การจัดสภาพแวดล้อมและสำหรับการเรียนรู้ ตามหลักสูตรปฐมวัย 2560-1

การจัดสภาพแวดล้อมและแหล่งเรียนรู้สำหรับการจัดการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัยนั้น ถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง เพราะสภาพแวดล้อมในการเรียนรู้นั้นมีความสำคัญและสามารถจูงใจเด็กได้ 

เพราะฉะนั้นถ้าอยากให้การเรียนรู้ของเด็กในช่วงปฐมวัยเป็นไปในทางที่ดี ราบรื่นและมีประสิทธิภาพ เด็กก็ควรได้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม มีการอำนวยความสะดวกให้แก่ตัวเด็ก และนอกจากนี้ยังต้องเป็นสภาพแวดล้อมที่ไม่ตึงเครียด เพื่อให้เด็กได้มีการเรียนรู้อย่างสนุกสนาน 

โดยการจัดสภาพแวดล้อมสำหรับการเรียนรู้ของเด็ก แบ่งออกได้ 3 ด้านดังนี้ 

1. การจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพ

การจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพนั้นเน้นไปที่การทำให้เด็กได้อยู่ในที่ที่ทำให้มีสุขอนามัยที่ดี มีพื้นที่ในการทำกิจกรรมต่าง ๆ อย่างคล่องตัวและตอบสนองการทำกิจกรรมที่หลากหลาย ซึ่งการจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพต้องใส่ใจเรื่องความสะอาด ปลอดภัย และอิสระในการเล่นของเด็ก โดยที่อยู่ในขอบเขตที่ผู้สอนสามารถดูแลได้ 

หรือถ้าให้กล่าวในลักษณะกายภาพนั้น การจัดสภาพแวดล้อมสถานศึกษาที่ดีนั้น สถานที่ต้องมีการถ่ายเทที่ดีของอากาศ มีอุณหภูมิที่เหมาะสม และแสงสามารถเข้าถึงได้อย่างเพียงพอ นอกจากนี้ควรจะเป็นสถานที่ที่สงบเพื่อให้เด็กได้มีสมาธิในการเรียนนั่นเอง 

2. การจัดสภาพแวดล้อมในห้องเรียน

การจัดสภาพแวดล้อมในห้องเรียนนั้น สิ่งแรกที่จะต้องคำนึงถึงคือ “ความปลอดภัย” ของเด็ก ควรมีการจัดสถานที่เพื่อให้ปลอดภัยไม่ให้ต้องเสี่ยงกับอันตรายที่จะทำให้เด็กบาดเจ็บ นอกจากนี้ตามค่ากลางที่สถานศึกษาได้กำหนดไว้ ห้องเรียนควรมีความสะอาด เป็นระบบระเบียบในการจัดการเอกสารแฟ้มข้อมูลต่าง ๆ ของเด็ก จัดสถานที่ให้เด็กชอบ เพื่อให้บรรยากาศในห้องเรียนนั้นเป็นบรรยากาศที่อบอุ่น 

โดยสิ่งที่ต้องคำนึงถึงนอกจากข้อความข้างต้นมีดังนี้

  1. จัดวางสื่อการเรียน อุปกรณ์ เครื่องเล่น และครุภัณฑ์ให้เป็นระเบียบ และให้สอดคล้องกับการใช้งานของเด็ก ให้เด็กสามารถนำมาทำกิจกรรมสะดวกได้ด้วยตนเอง 
  2. ขนาดของสื่อการเรียนรู้ที่ใช้กับเด็กควรมีขนาดที่พอดี ไม่เล็ก ไม่ใหญ่เกินไป เพื่อความปลอดภัยของเด็ก
  3. การจัดวางสิ่งของต้องดูทิศทางลม เพื่อไม่ให้เกิดการพัดสิ่งของลงมาข้างล่างและเกิดอันตรายกับเด็ก 
  4. ห้องต้องปลอดภัยจากสัตว์ แมลง พืช และสารเคมีบนโต๊ะ และไม่ควรมีมุมเหลี่ยมที่แหลมคม 
  5. แบ่งโซนห้องเรียนให้เหมาะสม โซนเรียน โซนเล่น โซนทำกิจกรรม โซนพักผ่อน 
  6. โซนกิจกรรมมุมประสบการณ์ ควรแยกโซนที่ใช้เสียง และโซนที่เงียบออกจากกัน 
  7. มีโซนติดผลงานกิจกรรมของเด็ก เพื่อเป็นการส่งเสริมการกล้าคิด กล้าแสดงออก 

3. การจัดสภาพแวดล้อมนอกห้องเรียน 

การจัดสภาพแวดล้อมภายในสถานศึกษาบริเวณนอกห้องเรียน สิ่งที่ต้องคำนึงถึงเป็นอย่างแรกก็เช่นเคย นั่นก็คือ “ความปลอดภัย” นั่นเอง โดยสภาพแวดล้อมภายนอกห้องเรียนที่กล่าวถึงนั้นก็จะเป็น สนามเด็กเล่น,บริเวณทำกิจกรรมกลางแจ้ง,สนามกีฬา และบริเวณที่มีต้นไม้ต่าง ๆ ในสถานศึกษา โดยการจัดนั้นต้องพึงระวังความปลอดภัย ดูแลความสะอาด และให้บรรยากาศร่มรื่น 

โดยสิ่งที่ต้องคำนึงนอกจากข้อความข้างต้นมีดังนี้ 

  1. สนามเด็กเล่น ควรมีพื้นผิวหลายประเภท เช่น ดิน ทราย และหญ้า ไม่อยู่ใกล้พื้นที่อันตรายและควรตรวจสอบความแข็งแรงของเครื่องเล่น 
  2. ที่นั่งเล่นพักผ่อน ควรอยู่ใต้ร่มไม้ และถ้าจะให้ดีอาจจะมีสื่อนิเทศข้อมูลความรู้ติดไว้ นอกจากนี้ควรหมั่นตัดต้นไม้หากร่มใบเยอะเกินไป เนื่องจากอาจเป็นที่อาศัยของสัตว์มีพิษได้ 
  3. ตัวอาคารควรมีความสะอาด ปลอดภัยและแข็งแรง ไม่เป็นอันตรายต่อเด็ก 

ไม่ว่าใครต่างก็อยากอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี เด็กก็เช่นกันเขาก็อยากอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดีเหมือนกับเรา ดังนั้นเพื่อที่เขาจะได้มีความสุขในการมาเรียนรู้และเพื่อการพัฒนาการทักษะของเขา และส่งเสริมแรงจูงใจในการเรียนรู้ประสบการณ์ใหม่ ๆ ตามที่ผู้สอนได้วางแผนไว้สำหรับเขา สภาพแวดล้อมสถานศึกษาและห้องเรียนที่เขาประจำอยู่นั้นจึงควรมีสภาพแวดล้อมที่ดีนั่นเอง 

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *