Psychomotor Domain 5 ระดับพฤติกรรมทางทักษะพิสัย ตามทฤษฎีการเรียนรู้ เบนจามิน บลูมและคณะ

“บลูม” หรือชื่อเต็ม ๆ ว่า “เบนจามิน บลูม” เป็นนักจิตวิทยาการศึกษาชาวสหรัฐอเมริกาที่สนใจในการศึกษาพฤติกรรมการเรียนรู้ของคนเรา โดยเขาเชื่อว่าการเรียนการสอนที่จะประสบความสำเร็จและมีประสิทธิภาพนั้น ผู้สอนจะต้องกำหนดจุดมุ่งหมายให้ชัดเจน โดยบลูมและคณะได้มีการเสนอจุดมุ่งหมายทางการศึกษาทั้งหมด 3 ด้านด้วยกัน อันได้แก่…

  1. พุทธิพิสัย (Cognitive Domain)
  2. ทักษะพิสัย (Psychomotor Domain)
  3. จิตพิสัย (Affective Domain)

พุทธิพิสัย 

        คือพฤติกรรมที่เกี่ยวกับสมรรถภาพทางสมองหรือสติปัญญาของแต่ละบุคคล ซึ่งจะเกี่ยวกับความคิด ความสามารถในการคิดเรื่องราวต่าง ๆ โดยสมรรถภาพทางสมองนั้นจะทำงานได้ซับซ้อนขึ้น และสามารถแก้ปัญหาที่มีเงื่อนไขยาก ๆ ได้มากขึ้นเรื่อย ๆ สามารถแบ่งออกเป็น 6 ระดับ ดังนี้

1.1 ความรู้ความจํา

1.2 ความเข้าใจ

1.3 การนําไปใช้

1.4 การวิเคราะห์

1.5 การสังเคราะห์

1.6 การประเมินค่า

ทักษะพิสัย 

        คือพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับทักษะการเคลื่อนไหวและการใช้อวัยวะส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เป็นพฤติกรรมที่บ่งบอกถึงความสามารถในการปฏิบัติงานได้อย่างคล่องแคล่วเชี่ยวชาญ หากใครที่สามารถบังคับระบบกล้ามเนื้อและระบบประสาทให้ทำงานประสานสัมพันธ์กันได้ดีจะช่วยให้เกิดทักษะในการปฏิบัติสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างคล่องแคล่ว และยิ่งหากมีการฝึกฝนซ้ำ ๆ ก็จะเกิดความชำนาญได้อย่างว่องไว ซึ่งแสดงออกมาได้โดยตรง ตัวชี้ระดับของทักษะ คือ เวลา และคุณภาพงาน สามารถแบ่งออกเป็น 5 ระดับ ดังนี้

2.1 การเลียนแบบ

2.2 กระทําตามแบบ

2.3 การทำอย่างถูกต้อง

2.4 การทําอย่างต่อเนื่อง

2.5 การทําได้อย่างเป็นธรรมชาติ

จิตพิสัย 

        คือพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับการกระทำ ความรู้สึกนึกคิด หรือการจัดระเบียบของจิตใจ  เช่น ค่านิยม ความรู้สึก ความซาบซึ้ง ทัศนคติ ความเชื่อ ความสนใจและคุณธรรม สามารถแบ่งออกเป็น 5 ระดับ ดังนี้

3.1 การรับรู้

3.2 การตอบสนอง

3.3 เห็นคุณค่า 

3.4 การจัดระบบ 

3.5 สร้างนิสัย

        สำหรับในบทความนี้เราจะเจาะลึกไปที่ Psychomotor Domain หรือ 5 ระดับพฤติกรรมทางทักษะพิสัย ตามทฤษฎีการเรียนรู้ เบนจามิน บลูมและคณะ อย่างที่บอกไปตอนต้นแล้วว่า “ทักษะพิสัย” หรือ Psychomotor Domain เป็นพฤติกรรมที่บ่งบอกถึงความสามารถในการปฏิบัติงานได้อย่างคล่องแคล่วชํานาญ สามารถแบ่งออกเป็น 5 ระดับ โดยมีรายละเอียด ดังนี้

การเลียนแบบ

พฤติกรรมที่แสดงถึงการลอกเลียนแบบ หรือการปฏิบัติการตามแบบอย่างที่มีต้นแบบ

การทำตามแบบ

เป็นพฤติกรรมที่พยายามฝึกตามแบบที่ตนสนใจและพยายามทำซ้ำ เพื่อที่จะให้เกิดทักษะตามแบบที่ตนสนใจหรือสามารถปฏิบัติงานได้ตามข้อเสนอแนะ

การทำอย่างถูกต้อง

พฤติกรรมที่สามารถปฏิบัติได้ด้วยตนเอง โดยไม่ต้องอาศัยเครื่องชี้แนะ อย่างถูกต้องแม่นยำ ซึ่งผ่านการฝึกฝนมาแล้ว

การทำอย่างต่อเนื่อง

พฤติกรรมที่กระทำอย่างต่อเนื่องจนปฏิบัติงานที่ยุ่งยากซับซ้อน ได้อย่างรวดเร็ว คล่องแคล่ว ปฏิบัติงานหลาย ๆ สิ่งได้อย่างต่อเนื่อง ด้วยความถูกต้อง

การทำอย่างเป็นธรรมชาติ

พฤติกรรมที่ได้จากการฝึกอย่างต่อเนื่อง จนสามารถปฏิบัติได้คล่องแคล่วว่องไวโดยอัตโนมติ เป็นไปอย่างธรรมชาติ

ตัวอย่างการเขียนจุดประสงค์การสอนที่ใช้ทฤษฎีด้านทักษะพิสัยตามทฤษฎีการเรียนรู้ เบนจามิน บลูมและคณะ มาใช้

จุดประสงค์ทั่วไป

        มีเป้าหมายที่มุ่งหวังให้เด็กนักเรียนในชั้นเรียนเกิดการเรียนรู้ในแต่ละเรื่องหรือแต่ละหน่วยการเรียนรู้ ยกตัวอย่างเช่น

ปฏิบัติ…โดยเลียนแบบ

ปฏิบัติ…ด้วยตนเอง

ปฏิบัติ…ได้ถูกต้อง

ปฏิบัติ…ได้ต่อเนื่อง

ปฏิบัติ…ได้อย่างเป็นธรรมชาติ

จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม

        เป็นจุดประสงค์ที่กําหนดพฤติกรรมย่อยที่คาดหวังให้เกิดกับเด็กนักเรียนในชั้นเรียน เพื่อให้บรรลุจุดประสงค์ทั่วไป ยกตัวอย่างเช่น

พับกระดาษเหมือนครูผู้สอนได้ 

วาดภาพเหมือนได้

ต่อบล็อกได้อย่างลงล็อกพอดี 

วาดภาพพร้อมระบายสีได้อย่างต่อเนื่อง

ปั้นดินน้ำมันเป็นรูปสัตว์ที่กำหนดได้อย่างรวดเร็ว

ในการวัดและประเมินผลนั้นต้องวัดและประเมินผลให้ตรงกับจุดมุ่งหมาย หรือจุดประสงค์ของการเรียนรู้ซึ่งจะมีการพัฒนาที่แตกต่างกัน และมีการวัดและประเมินผลที่แตกต่างกัน

#สอบถาม #สั่งซื้อ #สื่อการเรียนการสอน
.
📲 m.me/rathakun11/
📲 Line ID: (ใส่ @ ข้างหน้าด้วยนะคะ )
หรือ คลิก https://bit.ly/3PpzYDC
☎️ 081-6257458 , 0896911094
รัฐกุล “ผู้ช่วยที่ดีที่สุดของคุณครูอนุบาล”

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *