
“แผนประสบการณ์” เป็นเครื่องมือสำคัญในการจัดกิจกรรมเพิ่มประสบการณ์ให้แก่เด็ก โดยเหตุผลของการจัดแผนประสบการณ์นั้น เพื่อให้คุณครูผู้สอนสามารถทำงานได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้การจัดแบบแผนยังทำให้งานมีประสิทธิภาพ ซึ่งส่งผลต่อการพัฒนาของเด็กโดยตรงนั่นเอง
ดังนั้นเพื่อให้การพัฒนาในตัวเด็กทั้งด้าน ร่างกาย,อารมณ์ และจิตใจ,สติปัญญา และสังคม ได้พัฒนาและพร้อมที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ในระดับถัดไป คุณครูควรที่จะจัดแผนประสบการณ์ล่วงหน้า โดยขั้นตอนในการจัดแผนประสบการณ์ มีด้วยกันทั้งหมดดังนี้
1.ศึกษาทำความเข้าใจหลักสูตรสถานศึกษา
ก่อนอื่นที่จะเริ่มวางแผนนั้นต้องเริ่มที่การศึกษาให้เข้าใจเสียก่อน โดยเริ่มแรกสิ่งที่ผู้สอนควรศึกษานั้นคือ “หลักสูตรสถานศึกษา” เพื่อจะได้วางแผนได้ตรงและสอดคล้องกับหลักสูตรที่สถานศึกษากำหนด นอกจากนี้ควรศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการจัดแผนประสบการณ์เพิ่มเติม และหลักสูตรปฐมวัยที่ใช้ในปัจจุบัน เพื่อหาลู่ทางในการปรับเข้ามาใช้กับแผนประสบการณ์ของตน
2.ออกแบบการจัดประสบการณ์
ผู้สอนควรที่จะออกแบบแผนประสบการณ์ไปในแนวทางของหลักสูตรที่สถานศึกษากำกับใช้ แต่ทั้งนี้ในกรณีที่สถานศึกษากำหนดรูปแบบการจัดประสบการณ์ แบบ “หน่วยการจัดประสบการณ์” นั้น
ผู้สอนต้องกำหนดหัวเรื่องและรายละเอียดเพื่อใช้เป็นแกนกลางในการจัดประสบการณ์ โดยนำมาจากการวิเคราะห์สาระการเรียนรู้รายปี ในหลักสูตรสถานศึกษาดังนี้
2.1) กำหนดหัวเรื่องหรือชื่อหน่วยจัดประสบการณ์
ผู้สอนต้องกำหนดหัวเรื่องโดยใช้ผลการวิเคราะห์สาระเรียนรู้รายปี โดยหัวเรื่องที่กำหนดควรมีลักษณะเหมาะสมกับวัยและพัฒนาการของเด็ก ตรงตามความต้องการและความสนใจของเด็ก และที่สำคัญต้องสอดคล้องกับบริบทการใช้ชีวิตประจำวันของเด็กได้อย่างกลมกลืน
โดยการกำหนดหัวเรื่องนั้น มีด้วยกัน 3 วิธีดังนี้
2.1.1) ผู้สอนกำหนด พิจารณาการตั้งชื่อจากการจัดประสบการณ์ และความต้องการของเด็ก
2.1.2) ผู้สอนและเด็กร่วมกันกำหนด ผู้สอนกระตุ้นให้เด็กออกความคิดเห็น และนำเรื่องที่ตัวเด็กสนใจมากำหนดเป็นหน่วยจัดประสบการณ์
2.1.3) เด็กเป็นผู้กำหนด ผู้สอนเปิดโอกาสให้เด็กได้กำหนดหัวเรื่องความสนใจของเด็ก ทั้งนี้ผู้สอนสามารถนำหัวเรื่องหน่วยการจัดประสบการณ์ที่กำหนดไว้มาจัดทำเป็น “กำหนดการจัดประสบการณ์ศึกษาประจำปี” ได้ โดยทั้งนี้ต้องคำนึงถึงฤดูกาล เทศกาล วันสำคัญต่าง ๆ เพื่อเป็นการจัดหัวเรื่องให้ตรงตามกับเวลา เพื่อที่ผู้สอนจะได้เตรียมการสอนประสบการณ์ได้ง่ายขึ้น
2.2) กำหนดรายละเอียดของหน่วยการจัดประสบการณ์
การกำหนดรายละเอียดของหน่วยการจัดประสบการณ์นั้น ต้องอยู่ในขอบเขตของ มาตรฐาน ตัวบ่งชี้ สภาพพึงประสงค์,จุดประสงค์ และ สาระการเรียนรู้ ตามที่หลักสูตรปฐมวัยได้กำหนดไว้
โดยรายละเอียดของหน่วยการจัดประสบการณ์นั้น ต้องสอดคล้องกับการส่งเสริมพัฒนาการทั้ง 4 ด้านของเด็ก
3.เขียนแผนการจัดประสบการณ์
สำหรับการเขียนแผนการจัดประสบการณ์นั้น ควรเริ่มจากการเขียนแผนแบบรายสัปดาห์ ออกแบบและกำหนดรายกิจกรรมให้เด็กได้บรรลุตามประจุประสงค์การเรียนรู้ของหน่วย
รวมไปถึงเขียนแผนล่วงหน้าของในแต่ละสัปดาห์ของการจัดประสบการณ์ โดยการเขียนนั้นต้องคำนึงถึงมาตรฐาน ตัวบ่งชี้ สภาพพึงประสงค์,จุดประสงค์ และ สาระการเรียนรู้และสารประสบการณ์ รวมไปถึงต้องคำนึงถึงความสมดุลของพัฒนาการทุกด้าน และสำหรับการเขียนประสบการณ์รายวันนั้น ต้องระบุรายละเอียดที่ครอบคลุมจุดประสงค์การเรียนรู้
โดยการจัดนั้นต้องสอดคล้องและอยู่ภายใต้แผนของรายสัปดาห์ตั้งแต่ต้นจนจบ ซึ่งแผนการจัดประสบการณ์ทั้งหมดนี้ต้องสามารถนำไปใช้กับเด็กได้จริง สามารถช่วยพัฒนาตัวเด็กได้ หรือที่เข้าใจกันง่าย ๆ ก็คือแผนการจัดประสบการณ์นี้ต้องเกิดประโยชน์สูงสุดต่อเด็ก
4.ประเมินหลังการจัดประสบการณ์
หลังจากจัดประสบการณ์แล้ว ผู้สอนควรดำเนินการประเมินพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย ตามที่หลักสูตรได้ระบุไว้ และทำการประเมินการจัดประสบการณ์ของครูจากแผนการจัดประสบการณ์
โดยผู้สอนสามารถบันทึกผลการประเมินทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ สำหรับผลของการประเมินนี้ผู้สอนสามารถนำไปปรับและออกแบบการจัดประสบการณ์ครั้งใหม่ได้
“การจัดประสบการณ์” นั้นเป็นสิ่งที่ผู้สอนควรมีการจัดเตรียมล่วงหน้าอยู่เสมอ เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกต่อครูผู้สอน และการจัดการสอนประสบการณ์ที่มีระบบระเบียบ ซึ่งทั้งหมดนี้จะเป็นประโยชน์ต่อตัวเด็กในการได้พัฒนาทักษะ จากการได้เรียนรู้ผ่านประสบการณ์ และแน่นอนว่าเมื่อเด็กได้ประโยชน์และบรรลุเป้าหมาย ตรงตามหลักสูตรและแผนประสบการณ์แล้วนั้น ก็จะเปรียบเสมือนการประสบความสำเร็จของคุณครูในการวางแผนในการสอนเช่นกัน
Related posts
ประสบการณ์ยิ่งเยอะ…ยิ่งเรียนรู้ได้ไว ชวนคุณครูปฐมวัยมาดูแนวทางการจัดประสบการณ์การเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย (ตามหลักสูตรปฐมวัย พ.ศ. 2560)
หมวดหมู่
- ความรู้ครูปฐมวัย (89)
- หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย (30)
- อื่นๆ (47)
- ดาวน์โหลดเอกสาร (2)
- พัฒนาการเด็กปฐมวัย (42)
- เอกสารประเมินพัฒนาการเด็ก (12)
- โปรแกรมครูแคร์ (6)
บทความล่าสุด
- “ครูแคร์” ผู้ช่วยมือ 1 ของคุณครูและโรงเรียนทั่วประเทศ พฤษภาคม 29, 2023
- โปรแกรมครูแคร์ พฤษภาคม 22, 2023
- “ครูแคร์” ผู้ช่วยมือ 1 ของคุณครูและโรงเรียนทั่วประเทศ เมษายน 28, 2023
- นักเรียนสนุก คุณครูแฮปปี้ “กิจกรรมช่วงสงกรานต์ที่เด็ก ๆ ควรปฏิบัติ” เมษายน 26, 2023
- ลักษณะธรรมชาติพิเศษของเด็กในวัยอนุบาลที่คุณครูควรรู้ ! เมษายน 12, 2023
บทความแนะนำ
-
“ครูแคร์” ผู้ช่วยมือ 1 ของคุณครูและโรงเรียนทั่วประเทศ
พฤษภาคม 29, 2023 -
การจัดประสบการณ์เพื่อการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย
มิถุนายน 6, 2018 -
การให้ความช่วยเหลือเด็กที่มีปัญหาพฤติกรรม
มิถุนายน 6, 2018 -
วิธีฟื้นคืนเด็กพิเศษให้ปกติด้วยการศึกษา
มิถุนายน 6, 2018 -
เสริมสร้างพัฒนาการเด็กอย่างไรให้โตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ!
มิถุนายน 6, 2018