สำหรับใน “เด็กวัยอนุบาล” ถือเป็นช่วงเวลาสำคัญที่ร่างกายและสมองกำลังเจริญเติบโต โดยในช่วงวัยนี้ เด็กจะมีโอกาสเรียนรู้จากการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น การสัมผัส รวมไปถึงได้เรียนรู้จากการเคลื่อนไหว การเล่น การลงมือทำ การได้สำรวจ ทดลอง ค้นพบสิ่งใหม่ ๆ ซึ่งเด็ก ๆ อนุบาล จะได้มีโอกาสคิดแก้ปัญหา ตัดสินใจ และเลือกสิ่ง ๆ ต่างด้วยตนเอง

และเพื่อเป็นการช่วยส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยสามารถเติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพต่อไปในอนาคต สิ่งแรกที่คุณครูอนุบาลจะต้องทำความเข้าใจก็คือต้องรู้ว่าลักษณะธรรมชาติพิเศษของเด็กในวัยนี้เป็นอย่างไรบ้าง ?
ธรรมชาติของเด็กปฐมวัยแบ่งตามด้านต่าง ๆ

➤ ด้านร่างกาย
- เติบโตเร็ว เคลื่อนไหวว่องไว มักจะมีเคลื่อนไหวแทบตลอดเวลา เพราะเด็กกำลังตื่นเต้นในการเล่นสิ่งต่าง ๆ
- ชอบถือของเล่นติดมือ เพื่อเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ไปพร้อม ๆ กับการเล่น
- ชอบเต้นและร้องเพลง และยังเป็นวัยที่ชอบเลียนแบบ เต้นตาม ร้องเพลงตาม

➤ ด้านจิตใจและอารมณ์
- ช่างฝัน แยกไม่ออก เรื่องใดจริง เรื่องใดไม่จริง คุณครูจึงควรอธิบายให้เด็ก ๆ รู้และเข้าใจอย่างถูกต้อง เด็กจะได้ไม่เข้าใจผิดหรือฝังใจกลัวกับเหตุการณ์บางเหตุการณ์
- ชอบฟังเรื่องซ้ำ ๆ โดยเด็กอนุบาลมักมีความสนใจสั้น ๆ เพียง 5-10 นาที
- เรียนรู้คำศัพท์แบบจำกัด คุณครูจึงควรตอบคำถามของเด็กด้วยความรู้สึกยินดีและเต็มใจ เพื่อไม่ให้ส่งผลเสียต่อการเรียนรู้และจิตใจ

➤ ด้านการเข้าสังคม
- เริ่มมีกลุ่มเพื่อน ชอบเล่นสนุกกับเด็ก ๆ ในวัยเดียวกัน
- ขี้อาย มักจะเขินอายผู้ใหญ่และคนแปลกหน้า
- ชอบให้พ่อแม่และครูสนใจในตัวเขา
- ชอบช่วยเหลือ แสดงออกว่าอยากช่วยเหลือเพื่อน ๆ พ่อแม่ และคุณครู

➤ ด้านจิตวิญญาณ
- เริ่มโกหก เพราะลืมหรือกลัวถูกลงโทษ ต้องพยายามค่อย ๆ ฝึกและปรับพฤติกรรมของเด็กอนุบาลให้ดี พร้อมสอนว่าการโกหกเป็นสิ่งไม่ดี
- เชื่อคนง่าย คุณครูจึงไม่ควรหลอกเด็กเพื่อให้กลัวบางสิ่งที่ไม่เป็นความจริง เพราะจะกระทบต่อความเชื่อและจิตวิญญาณของเด็กเอง
- สามารถเข้าใจได้ว่าการอธิษฐาน คือ การพูดกับพระเจ้า คุณครูจึงต้องสอนเด็กเกี่ยวกับความเชื่ออย่างถูกต้องและเหมาะสม

ธรรมชาติของเด็กปฐมวัยแบ่งตามอายุ
➤ เด็กวัย 3-4 ปี
เป็นวัยที่ช่างถาม ช่างสงสัย ช่างสังเกต ช่างสำรวจ รวมไปถึงช่างเลียนแบบ ชอบเรียนรู้สิ่งแวดล้อมรอบตัวจากประสบการณ์ตรง และชอบทำอะไรซ้ำ ๆ ในสิ่งที่ชอบ ตื่นเต้นกับสิ่งแปลกใหม่ ยังเอาแต่ใจตนเองบ้าง สามารถดูแลตนเองผ่านกิจวัตรประจำวันได้บ้างแล้ว การทรงตัวดีขึ้น เคลื่อนไหวได้คล่องขึ้น ชอบการเล่นที่ต้องใช้มือและนิ้ว เช่น วาดภาพระบายสี ปั้น พิมพ์ เริ่มเข้ากลุ่มและเล่นร่วมกับผู้อื่น เริ่มรู้จักการแบ่งปันและอดทนรอคอยได้นานขึ้น
➤ เด็กวัย 4-5 ปี
เป็นวัยที่มีความเชื่อมั่นในตนเอง อยากทดลองทำสิ่งใหม่ ๆ อยากรู้อยากเห็น ชอบกระโดดโลดเต้น ชอบตะโกน หัวเราะ ร่าเริง แจ่มใส สามารถดูแลตนเองผ่านกิจวัตรประจำวันได้มากขึ้น เช่น กินข้าว ล้างหน้า ล้างมือ ใช้กล้ามเนื้อมือได้มากขึ้น สามารถจับดินสอ พู่กันได้ ใช้กรรไกรตัดกระดาษได้ ทรงตัว วิ่ง ปีนป่ายได้ดีขึ้น สนใจคำศัพท์ใหม่ ๆ เริ่มโต้แย้งและมีการใช้เหตุผล รู้จักคิดอย่างมีเหตุผลมากขึ้น แต่บางครั้งก็ยังแยกระหว่างเรื่องจริงกับเรื่องที่แต่งขึ้นไม่ออก
➤ เด็กวัย 5-6 ปี
เป็นวัยที่เริ่มเรียนรู้บทบาทของผู้ใหญ่โดยการจินตนาการและเล่นบทบาทสมมติ เตรียมพร้อมที่จะเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ จากสิ่งแวดล้อม รอบตัวและในโรงเรียน มีสมาธิจดจ่อในการทำกิจกรรมนานขึ้น และเริ่มเข้าใจผู้อื่น สามารถดูแลตนเองผ่านกิจวัตรประจำวันได้ดียิ่งขึ้น สามารถทรงตัว วิ่ง ปีนป่าย และโหนตัวไปมาได้คล่องแคล่ว เริ่มเขียนลอกแบบรูปร่างตัวหนังสือและตัวเลขได้แล้ว รวมไปถึงยังมีความสามารถในการแก้ไขปัญหาได้มากขึ้น และเด็ก ๆ ในวัยนี้ยังจดจำและเล่าเรื่องราวประกอบท่าทางได้ เข้าใจการแบ่งปันและความยุติธรรมอีกด้วย

เป็นคุณครู ไม่รู้ ไม่ได้แล้ว !
เพราะหากคุณครูเข้าใจธรรมชาติของเด็กอย่างถูกต้องจะสามารถส่งเสริมพัฒนาการเด็กให้ได้รับการพัฒนาด้านร่างกายอารมณ์ จิตใจ สังคมและสติปัญญาอย่างมีคุณภาพและต่อเนื่อง ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้อย่างมีความสุขและเหมาะสมตามวัย ช่วยให้เด็กเติบโตขึ้นอย่างอบอุ่นและมีความสุข ทำให้เด็กสามารถเห็น คุณค่าของตนเอง มีชีวิตที่สมดุลและเป็นผู้ใหญ่สมบูรณ์
#สอบถาม #สั่งซื้อ #สื่อการเรียนการสอน
.
📲 m.me/rathakun11/
📲 Line ID: @rathakun11 (ใส่ @ ข้างหน้าด้วยนะคะ )
หรือ คลิก https://bit.ly/3PpzYDC
☎️ 081-6257458 , 0896911094
รัฐกุล “ผู้ช่วยที่ดีที่สุดของคุณครูอนุบาล”
Related posts
ประสบการณ์ยิ่งเยอะ…ยิ่งเรียนรู้ได้ไว ชวนคุณครูปฐมวัยมาดูแนวทางการจัดประสบการณ์การเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย (ตามหลักสูตรปฐมวัย พ.ศ. 2560)
หมวดหมู่
- ความรู้ครูปฐมวัย (89)
- หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย (30)
- อื่นๆ (47)
- ดาวน์โหลดเอกสาร (2)
- พัฒนาการเด็กปฐมวัย (42)
- เอกสารประเมินพัฒนาการเด็ก (12)
- โปรแกรมครูแคร์ (6)
บทความล่าสุด
- “ครูแคร์” ผู้ช่วยมือ 1 ของคุณครูและโรงเรียนทั่วประเทศ พฤษภาคม 29, 2023
- โปรแกรมครูแคร์ พฤษภาคม 22, 2023
- “ครูแคร์” ผู้ช่วยมือ 1 ของคุณครูและโรงเรียนทั่วประเทศ เมษายน 28, 2023
- นักเรียนสนุก คุณครูแฮปปี้ “กิจกรรมช่วงสงกรานต์ที่เด็ก ๆ ควรปฏิบัติ” เมษายน 26, 2023
- ลักษณะธรรมชาติพิเศษของเด็กในวัยอนุบาลที่คุณครูควรรู้ ! เมษายน 12, 2023
บทความแนะนำ
-
“ครูแคร์” ผู้ช่วยมือ 1 ของคุณครูและโรงเรียนทั่วประเทศ
พฤษภาคม 29, 2023 -
การจัดประสบการณ์เพื่อการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย
มิถุนายน 6, 2018 -
การให้ความช่วยเหลือเด็กที่มีปัญหาพฤติกรรม
มิถุนายน 6, 2018 -
วิธีฟื้นคืนเด็กพิเศษให้ปกติด้วยการศึกษา
มิถุนายน 6, 2018 -
เสริมสร้างพัฒนาการเด็กอย่างไรให้โตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ!
มิถุนายน 6, 2018