4 เทคนิค สอนเด็กให้เป็น “ผู้ฟัง” จากวิทยาศาสตร์แห่งการฟัง

การฟัง” เป็นขั้นตอนที่สำคัญมากของการสื่อสาร เรียกได้ว่ามีความสำคัญเทียบเท่ากับการทักษะด้านการพูด อ่าน เขียน การฟังอย่างเข้าใจจะนำไปสู่การคิด วิเคราะห์ แยกแยะ ทำให้สามารถจับใจความสำคัญของเรื่องราวที่ผู้พูดกำลังสื่อสารออกมาได้อย่างถูกจุดและตรงประเด็น

แต่ ! น่าเสียดายที่ผู้ใหญ่หลาย ๆ คน ทั้งพ่อ แม่ ผู้ปกครอง รวมไปถึงคุณครู ไม่ได้ให้ความสำคัญกับทักษะ “การฟัง” เอาซะเลย เพราะทุกครั้งพูดถึงทักษะการเรียนรู้ของเด็ก ๆ ผู้คนส่วนใหญ่มักจะไปให้ความสำคัญกับ “ทักษะการคิด” เพราะคิดว่าเป็นทักษะที่สำคัญที่สุดในการนำไปสู่การสอบให้ได้คะแนนดี มีความสำเร็จในชีวิต และคิดว่า “ทักษะการฟัง” เป็นทักษะที่จะสามารถพัฒนาได้เองตามธรรมชาติ ใคร ๆ ก็มักจะคิดว่าเหล่าเด็ก ๆ ทั้งหลาย ฟังกันเป็นอยู่แล้ว

ทั้ง ๆ ความจริงแล้ว “ทักษะการฟัง” เป็นทักษะที่ต้องผ่านการฝึกฝนเหมือนกับทักษะการพูด อ่าน เขียน คิดวิเคราะห์ ไม่เช่นนั้นก็คงไม่เกิดสำนวน ‘ฟังไม่ได้ศัพท์จับไปกระเดียด’ ขึ้นมา หากจะบอกว่าการฟังเป็นทักษะที่ไม่จำเป็นต้องฝึกฝน ใคร ๆ ก็ฟังได้ ฟังรู้เรื่อง แต่ทำไมแม้กับผู้ใหญ่ หลายครั้งก็ฟังไม่เป็น มีงานวิจัยศึกษาจากกลุ่มผู้ฟังจำนวน 100 คน พบว่ามีเพียง 10 คนเท่านั้นที่มีทักษะด้านการฟังที่ดี โดยกลุ่มคนตัวอย่างที่เหลือ 90 คนนั้นไม่สามารถบอกได้ว่า การฟังอย่างมีไหวพริบ การฟังอย่างเป็นระบบ หรือการฟังอย่างตรงประเด็นนั้นเป็นอย่างไร

ดอนนา วิลสัน (Donna Wilson) นักพูด นักเขียน นักจิตวิทยา ผู้เชี่ยวชาญด้านประสาทสมองที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาศักยภาพด้านการศึกษา เป็นผู้ที่ได้เขียนบทความเรื่อง Training the Brain to Listen: A Practical Strategy for Student Learning and Classroom Management (ฝึกสมองเพื่อการฟัง: กลยุทธ์ที่ใช้ได้จริงสำหรับพัฒนาการเรียนรู้และการจัดการห้องเรียน) โดยได้อธิบายถึงทักษะการฟังว่า

การ ‘ฟัง’ ที่มีคุณภาพไม่ใช่แค่ฟังเพื่อได้ยินและโต้ตอบ แต่คือ ‘ทักษะ’ ที่ต้องฝึกฝน เด็กๆ จะคิดได้อย่างไรถ้าพวกเขาฟังไม่เป็น ไม่ใช่แค่ฟังคนอื่น แต่ฟังเสียงในหัวของตัวเอง เพื่อรับรู้และใคร่ครวญ หรือที่เรียกว่า self-talk ด้วย

ในฐานะคุณครูปฐมวัยที่ดีจึงต้องทำหน้าที่ช่วยฝึกฝน เสริมสร้าง ทักษะการฟังให้กับเด็ก ๆ อนุบาล ยิ่งฝึกได้เร็วเท่าไหร่ ยิ่งดีต่อตัวเด็กอนุบาลมากขึ้นเท่านั้น เพราะในช่วงปฐมวัย โดยเฉพาะในอายุ 2-7 ขวบ เป็นวัยที่จะพัฒนาทักษะการฟังได้อย่างรวดเร็ว หากไม่รีบฝึกตั้งแต่ตอนนี้ คงจะน่าเสียดายแย่ ที่ปล่อยให้ช่วงเวลาอันมีค่าต้องผ่านพ้นไปโดยที่ไม่สามารถเรียกกลับคืนมาได้

การที่คุณครูอนุบาลได้พยายามปลูกฝังทักษะการฟังให้กับเด็กปฐมวัยจะทำให้เด็กเพิ่มพูนคำศัพท์และยังกระตุ้นให้เด็กใช้จินตนาการจากการฟังได้ดี มีสมาธิจดจ่อแน่วแน่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง กระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

บอกต่อ ! กลยุทธ์ฝึกฟังตามสไตล์ของดอนนา วิลสัน กับ 4 เทคนิค สอนเด็กให้เป็น “ผู้ฟัง” จากวิทยาศาสตร์แห่งการฟัง

Halt : หยุด

Halt : หยุด

Engage : สนใจ

Engage : สนใจ

Anticipate : คาดเดา

Anticipate : คาดเดา

Replay : ทบทวน

Replay : ทบทวน

หากคุณครูปฐมวัยนำเทคนิคเหล่านี้ไปใช้กับการสอนเด็กในชั้นปฐมวัย จะช่วยพัฒนาทักษะการฟังเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ในห้องเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ทริคเพิ่มเติม : คุณครูปฐมวัยสามารถย้ำให้เด็ก ๆ อนุบาลรู้ว่าพวกเขาสามารถเลือกหยิบวิธีฟังนี้ไปปรับใช้กับช่วงเวลาที่เหมาะได้ตามสะดวกเลย

เรื่องราวดี ๆ สำหรับคุณครูปฐมวัยมีได้ที่ “รัฐกุล” เราคือ ผู้ช่วยคุณครูปฐมวัย
ที่จะทำให้ชีวิตคุณครูง่ายขึ้นด้วยบริการอันหลากหลายเพื่อให้การทำงานของคุณครูปฐมวัยสะดวกสบายที่สุด

– โปรแกรมครูแคร์
– บัญชีเรียกชื่อ และบันทึกผลการประเมินพัฒนาการ อ.02 หรือ ศพด. 02
– สมุดรายงานประจำตัวเด็กปฐมวัย อ.01 หรือ ศพด.01

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่…
📲 m.me/rathakun11/
📲 Line ID: @rathakun11 (ใส่ @ ข้างหน้าด้วยนะคะ )
หรือ คลิก https://bit.ly/3PpzYDC
☎️ 081-6257458 , 0896911094

ที่มาของข้อมูล : วิชาฝึกฟัง: อยากให้เด็ก ‘คิด’ เป็น แต่ไม่เคยสอนให้ ‘ฟัง’ เป็น

รัฐกุล” เราคือ ผู้ช่วยคุณครูปฐมวัย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *