เหล่าเด็กน้อยทั้งหลายอยู่ในอ้อมอกพ่อแม่ผู้ปกครองตลอดเวลาได้ไม่นาน เมื่อถึงวัยอันสมควรก็ต้องห่างลาอ้อมอกนั้นออกมาสู่โลกใบเล็ก ๆ ใบใหม่ที่กว้างขึ้น ซึ่งโลกใบใหม่นี้จะเป็นที่ไหนได้อีก ถ้าไม่ใช่ “โรงเรียน” สถานศึกษาที่จะช่วยส่งเสริมพัฒนาการ มอบความรู้ และขัดเกลาพฤติกรรมให้กับเด็ก ๆ แต่ละคนนั่นเอง
เด็กน้อยเหล่านี้จะถูกเรียกว่า “เด็กอนุบาล” หรือ “เด็กปฐมวัย” ซึ่งต้องการการอบรมเลี้ยงดูมากเป็นพิเศษ และต้องการการพัฒนาทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และสติปัญญา โดยจะผ่านการเรียนรู้จากสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัว การอบรมปลูกฝังรวมไปถึงการสร้างเสริมพัฒนาการทุกด้านให้แก่เด็กปฐมวัยได้เจริญเติบโตเต็มศักยภาพในช่วงอายุนี้จะเป็นรากฐานที่ดีสำหรับการเติบโตต่อไปในอนาคต โดย “เด็กปฐมวัย” จะต้องมี “คุณครูปฐมวัย” เป็นผู้เกี่ยวข้อง ดูแล และส่งเสริมพัฒนาการเด็กให้พัฒนาไปตามเป้าหมายอย่างที่ควรจะเป็น
“คุณครูปฐมวัย” ถือได้ว่ามีบทบาทหรือเรียกได้ว่ามีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยในทุก ๆ ด้าน เพราะจะต้องคอยหล่อหลอม ขัดเกลา คุณลักษณะที่พึงประสงค์ให้แก่เด็ก เป็นผู้ที่ใกล้ชิดกับเด็กรองจากพ่อแม่และผู้ปกครอง บุคลิกภาพ พฤติกรรม การปฏิบัติต่าง ๆขอคุณครูปฐมวัยจะเป็นต้นแบบการเรียนรู้ที่ดีของเด็กซึ่งมาจากสภาพแวดล้อมเด็กที่แตกต่างกัน
ลักษณะและคุณสมบัติที่ดีของ “คุณครูปฐมวัย” ตามจรรยาบรรณครู 9 ประการ มีดังนี้
1. ครูต้องรักและเมตตาศิษย์โดยเอาใจใส่ช่วยเหลือหรือส่งเสริมให้กำลังใจในการศึกษาเล่าเรียนแก่ศิษย์โดยเสมอหน้า
2. ครูต้องอบรมสั่งสอน ฝึกฝน สร้างเสริมความรู้ ทักษะและนิสัยที่ถูกต้องดีงามให้แก่ศิษย์อย่างเต็มความสามารถ ด้วยความบริสุทธิ์ใจ
3. ครูต้องประพฤติ ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์ทั้งทางกาย วาจา และใจ
4. ครูต้องไม่กระทำตนเป็นปฏิปักษ์ต่อความเจริญทางกาย สติปัญญา จิตใจ อารมณ์
และสังคมของศิษย์
5. ครูต้องไม่แสวงหาผลประโยชน์อันเป็นอามิสสินจ้างจากศิษย์ในการปฏิบัติหน้าที่
ตามปกติ และไม่ใช้ศิษย์กระทำการใดๆ อันเป็นการหาประโยชน์ให้แก่ตนโดยมิชอบ
6. ครูย่อมพัฒนาตนเองทั้งในด้านวิชาชีพด้านบุคลิกภาพและวิสัยทัศน์ให้ทันต่อการพัฒนาทางวิทยาการ เศรษฐกิจ สังคม และการเมืองอยู่เสมอ
7. ครูย่อมรักและศรัทธาในวิชาชีพครูและเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรวิชาชีพครู
8. ครูพึงช่วยเหลือเกื้อกูลครูและชุมชนในทางสร้างสรรค์
9. ครูพึงประพฤติ ปฏิบัติตน เป็นผู้นำการอนุรักษ์ และพัฒนาภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทย
หน้าที่ของคุณครูปฐมวัย…บทบาทที่ยิ่งใหญ่ เป็นมากกว่าอาชีพ
คุณครูปฐมวัยมีบทบาทหน้าที่ ดังนี้
1. บทบาทในฐานะผู้บริหารหลักสูตร
– ทำหน้าที่วางแผน จัดทำหลักสูตร และพัฒนาหลักสูตร
– จัดทำแผนการจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ ให้เด็กมีอิสระในการเรียนรู้
– ประเมินผลการใช้หลักสูตร เพื่อนำผลการประเมินมาปรับปรุงพัฒนาหลักสูตรให้ทันสมัยสอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน ชุมชน และท้องถิ่น
2. บทบาทในฐานะผู้เสริมสร้างการเรียนรู้
– จัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่เด็กกำหนดขึ้นด้วยตัวเด็กเอง และผู้สอนกับเด็กร่วมกันกำหนด เพื่อพัฒนาเด็กให้ครอบคลุมทุกด้าน
– จัดประสบการณ์กระตุ้นให้เด็กร่วมคิด แก้ปัญหา ค้นคว้าหาคาตอบด้วยตนเอง ด้วยวิธีการศึกษาที่นำไปสู่การใฝ่รู้ และพัฒนาตนเอง
– จัดสภาพแวดล้อมและสร้างบรรยากาศการเรียนที่สร้างเสริมให้เด็กได้แสดงศักยภาพและความสามารถของเด็กแต่ละคน
– สอดแทรกการอบรมด้านจริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์ในกิจกรรมต่าง ๆ อย่างสม่ำเสมอ
– จัดกิจกรรมการเล่น ที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้สิ่งแวดล้อม ตลอดจนมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น และเรียนรู้วิธีการแก้ปัญหาข้อขัดแย้งต่าง ๆ
3. บทบาทในฐานะผู้ดูแลเด็ก
– สังเกตและส่งเสริมพัฒนาการเด็กทุกด้านทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคมและสติปัญญา
– ฝึกให้เด็กช่วยเหลือตนเองในชีวิตประจำวัน
– ฝึกให้เด็กมีความเชื่อมั่น มีความภูมิใจในตนเองและกล้าแสดงออก
– ฝึกการเรียนรู้หน้าที่ ความมีวินัย และการมีนิสัยที่ดี
– จำแนกพฤติกรรมเด็กและสร้างเสริมลักษณะนิสัยและแก้ปัญหาเฉพาะบุคคล
– ประสานความร่วมมือระหว่างสถานศึกษา บ้าน และชุมชน เพื่อให้เด็กได้พัฒนาเต็มตามศักยภาพและมีมาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์
4. บทบาทในฐานะนักพัฒนาเทคโนโลยีการสอน
– นำนวัตกรรม เทคโนโลยีทางการสอนมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับสภาพบริบทสังคม ชุมชน และท้องถิ่น
– ใช้เทคโนโลยีและแหล่งเรียนรู้ในชุมชนในการเสริมสร้างการเรียนรู้ให้แก่เด็ก
– จัดทำวิจัยในชั้นเรียน เพื่อนาไปปรับปรุงพัฒนาหลักสูตร และพัฒนาสื่อการเรียนรู้
– พัฒนาตนเองให้เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ มีคุณลักษณะของผู้ใฝ่รู้ มีวิสัยทัศน์และทันสมัยทันเหตุการณ์ในยุคของข้อมูลข่าวสาร
การพัฒนาชีวิตคนคนหนึ่งต้องเริ่มจากพื้นฐานที่ดีตั้งแต่ช่วงปฐมวัย จึงเป็นหน้าที่สำคัญของคุณครูปฐมวัยที่จะต้องเข้าใจลักษณะและธรรมชาติของเด็กปฐมวัยเป็นอย่างดี เพื่อที่สามารถจัดประสบการณ์ให้กับเด็กได้อย่างเหมาะสมกับธรรมชาติของเด็กละคน อันจะทําให้พัฒนาการของเด็กปฐมเป็นไปตามเป้าหมายและตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ได้
Related posts
ประสบการณ์ยิ่งเยอะ…ยิ่งเรียนรู้ได้ไว ชวนคุณครูปฐมวัยมาดูแนวทางการจัดประสบการณ์การเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย (ตามหลักสูตรปฐมวัย พ.ศ. 2560)
หมวดหมู่
- ความรู้ครูปฐมวัย (108)
- หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย (30)
- อื่นๆ (66)
- ดาวน์โหลดเอกสาร (2)
- พัฒนาการเด็กปฐมวัย (44)
- เอกสารประเมินพัฒนาการเด็ก (14)
- โปรแกรมครูแคร์ (11)
- วิดีโอ (6)
บทความล่าสุด
- 5 เทคนิคเด็ดสำหรับครูและพ่อแม่ เพิ่มทักษะอารมณ์และสังคมให้เด็กปฐมวัย กันยายน 23, 2024
- เคล็ดลับการเตรียมเด็กอนุบาลให้พร้อมสำหรับวันแรกของโรงเรียน กันยายน 22, 2024
- การสร้างสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่เป็นมิตรและปลอดภัยของเด็กปฐมวัย กันยายน 17, 2024
- เปลี่ยนเด็กดื้อเป็นเด็กดี ด้วยวิธีรับมือแบบคุณครูมืออาชีพ กรกฎาคม 1, 2024
- รับมือเด็ก Gen Alpha เรื่องนี้ คุณครูต้องรู้ มิถุนายน 10, 2024
บทความแนะนำ
-
5 เทคนิคเด็ดสำหรับครูและพ่อแม่ เพิ่มทักษะอารมณ์และสังคมให้เด็กปฐมวัย
กันยายน 23, 2024 -
การจัดประสบการณ์เพื่อการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย
มิถุนายน 6, 2018 -
การให้ความช่วยเหลือเด็กที่มีปัญหาพฤติกรรม
มิถุนายน 6, 2018 -
วิธีฟื้นคืนเด็กพิเศษให้ปกติด้วยการศึกษา
มิถุนายน 6, 2018 -
เสริมสร้างพัฒนาการเด็กอย่างไรให้โตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ!
มิถุนายน 6, 2018