6 เทคนิคการรับมือกับพฤติกรรมเด็กปฐมวัย

ครูคือผู้นำทางชีวิต

ครูคือผู้ยกดวงจิตให้สูงค่า

ครูคือผู้ให้วิชา

ครูคือผู้นำพาศิษย์ก้าวไกล

คุณครูอนุบาล ถือเป็นบุคคลที่มีบทบาทอันสำคัญอย่างมากต่อชีวิตของเด็กคนหนึ่งที่เพิ่งเติบโตและใช้ชีวิตบนโลกนี้มาได้แค่ 3 – 6 ปี ซึ่งวัยนี้ถือเป็นช่วงวัยที่สำคัญที่สุดของการพัฒนาการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วอันจะเป็นพื้นฐานสำคัญของการพัฒนาในช่วงวัยอื่น ๆ เพื่อให้เติบโตไปเป็นบุคคลที่มีคุณภาพคนหนึ่งของสังคม

คุณครูอนุบาล ถือเป็นบุคคลที่อยู่ดูแลเด็ก ๆ อย่างใกล้ชิด รองจากพ่อแม่ผู้ปกครอง เพราะเมื่อเด็ก ๆ ถึงวัยที่ต้องเข้าโรงเรียนแล้วก็จำเป็นต้องมาใช้ชีวิตที่โรงเรียนมากกว่าที่บ้าน เพราะฉะนั้นบทบาทและพฤติกรรมของคุณครูจะส่งผลไปยังพฤติกรรมของเด็ก ๆ ด้วย

แต่ในบางครั้งแม้ว่าคุณครูจะพยายามแสดงพฤติกรรมที่ดีต่อหน้าเด็ก ๆ เพื่อให้เด็ก ๆ ได้มีการซึมซับ เรียนรู้ และยึดเป็นต้นแบบที่ดีแล้วก็ตาม ก็ยังพบว่าเด็กบางคนอาจยังมีพฤติกรรมที่เป็นปัญหาหรือพฤติกรรมเบี่ยงเบนจากปกติ ซึ่งการจะนับว่าเด็กมีพฤติกรรมที่เป็นปัญหาหรือไม่นั้นจะต้องเกิดขึ้นบ่อยครั้ง เป็นระยะเวลาต่อเนื่อง และส่งผลกระทบต่อพัฒนาการและการเรียนรู้ โดยพฤติกรรมที่เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นในเด็กปฐมวัยย่อมเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุด้วยกัน คุณครูอนุบาลจึงต้องเป็นผู้ที่มีหน้าที่ในการดูแล และสอดส่องพฤติกรรมของเด็ก ๆ หากพบว่าเด็กคนใดมีปัญหา ก็ต้องหาทางแก้ไข พร้อมทั้งหารือกับผู้ปกครองในการหาทางออก ก็จะสามารถแก้ไขพฤติกรรมที่เป็นปัญหาของเด็ก ๆ ได้อย่างทันท่วงที

โดยการพิจารณาว่าเด็กมีปัญหาพฤติกรรม หรือมีพฤติกรรมที่แสดงออกผิดไปจากปกติหรือไม่นั้น   สามารถพิจารณาได้ ดังนี้  

1. จะต้องมีลักษณะพฤติกรรมที่แตกต่างไปจากการแสดงออกของเด็กส่วนใหญ่ในช่วงวัยเดียวกัน

2. พฤติกรรมที่จัดว่ามีปัญหานั้นจะต้องมีความถี่ ระยะเวลา และความรุนแรงของการเกิดพฤติกรรมจนเป็นอันตราย ต่อตัวเด็กเองและผู้อื่น 

3. พฤติกรรมที่เกิดขึ้นนั้นจะส่งผลกระทบในด้านลบต่อชีวิตของเด็ก และทำให้เด็กสูญเสียโอกาสต่าง ๆ ในสังคม 

4. พฤติกรรมที่เกิดขึ้นนั้นจะไปขัดขวางพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็ก  

5. พฤติกรรมที่เกิดขึ้นนั้นจะทำให้เด็กไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับผู้อื่นในสังคมได้   

ตัวอย่างของพฤติกรรมที่เป็นปัญหา เช่น เด็กพูดช้า เด็กพูดติดอ่าง เด็กเล่นอวัยวะเพศ เด็กกัดเล็บดูดนิ้ว เด็กมีปัญหาในการกินอาหาร มีปัญหาการนอน มีปัญหาการขับถ่าย มีปัญหาปัสสาวะรดที่นอน เด็กอยู่ไม่นิ่งขาดสมาธิ เด็กเข้ากับเพื่อนไม่ได้ เด็กร้องอาละวาด เป็นต้น

โดยปกติแล้วหน้าที่การประเมินพัฒนาการการเรียนรู้และพฤติกรรมของเด็กอนุบาล เป็นสิ่งที่คุณครูปฐมวัยพึงกระทำอยู่แล้ว หากผลการประเมินพบว่าเด็กคนใดมีปัญหา ก็ต้องเป็นหน้าที่ของคุณครูผู้สอนที่จะช่วยเหลือเด็กที่มีปัญหาพฤติกรรม โดยมีแนวทาง ดังต่อไปนี้

เทคนิคที่ 1 การรับมือกับพฤติกรรมเด็กปฐมวัย

1. ควรหาสาเหตุที่เกิดปัญหาพฤติกรรมอย่างถี่ถ้วนและไม่ด่วนสรุป 

เทคนิคที่ 2 การรับมือกับพฤติกรรมเด็กปฐมวัย

2. จะต้องพยายามทำความเข้าใจในปัญหาพฤติกรรมของเด็กร่วมกับพ่อแม่ผู้ปกครอง เพื่อหาสาเหตุ และ   หาแนวทางช่วยเหลือ แก้ไขพฤติกรรมที่เป็นปัญหาร่วมกัน

                      

เทคนิคที่ 3 การรับมือกับพฤติกรรมเด็กปฐมวัย

3. ประสานความร่วมมือกับพ่อแม่ผู้ปกครอง หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องในการช่วยเหลือเด็กอย่างถูกต้องและเหมาะสม 

เทคนิคที่ 4 การรับมือกับพฤติกรรมเด็กปฐมวัย

4. ควรใช้หลักการปรับพฤติกรรมที่เหมาะสมกับปัญหาพฤติกรรมที่เกิดขึ้น  ได้แก่ การปรับสภาพแวดล้อม การเบี่ยงเบนความสนใจ การชี้แนะ การเป็นแบบอย่างที่ดี การแยกให้อยู่ตามลำพังชั่วคราว การให้คำชมเชยผ่านทางคำพูดหรือการแสดงออกทางสีหน้า ท่าทาง รวมไปถึงการลงโทษ  เป็นต้น

เทคนิคที่ 5 การรับมือกับพฤติกรรมเด็กปฐมวัย

5. เสริมสร้างทัศนคติที่ดีและเป็นกำลังใจให้กับเด็กที่มีปัญหาอย่างเต็มที่ เช่น หากเด็กคนหนึ่งมีปัญหาในเรื่องไม่มีความมั่นใจในตนเองง คุณครูก็ควรจะเปิดโอกาสให้เด็ก ๆ ได้แสดงออกหรือแสดงความคิดเห็น และมอบคำชมเชยเพื่อเสริมสร้างความมั่นใจให้กับเด็ก ซึ่งจะสามารถทำให้เด็กมีความมั่นใจมากขึ้น อันจะช่วยให้เด็กมีความสุขในการใช้ชีวิตมากขึ้น 

เทคนิคที่ 5 การรับมือกับพฤติกรรมเด็กปฐมวัย

6. กรณีเด็กมีปัญหาพฤติกรรมที่รุนแรงซึ่งพ่อแม่ ผู้ปกครอง หรือผู้สอน ไม่สามารถให้การช่วยเหลือหรือแก้ไขพฤติกรรมนั้น ๆ ได้ ควรพาเด็กไปปรึกษาผู้เชี่ยวชาญหรือแพทย์เพื่อให้เกิดการแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสมที่สุด

เทคนิคที่ 6 การรับมือกับพฤติกรรมเด็กปฐมวัย


เอกสารประเมินพัฒนาเด็กระดับปฐมวัย  ถือว่ามีประโยชน์อย่างมากที่จะช่วยอำนวยความสะดวกให้คุณครูสามารถประเมินพฤติกรรมของได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถช่วยให้เช็กได้ว่าเด็กมีจุดด้อยตรงส่วนไหนเป็นพิเศษ ซึ่งจะทำให้การช่วยเหลือด้านพฤติกรรมและพัฒนาการในระดับปฐมวัยนั้นเป็นไปได้อย่างง่ายขึ้น    

หากสนใจแบบประเมินพัฒนาการเด็กที่ได้มาตรฐาน กรอกและสรุปผลง่าย

สามารถติดต่อได้ที่
โทร 081-6257458 / 089-6911094
Line @rathakun11 Fax 043-340335
Email  rathakun11@gmail.com
รัฐกุล ผู้ช่วยที่ดีที่สุดของครูอนุบาล 

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *