ (74)
- ดาวน์โหลดเอกสาร (2)
- พัฒนาการเด็กปฐมวัย (44)
- เอกสารประเมินพัฒนาการเด็ก (14)
- โปรแกรมครูแคร์ (11)
- วิดีโอ (6)
บทความล่าสุด
- สัญญาณเริ่มต้นที่ครูควรรู้ วิธีสังเกตเด็กที่อาจมีความต้องการพิเศษ มีนาคม 7, 2025
- ศิลปะบำบัด เสริมสร้างพัฒนาการเด็กปฐมวัย เรื่องที่ครูอนุบาลไม่ควรมองข้าม มีนาคม 1, 2025
- แจกเทคนิคจัดการความเครียดในเด็กปฐมวัย! ครูอนุบาลต้องรู้ไว้ รับรองเด็กๆ ผ่อนคลายและพร้อมเรียนรู้ กุมภาพันธ์ 20, 2025
- รู้หรือไม่ ความฉลาดทางอารมณ์ของเด็ก เริ่มต้นจากครูอนุบาล กุมภาพันธ์ 14, 2025
- การจัดการกับความหลากหลายทางวัฒนธรรมในห้องเรียนปฐมวัย มกราคม 23, 2025
บทความแนะนำ
-
สัญญาณเริ่มต้นที่ครูควรรู้ วิธีสังเกตเด็กที่อาจมีความต้องการพิเศษ
มีนาคม 7, 2025 -
การจัดประสบการณ์เพื่อการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย
มิถุนายน 6, 2018 -
การให้ความช่วยเหลือเด็กที่มีปัญหาพฤติกรรม
มิถุนายน 6, 2018 -
วิธีฟื้นคืนเด็กพิเศษให้ปกติด้วยการศึกษา
มิถุนายน 6, 2018 -
เสริมสร้างพัฒนาการเด็กอย่างไรให้โตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ!
มิถุนายน 6, 2018