5 ขั้นตอนการประเมินพัฒนาการปฐมวัย …ที่คุณครูอนุบาลต้องรู้!

ตามหลักสูตรการศึกษาระดับปฐมวัย พุทธศักราช 2560  ได้มีการกำหนดมาตรฐานคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่เด็ก ๆ ควรจะมีในช่วงวัยปฐมวัย เพื่อให้โรงเรียนได้มีการจัดการเรียนสอนที่สอดคล้องและตรงกับเป้าหมาย และใช้เป็นจุดหมายในการพัฒนาและการประเมินเด็กให้บรรลุคุณภาพตามมาตรฐาน โดยคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่ได้กำหนดไว้ มี 4 ด้าน รวมทั้งหมด 12 ประการ ดังนี้

1.พัฒนาการด้านร่างกาย 

  • ร่างกายเจริญเติบโตตามวัยและมีสุขนิสัยที่ดี   
  • กล้ามเนื้อใหญ่และกล้ามเนื้อเล็กแข็งแรง ใช้ได้อย่างคล่องแคล่วและประสานสัมพันธ์กัน                

2.พัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ 

  • มีสุขภาพจิตดีและมีความสุข
  • ชื่นชมและแสดงออกทางศิลปะ ดนตรี และการเคลื่อนไหว 
  • มีคุณธรรม จริยธรรม  และมีจิตใจที่ดีงาม 

3. พัฒนาการด้านสังคม 

  • มีทักษะชีวิตและปฏิบัติตนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 
  • รักธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม และความเป็นไทย
  • อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุขและปฏิบัติตนเป็นสมาชิกที่ดีของสังคมในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข 

4. พัฒนาการด้านสติปัญญา 

  • ใช้ภาษาสื่อสารได้เหมาะสมกับวัย
  • มีความสามารถในการคิดที่เป็นพื้นฐานในการเรียนรู้ 
  • มีจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์
  • มีเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้และมีความสามารถในการแสวงหาความรู้ได้เหมาะสมกับวัย

การประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัยควรยึดหลักการ 5 ขั้นตอน ดังต่อไปนี้

วางแผนการประเมินพัฒนาการอย่างเป็นระบบ

1. วางแผนการประเมินพัฒนาการอย่างเป็นระบบ 

การวางแผนการประเมินพัฒนาการอย่างเป็นระบบเป็นขั้นตอนแรกที่คุณครูผู้สอนในระดับชั้นปฐมต้องดำเนินการ ถือเป็นภารกิจที่สำคัญภารกิจหนึ่งของคุณครูผู้สอน สิ่งสำคัญของขั้นตอนนี้ คือ คุณครูอนุบาลจะต้องนำหลักสูตรของการศึกษาระดับปฐมวัยไปออกแบบและจัดทำหน่วยการเรียนรู้และแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ จากนั้นจึงกำหนดวัตถุประสงค์การประเมิน วิธีการประเมิน และเครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน ขั้นตอนต่อไปจึงจะเป็นการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยคุณครูผู้สอนจะต้องกำหนดเองว่าในแต่ละวัน จะเก็บรวบรวมข้อมูลอย่างไร แต่ละกิจกรรม จะสังเกตพฤติกรรมใด สังเกตเด็กคนใดบ้าง  และขั้นตอนสุดท้ายคือนำข้อมูลที่ได้ไปสู่การวิเคราะห์ข้อมูลและการแปลผลต่อไป       

ประเมินพัฒนาการเด็กครบทุกด้าน

2. ประเมินพัฒนาการเด็กครบทุกด้าน 

การประเมินพัฒนาการอย่างมีประสิทธิภาพและได้ประสิทธิผลจะต้องมีการประเมินพัฒนาการเด็กครบทุกด้าน  ทั้งการประเมินพัฒนาการเด็กด้านร่างกาย ด้านอารมณ์ ด้านจิตใจ ด้านสังคม และด้านสติปัญญา ซึ่งจะต้องสอดคล้องกับมาตรฐานคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่กล่าวไว้ข้างต้นด้วย เพื่อให้เด็ก ๆ ทุกคนในชั้นเรียนได้รับการพัฒนาด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญาอย่างมีคุณภาพและต่อเนื่องนั่นเอง   

ประเมินพัฒนาการเด็กเป็นรายบุคคลอย่างสม่ำเสมอต่อเนื่องตลอดปี

3. ประเมินพัฒนาการเด็กเป็นรายบุคคลอย่างสม่ำเสมอต่อเนื่องตลอดปี 

เนื่องจากจุดมุ่งหมายของการประเมินพัฒนาการเด็กนั้นมีเพื่อช่วยส่งเสริมพัฒนาการของเด็ก ๆ ในช่วงปฐมวัยให้มีความก้าวหน้าเต็มตามศักยภาพ  การประเมินพัฒนาการเด็กเป็นรายบุคคลอย่างสม่ำเสมอ จะมีความน่าเชื่อถือ เนื่องจากคุณครูได้มีการประเมิน และสังเกตพฤติกรรมหรือการปฏิบัติของเด็ก ๆ ปฐมวัยอย่างเพียงพอ ซึ่งจะทำให้สามารถนำผลการสังเกตที่ได้ไปประเมินเพื่อหาข้อสรุปเกี่ยวกับพัฒนาการของเด็ก ๆ ว่าเป็นไปตามคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่กำหนดไว้หรือไม่ 

ประเมินพัฒนาการตามสภาพจริงจากกิจกรรมประจำวันด้วยเครื่องมือและวิธีการที่หลากหลาย

4. ประเมินพัฒนาการตามสภาพจริงจากกิจกรรมประจำวันด้วยเครื่องมือและวิธีการที่หลากหลาย 

คุณครูผู้สอนไม่ควรใช้แบบทดสอบที่ใช้กระดาษและดินสอในการเขียนตอบ เพื่อประเมินพัฒนาการเด็กวัยนี้ เพราะวิธีนี้มีข้อจำกัดในหลาย ๆ ด้าน ทำให้ไม่สามารถประเมินพัฒนาการที่แท้จริงออกมาได้ การประเมินพัฒนาการจึงควรประเมินตามสภาพจริงด้วยเครื่องมือและวิธีการที่หลากหลาย โดยการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ พร้อมทั้งสังเกต บันทึกพฤติกรรม  ไม่ว่าจะเป็นการสนทนา การสัมภาษณ์ และการวิเคราะห์ข้อมูลจากผลงานเด็ก จะเป็นวิธีการประเมินที่เหมาะสมและสอดคล้องกับเด็กวัยนี้มากที่สุด  

สรุปผลการประเมิน  จัดทำข้อมูลและนำผลการประเมินไปใช้พัฒนาเด็ก

5.  สรุปผลการประเมิน  จัดทำข้อมูลและนำผลการประเมินไปใช้พัฒนาเด็ก 

คุณครูผู้สอนจะต้องนำข้อมูลที่ได้จากการ สังเกตพฤติกรรมของเด็กแต่ละคนตามสภาพที่พึงประสงค์ที่รวบรวมได้จากการจัดประสบการณ์การเรียนรู้และการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน ไปเทียบกับเกณฑ์การให้ระดับคุณภาพในแต่ละสภาพที่พึงประสงค์  ตัวบ่งชี้และมาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์ อีกทั้งยังต้องจัดทำเป็นข้อมูลสารสนเทศใน ระดับห้องเรียนว่า เด็กแต่ละคนมีพัฒนาการใดบ้างเป็นจุดเด่นหรือควรได้รับการส่งเสริม เพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาเด็กเป็นรายบุคคลและใช้เป็นข้อมูลสื่อสารกับผู้ปกครองในการเสริมศักยภาพเด็กเป็นรายบุคคลต่อไป     

เพียงแค่รู้ 5 หลักการนี้ก็จะทำให้คุณครูอนุบาลมีเทคนิคที่จะช่วยให้การประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัยเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพแล้วค่ะ และถ้าอยากมีประสิทธิภาพยิ่งกว่าก็ต้องมีตัวช่วยดี ๆ ที่จะทำให้การประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัยเป็นเรื่องง่ายขึ้น อย่าง “เอกสารประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัย” ของรัฐกุลที่มีมาตรฐาน ได้คุณภาพ เชื่อถือได้ ถูกต้องตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พ.ศ.2560 ใช้ง่าย ใช้คล่อง ไม่ต้องกังวลว่าจะประเมินผิดพลาด ของดีที่ขาดไม่ได้เลยสำหรับคุณครูอนุบาลทุกคน

สั่งซื้อเอกสารการประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัย

หากคุณครูท่านใดต้องการ เอกสารประเมินพัฒนาการเด็ก ที่จะช่วยอำนวยความสะดวกให้กับคุณครูปฐมวัย สรุปผลการประเมิน  จัดทำข้อมูลและนำผลการประเมินไปใช้พัฒนาเด็กได้มากที่สุด สามารถติดต่อได้ที่ช่องทางการติดต่อด้านล้างนี้เลยค่ะ 

โทร 081-6257458 / 089-6911094

Line @rathakun11

Fax 043-340335

Email  rathakun11@gmail.com

รัฐกุล ผู้ช่วยที่ดีที่สุดของครูอนุบาล


ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *