จากน้องอนุบาล…สู่พี่ ป.1 จะเชื่อมรอยต่อของการศึกษาอย่างไรให้ประสบความสำเร็จ “รัฐกุล” มีคำตอบ

เมื่อทุกฝ่ายร่วมมือกันสร้างรอยเชื่อมต่อระหว่างการศึกษาระดับปฐมวัย กับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จะส่งผลดีต่อการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย ทำให้เด็กปรับตัวรับความเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็วและสามารถพัฒนาการเรียนรู้ได้อย่างราบรื่น

การเลื่อนชั้นจากการเรียนอนุบาลไปสู่ประถมศึกษา จัดเป็น “การเลื่อนชั้นต่างระดับ” ที่เด็กนักเรียนจะต้องเผชิญหน้ากับความเปลี่ยนแปลงอย่างรอบด้าน ซึ่งถือว่าไม่ใช่เรื่องง่ายเลยสำหรับธรรมชาติของเด็กในวัยนี้ที่จะยอมรับความเปลี่ยนแปลงและสามารถปรับตัวได้อย่างรวดเร็ว

ด้วยหลักสูตรที่มีความแตกต่างกันค่อนข้างมาก อย่างในระดับช่วงชั้นปฐมวัยจะเน้นการเรียนการสอนผ่านการสร้างประสบการณ์ด้วยกิจกรรมเสริมประสบการณ์ กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ กิจกรรมกลางแจ้ง กิจกรรมสร้างสรรค์ กิจกรรมเกมการศึกษา และกิจกรรมเสรี ไม่เน้นการเรียนการสอนเชิงวิชาการอ่านเขียน

ในขณะที่การเรียนในระดับชั้นประถมศึกษาจะเรียนรู้ผ่านแต่ละรายวิชาและมีการวัดผลการเรียนด้วยการสอบรวมไปถึงวิธีการอื่น ๆ ที่หลากหลายมากขึ้น ทำให้เด็กในช่วงชั้นประถมศึกษาจะต้องอ่านออก เขียนได้ มีทักษะความรู้ทางวิชาการ จึงเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้การเชื่อมต่อทางการศึกษาในช่วงระหว่างการศึกษาปฐมวัยกับระดับประถมศึกษาปีที่ 1 ประสบกับปัญหามากที่สุด เด็ก ๆ มักจะเกิดความเครียดจากปัญหาปรับตัวไม่ทัน รู้สึกกดดันเวลาต้องมาโรงเรียน จากเด็กอนุบาลที่ชอบมาโรงเรียนในวันนี้ อาจจะกลับกลายมาเป็นเด็กประถมที่ไม่ชอบการมาโรงเรียนเลยก็เป็นได้

ด้วยเหตุผลที่กล่าวมาข้างต้นนี้ทำให้การสร้างรอยเชื่อมต่อระหว่างการศึกษาปฐมวัยกับระดับประถมศึกษาที่ปี1 จำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนและการช่วยเหลือจากครู พ่อแม่ ผู้ปกครอง ตลอดจนบุคลากรที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย เพื่อให้การเชื่อมรอยต่อระหว่าง 2 ระดับชั้นเรียนประสบผลสำเร็จมากที่สุด

ในฐานะคุณครูสามารถจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามขั้นตอนการสอนแบบสืบเสาะหา 5 ขั้นตอน โดยมีขั้นตอนในการดำเนินการดังนี้

หน้าที่ของผู้บริหารสถานที่ศึกษา

หน้าที่ของผู้บริหารสถานที่ศึกษา

ผู้บริหารสถานศึกษาเป็นบุคคลสำคัญที่มีบทบาทเป็นผู้นำในการสร้างรอยเชื่อมต่อระหว่างหลักสูตร การศึกษาปฐมวัยกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานในชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยต้องศึกษาหลักสูตร ทั้งสองระดับ เพื่อทำความเข้าใจและจัดระบบการบริหารงานด้านวิชาการที่จะเอื้อต่อการเชื่อมต่อการศึกษา โดยดำเนินการดังนี้…

✓จัดประชุมผู้สอนระดับปฐมวัยและผู้สอนระดับประถมศึกษา ร่วมกันสร้างความเข้าใจ รอยเชื่อมต่อของหลักสูตรทั้งสองระดับให้เป็นแนวปฏิบัติของสถานศึกษา เพื่อผู้สอนทั้งสองระดับจะได้ เตรียมการสอนได้สอดคล้องกับเด็กวัยนี้

✓จัดหาเอกสารหลักสูตรและเอกสารทางวิชาการของทั้งสองระดับมาไว้ให้ผู้สอนและบุคลากรอื่น ๆ ได้ศึกษาทําความเข้าใจ อย่างสะดวกและเพียงพอ

✓จัดกิจกรรมให้ผู้สอนทั้งสองระดับมีโอกาสแลกเปลี่ยนและเผยแพร่ความรู้ใหม่ๆ ร่วมกัน

✓จัดหาสื่อ วัสดุอุปกรณ์ และจัดสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมการสร้างรอยเชื่อมต่อ

✓จัดกิจกรรมให้ความรู้ กิจกรรมสัมพันธ์ในรูปแบบต่าง ๆ และจัดทำเอกสารเผยแพร่ให้กับ พ่อแม่ ผู้ปกครองอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้พ่อแม่ ผู้ปกครองเข้าใจการศึกษาทั้งสองระดับและให้ความร่วมมือใน การช่วยเด็กให้สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมใหม่ได้ดี

หน้าที่ของคุณครูปฐมวัย

หน้าที่ของคุณครูปฐมวัย

ผู้สอนระดับปฐมวัยต้องศึกษาหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน การจัดการเรียนการสอน ในชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และสร้างความเข้าใจให้กับพ่อแม่ ผู้ปกครองและบุคลากรอื่นๆ รวมทั้งช่วยเหลือเด็ก ในการปรับตัวก่อนเลื่อนขึ้นชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยผู้สอนควรดำเนินการ ดังนี้…

✓เก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับตัวเด็กเป็นรายบุคคลเพื่อส่งต่อผู้สอนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ซึ่งจะทำ ให้ผู้สอนระดับประถมศึกษาสามารถใช้ข้อมูลนั้นช่วยเหลือเด็กในการปรับตัวเข้ากับการเรียนรู้ใหม่ต่อไป

✓พูดคุยกับเด็กถึงประสบการณ์ที่ดี ๆ เกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เพื่อให้เด็กเกิดเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้

✓จัดให้เด็กได้มีโอกาสทำความรู้จักกับผู้สอน ตลอดจนการสำรวจสภาพแวดล้อมและบรรยากาศของห้องเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1

✓จัดสื่อ วัสดุอุปกรณ์ หนังสือที่เหมาะสมกับวัยเด็กที่ส่งเสริมให้เด็กได้เรียนรู้และมีประสบการณ์ พื้นฐานที่สอดคล้องกับรอยเชื่อมต่อในการเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1

หน้าที่ของคุณครูประถมศึกษา

หน้าที่ของคุณครูประถมศึกษา

ผู้สอนระดับประถมศึกษาต้องมีความรู้ ความเข้าใจในพัฒนาการเด็กปฐมวัย และมีเจตคติที่ดีต่อการ จัดประสบการณ์ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย เพื่อนำมาเป็นข้อมูลการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ระดับ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ให้ต่อเนื่องกับการพัฒนาเด็กในระดับปฐมวัย โดยควรดำเนินการ ดังนี้….

✓จัดกิจกรรมให้เด็ก พ่อแม่ และผู้ปกครอง มีโอกาสได้ทำความรู้จักคุ้นเคยกับผู้สอนและห้องเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ก่อนเปิดภาคเรียน

✓จัดสภาพห้องเรียนให้ใกล้เคียงกับห้องเรียนระดับปฐมวัย โดยจัดให้มีมุมประสบการณ์ภายใน ห้อง เพื่อให้เด็กได้มีโอกาสทำกิจกรรมได้อย่างอิสระเช่น มุมหนังสือ มุมของเล่น มุมเกมการศึกษา เพื่อช่วยให้ เด็กชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ได้ปรับตัวและเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง

✓จัดกิจกรรมร่วมกันกับเด็กในการสร้างข้อตกลงเกี่ยวกับการปฏิบัติตน

✓จัดกิจกรรมช่วยเหลือ ส่งเสริมการเรียนรู้ให้กับเด็กตามความแตกต่างระหว่างบุคคล
✓เผยแพร่ข่าวสารด้านการเรียนรู้และสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับเด็ก พ่อแม่ ผู้ปกครอง และชุมชน

หน้าที่ของผู้ปกครอง

หน้าที่ของผู้ปกครอง

พ่อแม่ ผู้ปกครองเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการอบรมเลี้ยงดูและส่งเสริมการศึกษาของบุตรหลาน และ เพื่อช่วยบุตรหลานของตนเองในการศึกษาต่อชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ควรดำเนินการดังนี้….

✓ศึกษาและทำความเข้าใจหลักสูตรของการศึกษาทั้งสองระดับ

✓จัดหาหนังสือ อุปกรณ์ที่เหมาะสมกับวัยเด็ก

✓มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับบุตรหลาน ให้ความรัก ความเอาใจใส่ ดูแลบุตรหลานอย่างใกล้ชิด

✓จัดเวลาในการทำกิจกรรมร่วมกับบุตรหลาน เช่น เล่านิทาน อ่านหนังสือร่วมกัน สนทนาพูดคุย ซักถามปัญหาในการเรียน ให้การเสริมแรงและให้กำลังใจ

✓ร่วมมือกับผู้สอนและสถานศึกษาในการช่วยเตรียมตัวบุตรหลานเพื่อช่วยให้บุตรหลานปรับตัวได้ดีขึ้น

ร่วมมือกันสร้างรอยเชื่อมต่อระหว่างการศึกษาระดับปฐมวัย กับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1

เมื่อทุกฝ่ายร่วมมือกันสร้างรอยเชื่อมต่อระหว่างการศึกษาระดับปฐมวัยกับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จะส่งผลดีต่อการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย ทำให้เด็กปรับตัวรับความเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็วและสามารถพัฒนาการเรียนรู้ได้อย่างราบรื่น

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *