5Es : การเรียนแบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้นตอน (The 5 E’s of Inquiry-Based Learning) เป็นรูปแบบการสอนรูปแบบหนึ่งที่เน้นให้ความสำคัญกับผู้เรียนเป็นหลัก โดยจะมีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามขั้นตอนการสอนแบบสืบเสาะหา ซึ่งเป็นสุดยอดกลยุทธ์ที่จะช่วยกระตุ้นให้เด็กนักเรียนสามารถเข้าใจในสิ่งที่เรียนรู้ด้วยตนเอง โดยคุณครูผู้สอนจะทำหน้าที่เป็นผู้คอยให้คำแนะนำ คอยช่วยเหลือ คอยแก้ไข และคอยสอดแทรกความรู้ที่ถูกต้องให้กับนักเรียน ซึ่งจะมีความแตกต่างจากการสอนแบบเก่า ๆ เดิม ๆ ที่คุณครูจะทำหน้าที่คอยป้อนความรู้จากตำราเป็นหลัก การสอนแบบ 5Es จะเน้นให้นักเรียนได้สืบค้น เสาะหา สำรวจ ตรวจสอบ ค้นคว้า และลงมือปฏิบัติด้วยตนเองโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์วิธีการต่าง ๆ ตามความสามารถและความถนัดของตัวเด็กอย่างเป็นอิสระ จนให้เด็ก ๆ เกิดความเข้าใจ และเกิดการรับรู้ความรู้นั้นอย่างมีความหมาย
สอนแบบนี้ เด็กเก่งชัวร์ รู้จัก 5Es การสอนแบบหาความรู้ สร้างเด็กเก่งในยุคปัจจุบัน !

ในฐานะคุณครูสามารถจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามขั้นตอนการสอนแบบสืบเสาะหา 5 ขั้นตอน โดยมีขั้นตอนในการดำเนินการดังนี้
1. Engagement สร้างความสนใจ

คุณครูผู้สอนจะต้องทำหน้าที่กระตุ้นให้เด็กนักเรียนเกิดความรู้สึกสนใจและกระตือรือร้นอยากค้นคว้าหาคำตอบ เพื่อนำเข้าสู่บทเรียนใหม่ ๆ หรือเนื้อหาใหม่ ๆ โดยคุณครูอาจจะให้เด็ก ๆ ตั้งคำถามร่วมกับเพื่อน ๆ ถามประเด็นที่สนใจ เช่น ทำไมสิ่งนี้ถึงเกิดขึ้นมา หรือ อยากเรียนรู้เรื่องอะไร ซึ่งในขั้นตอนนี้คุณครูก็จะมีโอกาสในการประเมินความรู้ที่มีอยู่ในปัจจุบัน หรือความเข้าใจเดิมของเด็ก ๆ โดยใช้การตั้งคำถามเพื่อกระตุ้นให้เด็ก ๆ อธิบายความรู้ความเข้าใจของตนออกมา
2. Exploration สำรวจและค้นหา

ในขั้นตอนนี้เด็ก ๆ จะต้องค้นหาคำตอบในประเด็นหรือคำถามที่สนใจอยากจะศึกษา โดยคุณครูผู้สอนมีหน้าที่เปิดโอกาสให้เด็ก ๆ ได้ดำเนินการศึกษาค้นคว้า ให้เด็ก ๆ ทดสอบการคาดคะเนและสมมติฐาน พร้อมพยายามหาทางเลือกในการแก้ปัญหาและอภิปรายทางเลือกเหล่านั้น เช่น ให้ค้นหาผ่านหนังสือ หรืออินเทอร์เน็ต จะได้สามารถตรวจสอบสมมติฐานและมีได้ข้อมูลอย่างเพียงพอที่จะนำไปใช้ในการอธิบายและสรุป ซึ่งคุณครูผู้สอนจะต้องสนับสนุนให้เด็ก ๆ ทำงานร่วมกัน พร้อมทั้งจะต้องพยายามซักถาม เพื่อให้เด็ก ๆ ได้อภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ซึ่งจะช่วยตรวจสอบความเข้าใจของเด็ก ๆ ได้เป็นอย่างดี ตลอดจน ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาแก่เด็ก ๆ อีกด้วย
3. Explanation อธิบายและสรุป

สำหรับในขั้นตอนนี้ เป็นการนำข้อมูลที่ได้จากการสำรวจและค้นหา มาวิเคราะห์ แปลผล สรุปผล เพื่ออธิบายแนวคิดด้วยคําพูดของตัวเด็กเอง อาจเป็นการสนับสนุนหรือโต้แย้งสมมติฐานก็ได้ โดยคุณครูผู้สอนอาจจะลองให้เด็ก ๆ เล่าให้เพื่อน ๆ ฟังว่าสิ่งที่ได้ค้นหาคืออะไร พร้อมทั้งฟังเพื่อน ๆ และตั้งคำถามในสิ่งที่เพื่อนอธิบาย และอย่าลืมให้เด็ก ๆ จดความรู้ที่ได้ไว้ด้วย ในขั้นตอนนี้คุณครูอาจจะตั้งคำถามและประเมินคำตอบของเด็ก ๆ เพื่อดูว่าเด็ก ๆ จะสามารถนำความรู้ใหม่ที่ได้มาใช้ในการวิเคราะห์แก้ไขปัญหาได้มากน้อยแค่ไหน และควรสนับสนุกให้เด็ก ๆ ได้เปรียบเทียบสิ่งที่เด็ก ๆ รู้และเข้าใจในทั้งตอนก่อนและหลังจะได้สำรวจและค้นคว้า
4. Elaboration ขยายความรู้

เป็นขั้นตอนการเชื่อมโยงความรู้ที่สร้างขึ้นเข้ากับความรู้เดิมหรือแนวคิดที่ได้ค้นคว้าเพิ่มเติม เพื่อนำความรู้และความเข้าใจที่ได้ไปปรับใช้กับสถานการณ์อื่น ๆ โดยคุณครูผู้สอนอาจจัดกิจกรรมและให้เด็ก ๆ ในชั้นเรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมนั้น ๆ เช่น ให้เด็ก ๆ นำเสนอกิจกรรมเกี่ยวกับเรื่องที่ได้ค้นหามา ว่าได้เรียนรู้อะไรบ้าง หรือได้แนวคิดอะไรบ้าง พร้อมให้ตั้งคำถามจากการศึกษาเพื่อให้เพื่อน ๆ ในชั้นเรียนร่วมกันอภิปรายและแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม ซึ่งจะเป็นการเปิดโอกาสให้เด็ก ๆ ได้ทบทวนความรู้และความเข้าใจของตนเองอีกด้วย อันจะทำให้เกิดความรู้ที่กว้างขึ้น และสามารถเชื่อมโยงความรู้เข้ากับประสบการณ์อื่น ๆ ได้มากขึ้นอีกด้วย
5. Evaluation ประเมินผล

เป็นขั้นตอนการประเมินการเรียนรู้ด้วยกระบวนการต่าง ๆ ว่ามีความรู้อะไรบ้าง รู้มากน้อยเพียงใดและนำไปประยุกต์ความรู้สู่เรื่องอื่น ๆ ได้อย่างไร เรียกได้ว่ากระบวนการสืบเสาะหาความรู้จะสามารถช่วยให้เด็ก ๆ ได้เกิดการเรียนรู้ทั้งเนื้อหาหลัก หลักการต่าง ๆ รวมไปถึงการลงมือปฏิบัติเพื่อให้ได้ความรู้ที่กว้างไกลต่อไป โดยในขั้นตอนนี้คุณครูควรตั้งคำถามปลายเปิด เกี่ยวกับเรื่องที่เด็ก ๆ สนใจ เพื่อเป็นการตรวจสอบว่าเด็ก ๆ มีความเข้าใจในสิ่งที่ได้ค้นคว้าหามาจริง ๆ และคุณครูควรจะตอกย้ำความรู้ความเข้าใจอันถูกต้องเหมาะสม เพื่อเป็นพื้นฐานในการต่อยอดการเรียนรู้ของเด็ก ๆ ในโอกาสต่อไป
การสอนแบบกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ สามารถสร้างเด็กเก่งในยุคปัจจุบันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้เด็ก ๆ สามารถนำกระบวนการเหล่านี้ไปใช้ประโยชน์สำหรับการเรียนรู้ในยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
Related posts
ประสบการณ์ยิ่งเยอะ…ยิ่งเรียนรู้ได้ไว ชวนคุณครูปฐมวัยมาดูแนวทางการจัดประสบการณ์การเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย (ตามหลักสูตรปฐมวัย พ.ศ. 2560)

หมวดหมู่
- ความรู้ครูปฐมวัย (116)
- หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย (30)
- อื่นๆ (74)
- ดาวน์โหลดเอกสาร (2)
- พัฒนาการเด็กปฐมวัย (44)
- เอกสารประเมินพัฒนาการเด็ก (14)
- โปรแกรมครูแคร์ (11)
- วิดีโอ (6)
บทความล่าสุด
- สัญญาณเริ่มต้นที่ครูควรรู้ วิธีสังเกตเด็กที่อาจมีความต้องการพิเศษ มีนาคม 7, 2025
- ศิลปะบำบัด เสริมสร้างพัฒนาการเด็กปฐมวัย เรื่องที่ครูอนุบาลไม่ควรมองข้าม มีนาคม 1, 2025
- แจกเทคนิคจัดการความเครียดในเด็กปฐมวัย! ครูอนุบาลต้องรู้ไว้ รับรองเด็กๆ ผ่อนคลายและพร้อมเรียนรู้ กุมภาพันธ์ 20, 2025
- รู้หรือไม่ ความฉลาดทางอารมณ์ของเด็ก เริ่มต้นจากครูอนุบาล กุมภาพันธ์ 14, 2025
- การจัดการกับความหลากหลายทางวัฒนธรรมในห้องเรียนปฐมวัย มกราคม 23, 2025
บทความแนะนำ
-
สัญญาณเริ่มต้นที่ครูควรรู้ วิธีสังเกตเด็กที่อาจมีความต้องการพิเศษ
มีนาคม 7, 2025 -
การจัดประสบการณ์เพื่อการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย
มิถุนายน 6, 2018 -
การให้ความช่วยเหลือเด็กที่มีปัญหาพฤติกรรม
มิถุนายน 6, 2018 -
วิธีฟื้นคืนเด็กพิเศษให้ปกติด้วยการศึกษา
มิถุนายน 6, 2018 -
เสริมสร้างพัฒนาการเด็กอย่างไรให้โตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ!
มิถุนายน 6, 2018