หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย หมายถึง หลักสูตรการศึกษาสำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 3 ปี ที่มีเป้าหมายคือทำให้เด็กสามารถมีพัฒนาการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับสังคมในปัจจุบัน พร้อมพัฒนาทางด้านอื่น ๆ เช่น ร่างกาย จิตใจ และ สติปัญญา เพื่อเป็นการเตรียมให้ตัวเด็กพร้อมแก่การเจริญเติบโตและเรียนรู้สู่ขั้นถัดไป 

 

โดยวันนี้ทางเราได้ยกแนวคิดหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย ฉบับปี พ.ศ.2560 มาให้ทุกคนได้ปรับไปใช้ ให้ตรงกับสังคมและตัวเด็ก หลักสูตรนี้จะพัฒนาจากหลักสูตรก่อนหน้าอย่างไรบ้าง สามารถอ่านเพื่อทำความเข้าใจได้ในบทความนี้ 

 

แนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาการของเด็ก

 

สำหรับด้านการพัฒนาของเด็กในหลักสูตรนี้ จะมุ่งเน้นไปที่การพัฒนาทางด้าน ร่างกาย จิตใจ สังคม และ สติปัญญาของตัวเด็ก ซึ่งทั้งนี้ในการนำหลักสูตรเข้ามาปรับใช้จะต้องสัมพันธ์กับตัวเด็ก สภาพแวดล้อม และตัวผู้ปกครอง 

 

แนวคิดเกี่ยวกับพัฒนาเด็กโดยองค์รวมและการปฏิบัติที่เหมาะสม 

 

ตรงจุดนี้จะต้องคำนึงถึงความสมดุลและการพัฒนาการอย่างครอบคลุม โดยจะต้องหมั่นดูถึงพัฒนาการของเด็กว่ามีความก้าวหน้าหรือไม่ ทั้งนี้ผู้สอนก็ต้องคอยสังเกตว่าการสอนเพื่อพัฒนาเด็กของตนเป็นไปในทางที่ดี มีการปรับปรุงพัฒนาให้เข้ากับความสนใจของเด็กหรือไม่ โดยการปรับปรุงต้องอยู่ในเกณฑ์การสอนที่เหมาะสม และสอดคล้องกับตัวเด็กนั่นเอง 

 

แนวคิดการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับการทำงานของสมอง 

 

การกระตุ้นสมองที่สำคัญ จะต้องเน้นการลงมือทำ เน้นประสบการณ์ เพื่อให้เด็กได้ฝึกและลับประสาทสัมผัสทั้ง 5 ให้คม โดยตัวผู้สอนอาจจะหาสื่อการเรียนรู้ที่ทำให้เด็กได้ร่วมทำกิจกรรมมาส่งเสริมให้เด็กสนใจยิ่งขึ้น เพื่อประโยชน์ของการพัฒนาสมองและความรู้แก่ตัวเด็ก 

 

แนวคิดเกี่ยวกับการเล่นและการเรียนของเด็ก 

 

เป็นที่รู้กันดีกว่า ‘การเล่น’ เป็นสิ่งที่เปรียบเสมือนหัวใจในการเรียนรู้ของเด็ก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเด็กปฐมวัยนั้น ‘การเล่น’ ก็คือ ‘ประสบการณ์’ ที่เด็กได้เจอในแต่ละวัน ดังนั้นการเล่นของเด็กในช่วงนี้ก็ควรจะเป็นการเล่นที่ทำให้เด็กได้สามารถพัฒนาการเรียนรู้ได้ ผู้สอนอาจจะต้องหาการเล่นที่สร้างความสนุกและสร้างการเรียนรู้ให้เด็ก หรืออาจจะหาสิ่งรอบตัวเด็กมาสร้างการเรียนรู้ ให้เด็กได้รู้จักสิ่งต่าง ๆ ได้มากกว่าเดิม ซึ่งตรงนี้ต้องทำให้เด็กได้ลงมือทำจริง ๆ เพื่อให้เขาได้คิดและเรียนรู้ได้ด้วยตัวเอง 

 

แนวคิดการคำนึงสิทธิของเด็ก การสร้างคุณค่าและสุขภาวะของเด็ก

เด็กทุกคนล้วนมีสิทธิเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพ และเด็กทุกคนล้วนมีคุณค่าเป็นของตัวเอง ดังนั้นผู้สอนจึงควรสร้างให้เด็กรู้ถึงคุณค่าในชีวิตของตนเอง ผ่านการอบรมบ่มสอน นอกจากนี้ควรที่จะเสริมสร้างสุขภาวะ ทั้งทางด้านร่างกาย และจิตใจ สังคม และปัญญา ให้เขารู้สึกคิดบวกในแง่ของทางด้านจิตใจ ให้เขาเรียนรู้กับสังคมที่เหมาะสมกับวัยวุฒิของเขา รวมไปถึงเสริมสร้างสติปัญญาด้วยการศึกษาที่เขามีสิทธิเข้าถึง และการเสริมสร้างด้านสุขภาพของเด็ก เพียงเท่านี้ก็จะเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เด็กได้รู้จักการสร้างคุณค่าของตัวเองในวัยของเขา โดยมีเราผู้ซึ่งเป็นผู้สอนช่วยซัพพอร์ต 

 

การเจริญเติบโตของเด็ก ผู้สอนในช่วงปฐมวัยก็มีผลต่อตัวพวกเขาเป็นอย่างมาก ดังนั้นในการส่งเสริมพัฒนาการของเขา เราจึงต้องใส่ใจทุกขั้นตอน และใส่ใจถึงพัฒนาการทุกด้าน เพื่อให้เด็กได้โตขึ้นมาและพร้อมที่จะเข้าถึงการศึกษาเรียนรู้ในขั้นต่อไป เพราะเหตุนี้จึงต้องมี “หลักสูตรปฐมวัย” ฉบับ ปี พ.ศ. 2560 ขึ้นมา เพื่อเป็นแนวทางให้ผู้สอนได้ใช้ปฏิบัติต่อเด็กนั่นเอง 

 

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *