
เข้าใจ เรียนรู้ ดูแลไปด้วยกัน…หลักการ สอนเด็กออทิสติก อย่างมีประสิทธิภาพ
“การเรียนรู้ร่วมกันในความต่าง ช่วยให้ทุกฝ่ายมีการเติบโตไปพร้อมกัน”
ข้อความข้างต้นนี้เรียกได้ว่าเป็นใจความสำคัญสำหรับการสอนเด็กพิเศษ “ออทิสติก” เลยก็ว่าได้ เพราะเด็กเหล่านี้มีความแตกต่างจากเด็กปกติทั่วไป คุณครูผู้สอนจึงจำเป็นต้องเรียนรู้และทำความเข้าใจในความแตกต่างนี้ให้ดี เพื่อคัดเลือกหลักการสอนที่ดีที่สุดที่จะทำให้เด็กพิเศษเหล่านี้สามารถเติบโตขึ้นมาโดยใช้ชีวิตร่วมกับคนอื่นๆ ได้ ไม่ใช่เพียงแค่ช่วยให้เด็กเติบโตเท่านั้น คุณครูที่ได้รับหน้าที่ดูแลเด็กพิเศษก็จะได้ร่วมเติบโตไปพร้อมๆ กันด้วย
อาการของโรค “ออทิสติก” เป็นอาการที่มีความผิดปกติของสมองตั้งแต่กำเนิดที่ส่งผลต่อพัฒนาการทั้ง 3 ด้าน ได้แก่
- พัฒนาการด้านการสื่อสาร
- พัฒนาการด้านการเข้าสังคม
- พัฒนาการด้านการเล่น
โดยจะแสดงอาการ เช่น พูดช้า ไม่ส่งเสียงเรียก ไม่สบตาเวลาพูด ไร้อารมณ์ ดูไม่สนใจสิ่งต่างๆ รอบตัว บอกความต้องการขงตัวเองไม่ได้ ทำตามคำสั่งง่าย ๆ ไม่ได้ ปรับตัวเข้ากับผู้อื่นได้ลำบาก ชอบอยู่คนเดียว ไม่อยากเล่นกับใคร มักชอบทำอะไรซ้ำๆ สนใจในรายละเอียดมากเกินไป ไม่สนใจกฎต่างๆ นอกจากนี้อาการของโรคออทิสติกยังสามารถแสดงด้วยอาการอย่างอื่น เช่น มีพฤติกรรมก้าวร้าว อยู่ไม่นิ่งหรือขาดสมาธิ กรีดร้องเสียงสูง เป็นต้น
จุดมุ่งหมายของการสอนของเด็กออทิสติกนั้น คือ การปรับเปลี่ยนเพิ่มเติมพัฒนาการ ความรู้ ความสามารถ ในการดำรงชีวิตให้อยู่ในสังคมให้ได้
ปัจจุบันได้มีการแบ่งเด็กออทิสติกออกเป็น 3 ประเภท เพื่อประโยชน์ในการจัดการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับระดับอาการและศักยภาพของเด็กแต่ละประเภท อันประกอบด้วย…
- กลุ่มที่มีความสามารถสูง กลุ่มนี้จะปรากฏอาการเพียงเล็กน้อย สามารถใช้การจัดการศึกษาเหมือนเด็กปกติ ได้ เพียงแต่คุณครูจะต้องช่วยส่งเสริมความสามารถ และคอยจัดการกับข้อบกพร่องของเด็กกลุ่มนี้ เช่น มีข้อบกพร่องเรื่องการเข้าสังคมก็ควรส่งเสริมการทำกิจกรรมกลุ่ม หรือถ้าเด็กมีอาการสมาธิสั้น ไม่ฟังครูสอน ลองแก้ปัญหาโดยการจัดกิจกรรมที่น่าสนใจให้เด็กทำแล้ววางเงื่อนไขว่าเมื่อทำเสร็จจึงสามารถทำกิจกรรมอื่นได้
- กลุ่มที่มีความสามารถระดับปานกลาง เด็กกลุ่มนี้สามารถเรียนรู้ได้ดีในระดับหนึ่ง สามารถเข้าสู่ระบบการศึกษาปกติได้ แต่ก็ต้องได้รับการช่วยเหลือจากคุณครูเป็นอย่างมาก ค่อนข้างที่จะต้องใช้เวลาในการสอนเสริมทักษะทางสังคมและแก้ไขข้อบกพร่องอื่นๆ ที่ยังมีอยู่
- กลุ่มเด็กที่มีความบกพร่องรุนแรง เด็กกลุ่มนี้จะสามารถเรียนรู้ได้ก็ต่อเมื่อได้รับการช่วยเหลือและกระตุ้นพัฒนาการพื้นฐานทุกด้าน คุณครูจะต้องเน้นการแก้ไขข้อบกพร่องต่างๆ ที่ปิดกั้นเด็กในการเรียนรู้
หลักการสอนเด็กออทิสติกอย่างมีประสิทธิภาพ
- เน้นทักษะที่จำเป็น

- การสอนทักษะทางภาษาควรเน้นการรับรู้ทางภาษาและการแสดงออกทางภาษา

- จัดกิจวัตรประจำวันให้เป็นระบบและดำเนินการตามเดิมทุกวัน หากมีการเปลี่ยนแปลงจะต้องบอกและอธิบายให้เข้าใจ

- ใช้กระบวนการปรับพฤติกรรมควบคู่ไปกับการสอน

- หลีกเลี่ยงการลงโทษ

- การเรียนการสอนควรให้เพื่อนเป็นแบบอย่างที่ดีให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้

- ควรเน้นทักษะทางสังคมและเลือกใช้วิธีปรับพฤติกรรมให้เหมาะสม

- เมื่อพบว่าเด็กออทิสติกบางคน มีพฤติกรรมที่ผิดปกติมาก ครูจึงจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญ

- เด็กบางคนอาจเรียนรู้ช้าและใช้เวลานานมากในการแสดงทักษะง่ายๆ ครูบางคนอาจลดเกณฑ์ในจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมและลดเนื้อหาวิชาลง

เทคนิคการสอนเด็กออทิสติก มีหลากหลายรูปแบบมากที่จะช่วยดึงดูดความสนใจจากเด็กๆ และสามารถเสริมสร้างพัฒนาการเรียนรู้ให้กับเด็กพิเศษเหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็น…
1. การสอนโดยการสาธิต วิธีการนี้จะสามารถช่วยให้เด็กๆ ได้เห็นการปฏิบัติจริงด้วยตาของตัวเอง ทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจเรื่องนั้นๆ ได้ดียิ่งขึ้น
2.การสอนโดยการเล่นเกม วิธีการนี้คุณครูจะสามารถช่วยให้เด็กๆ ได้เรียนรู้เรื่องต่างๆ อย่างสนุกสนาน พร้อมกับได้รับประสบการณ์ตรงและเปิดโอกาสให้เด็กๆ มีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอนได้เป็นอย่างมาก
3. การสอนโดยใช้สถานการณ์สมมติ คุณครูสามารถใช้วิธีการสอนแบบนี้เพื่อช่วยให้เด็กๆ ได้เรียนรู้สภาพความเป็นจริง เกิดความเข้าใจในสถานการณ์ หรือเรื่องที่มีตัวแปรและมีความซับซ้อน เข้าใจยาก
การวางแผนการเรียนการสอน สำหรับเด็กออทิสติกจะประสบความสำเร็จมากน้อยเพียงใดนั้น ก็ขึ้นอยู่กับการจัดการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับความต้องการที่แตกต่างของเด็กแต่ละคนเป็นสำคัญ และต้องอาศัยความรัก ความเอาใจใส่ ความตั้งใจจริงต้องคุณครูผู้สอนเป็นอย่างมาก เพื่อที่จะทำให้เด็กๆ กลุ่มนี้สามารถเติบโตเป็นบุคคลที่มีคุณภาพและใช้ชีวิตได้อย่างปกติสุขในสังคมต่อไปในอนาคตได้
หากสนใจ เอกสารประเมินพัฒนาการเด็ก ที่ได้มาตรฐาน กรอกและสรุปผลง่าย หรือสื่อการเรียนการสอนอนุบาลอื่นๆ อีกมากมายที่จะช่วยพัฒนาศักยภาพของเด็กๆ สามารถติดต่อได้ที่
โทร 081-6257458 / 089-6911094
Line @rathakun11
Fax 043-340335
Email rathakun11@gmail.com
รัฐกุล ผู้ช่วยที่ดีที่สุดของครูอนุบาล

Related posts
ประสบการณ์ยิ่งเยอะ…ยิ่งเรียนรู้ได้ไว ชวนคุณครูปฐมวัยมาดูแนวทางการจัดประสบการณ์การเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย (ตามหลักสูตรปฐมวัย พ.ศ. 2560)

หมวดหมู่
- ความรู้ครูปฐมวัย (116)
- หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย (30)
- อื่นๆ (74)
- ดาวน์โหลดเอกสาร (2)
- พัฒนาการเด็กปฐมวัย (44)
- เอกสารประเมินพัฒนาการเด็ก (14)
- โปรแกรมครูแคร์ (11)
- วิดีโอ (6)
บทความล่าสุด
- สัญญาณเริ่มต้นที่ครูควรรู้ วิธีสังเกตเด็กที่อาจมีความต้องการพิเศษ มีนาคม 7, 2025
- ศิลปะบำบัด เสริมสร้างพัฒนาการเด็กปฐมวัย เรื่องที่ครูอนุบาลไม่ควรมองข้าม มีนาคม 1, 2025
- แจกเทคนิคจัดการความเครียดในเด็กปฐมวัย! ครูอนุบาลต้องรู้ไว้ รับรองเด็กๆ ผ่อนคลายและพร้อมเรียนรู้ กุมภาพันธ์ 20, 2025
- รู้หรือไม่ ความฉลาดทางอารมณ์ของเด็ก เริ่มต้นจากครูอนุบาล กุมภาพันธ์ 14, 2025
- การจัดการกับความหลากหลายทางวัฒนธรรมในห้องเรียนปฐมวัย มกราคม 23, 2025
บทความแนะนำ
-
สัญญาณเริ่มต้นที่ครูควรรู้ วิธีสังเกตเด็กที่อาจมีความต้องการพิเศษ
มีนาคม 7, 2025 -
การจัดประสบการณ์เพื่อการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย
มิถุนายน 6, 2018 -
การให้ความช่วยเหลือเด็กที่มีปัญหาพฤติกรรม
มิถุนายน 6, 2018 -
วิธีฟื้นคืนเด็กพิเศษให้ปกติด้วยการศึกษา
มิถุนายน 6, 2018 -
เสริมสร้างพัฒนาการเด็กอย่างไรให้โตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ!
มิถุนายน 6, 2018