
การเริ่มต้นพัฒนาของเด็กช่วงปฐมวัย การทำอะไรที่มีระบบระเบียบฝังรากไว้ในตัวเด็กนั้นสำคัญอย่างมากโดยการจัดตารางกิจวัตรประจำวันสำหรับเด็กนั้นจะทำให้เด็กได้มีวินัยและได้พัฒนาการครอบคลุมทุกด้าน
ซึ่งการจัดตารางกิจวัตรประจำวันสำหรับเด็กนั้นต้องอยู่ในขอบเขตที่ต้องจัดการอย่างเหมาะสม สามารถปรับลดเวลายืดหยุ่นได้ตามความเห็นของตัวผู้สอนที่คิดและลงความเห็น ว่าตารางกิจวัตรประจำวันที่สร้างสำหรับเด็กของผู้สอนนั้น เหมาะสมกับตัวเด็กหรือไม่
โดยวันนี้ “รัฐกุล” ได้นำข้อมูลดี ๆ สำหรับการจัดตารางกิจวัตรประจำวันสำหรับเด็กมาบอกต่อกันค่ะ
ต้องจัดทำตารางอย่างไรถึงจะช่วยพัฒนาตัวเด็กให้ครบและครอบคลุมทุกด้านบ้าง สามารถอ่านได้ในบทความนี้เลยค่ะ
การจัดตารางเบื้องต้นเพื่อการพัฒนาการ ระหว่างอยู่สถานศึกษา
การจัดตารางกิจวัตรประจำวันสำหรับเด็กระดับเบื้องต้นเพื่อการพัฒนาการระหว่างที่อยู่สถานศึกษานั้นเริ่มต้นต้องคำนึงถึงกิจกรรมที่สามารถทำให้เด็กได้มีพัฒนาการในส่วนต่าง ๆ อย่างครอบคลุมทั่วทุกด้าน
โดยพัฒนาการต่าง ๆ ที่จะมุ่งเน้นให้เด็กได้มีพัฒนาการได้แก่… การพัฒนาทักษะในด้านการใช้ชีวิต,การพัฒนาการด้านสติปัญญาและความรู้,ด้านสังคม ในการเข้าร่วมทำงานกับผู้อื่น,ด้านจิตใจ การใช้ความคิดสร้างสรรค์ และการพัฒนาทางด้านร่างกาย
โดยการจัดตารางเวลา เบื้องต้นที่หลักสูตรปฐมวัย ฉบับปี 2560 ได้ระบุไว้ดังนี้
การพัฒนา | เด็กอายุ 3-4 ปี รายชั่วโมง/วัน | เด็กอายุ 4-5 ปี รายชั่วโมง/วัน | เด็กอายุ 5-6 ปี รายชั่วโมง/วัน |
การพัฒนาทักษะพื้นฐานในชีวิตประจำวัน (รวมทั้งการช่วยตนเองในการแต่งกาย การรับประทานอาหารสุขอนามัยและการนอนพักผ่อน) | 3 ชั่วโมง | 2 ชั่วโมง 30 นาที | 2 ชั่วโมง 15 นาที |
การเล่นตามมุมประสบการณ์/มุมเล่น | 1 ชั่วโมง | 1 ชั่วโมง | 1 ชั่วโมง |
การคิดและริเริ่มสร้างสรรค์ | 1 ชั่วโมง | 1 ชั่วโมง | 1 ชั่วโมง |
กิจกรรมด้านสังคม (การทำงานร่วมกับผู้อื่น) | 30 นาที | 45 นาที | 1 ชั่วโมง |
กิจกรรมพัฒนากล้ามเนื้อใหญ่ | 45 นาที | 45 นาที | 45 นาที |
กิจกรรมที่มีการวางแผนโดยผู้สอน | 45 นาที | 1 ชั่วโมง | 1 ชั่วโมง |
เวลาโดยประมาณ | 7 ชั่วโมง | 7 ชั่วโมง | 7 ชั่วโมง |
สิ่งที่ควรคำนึง ระหว่างการจัดตารางกิจกรรม
หลังจากรู้ไปแล้วว่าเวลาในการคำนวณและจัดตารางกิจกรรมควรเป็นเช่นไร ต่อไปคือสิ่งที่ควรคำนึง
โดยสิ่งที่ควรคำนึงส่วนใหญ่นั้นจะเป็นการคำนึงถึงผลลัพธ์ว่าจะออกมาเป็นเช่นไร ควรจัดตารางอย่างไรให้เกิดผลในการพัฒนาของตัวเด็ก ซึ่งรวม ๆ สิ่งที่ต้องคำนึงถึงมีด้วยกันดังนี้
- การจัดตารางนั้นสามารถปรับเปลี่ยน หรือยืดหยุ่นได้เพื่อให้เหมาะสมกับตัวเด็ก
- การจัดตารางกิจวัตรประจำวันควรจัดเพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานในชีวิตประจำวัน เช่นให้เริ่มหัดลงมือจับสิ่งของ หรือทำกิจวัตรนั้น ๆ เอง โดยในช่วงวัย 3 ปี อาจจะต้องมีการจับตาดู และช่วยแนะนำเขาจนกว่าจะเริ่มทำได้เอง ส่วนวัยที่โตขึ้นมาก็เริ่มปล่อยให้เขาทำเองได้
- การจัดกิจกรรมพัฒนากล้ามเนื้อใหญ่ ควรเน้นไปที่การให้เขาทรงตัว และมีการเคลื่อนไหวที่คล่องแคล่วและกล้ามเนื้อที่ยืดหยุ่น
- การจัดกิจกรรมเล่นอิสระ เป็นสิ่งที่ควรทำเพื่อให้ได้เด็กเรียนรู้อย่างอิสระ และฝึกการตัดสินใจด้วยตัวเอง
- จัดกิจกรรมที่ทำให้เด็กได้เกิดความคิดสร้าง เพื่อให้ได้ฝึกคิดรวบยอด คิดเชิงเหตุผล และมีจินตนาการ
- กิจกรรมที่พัฒนาทักษะทางด้านสังคม ต้องส่งเสริมให้เขาได้ทำความรู้จักและผูกมิตรกับเพื่อน รวมไปถึงฝึกให้เด็กได้มีการประพฤติที่ดี สามารถใช้ชีวิตร่วมกับสังคมได้
- กิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมสติปัญญา ในช่วงปฐมวัยความรู้ที่ได้นั้นส่วนใหญ่จะมาจากการเล่น โดยสอดแทรกความรู้ไปในกิจกรรมนั้น ๆ เพราะเด็กยังอยู่ในวัยที่ควรเล่นเพื่อเรียนรู้และรับประสบการณ์ โดยกิจกรรมที่ใช้ส่งเสริมสติปัญญานั้น จะเป็น กิจกรรมเกมเพื่อการศึกษา เป็นต้น
- กิจกรรมทั้งหมดที่เด็กทำ ต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของผู้สอน โดยเริ่มจากการแนะนำ และปล่อยให้เขาได้เริ่มปฏิบัติเองจนชิน
โดยตารางกิจวัตรประจำวันที่หลักสูตรปฐมวัย ฉบับปี 2560 ได้ทำตัวอย่างออกมามี 2 ตารางดังนี้
ตัวอย่างตารางกิจวัตรประจำวันแบบที่ 1 | ตัวอย่างตารางกิจวัตรประจำวันแบบที่ 2 |
08.00-08.30 : รับเด็ก | 08.00-08.30 : รับเด็ก |
08.30-08.45 : เคารพธงชาติ สวดมนต์ | 08.30-08.45 : เคารพธงชาติ สวดมนต์ |
08.45-09.00 : ตรวจสุขภาพ ไปห้องน้ำ | 08.45-09.10 : กิจกรรมดนตรีและจังหวะ /กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ |
09.00-09.20 : กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ | 09.10-10.30 : กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ และเล่นตามมุม |
09.20-10.20 : กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ และเล่นตามมุม | 10.30-10.40 : พัก (รับประทานอาหารว่าง) |
10.20-10.30 : พัก (รับประทานอาหารว่าง) | 10.40-11.20 : กิจกรรมเล่นกลางแจ้ง |
10.30-10.45 : กิจกรรมเสริมประสบการณ์/ในวงกลม | 11.20-11.30 : พัก (รับประทานอาหารว่าง) |
10.45-11.30 : กิจกรรมเล่นกลางแจ้ง | 11.30-11.50 : กิจกรรมเสริมประสบการณ์/ในวงกลม |
11.30-12.00 : พัก (รับประทานอาหารกลางวัน) | 11.50-13.00 : พัก (รับประทานอาหารกลางวัน) |
12.00-14.00 : นอนพักผ่อน | 13.00-15.00 : นอนพักผ่อน |
14.00-14.20 : เก็บที่นอน ล้างหน้า | 15.00-15.10 : เก็บที่นอน ล้างหน้า |
14.20-14.30 : พัก (รับประทานอาหารว่าง) | 15.10-15.30 : พัก (รับประทานอาหารว่าง) |
14.30-14.50 : กิจกรรมเกมการศึกษา | 15.30-15.50 : กิจกรรมเกมการศึกษา/เล่านิทาน |
14.50-15.00 : เตรียมตัวกลับบ้าน | 15.50-16.00 : เตรียมตัวกลับบ้าน |
ทั้งนี้การจัดกิจกรรมนั้น สามารถสลับ เพิ่ม/ลด เวลาได้ ตามความเหมาะสมและการวางแผนของผู้สอน
กิจวัตรประจำวันเป็นสิ่งที่เด็กต้องทำทุกวัน ดังนั้นครูผู้สอนจึงควรให้เขาได้ทำกิจกรรมที่เสริมทักษะ เพื่อให้ตัวเด็กได้มีการพัฒนาร่างกาย,จิตใจและอารมณ์,สติปัญญา และ การเข้าสังคม หรือพัฒนาให้ครอบคลุมทุกด้านตามเป้าหมายของหลักสูตรปฐมวัยนั่นเอง
Related posts
ประสบการณ์ยิ่งเยอะ…ยิ่งเรียนรู้ได้ไว ชวนคุณครูปฐมวัยมาดูแนวทางการจัดประสบการณ์การเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย (ตามหลักสูตรปฐมวัย พ.ศ. 2560)
หมวดหมู่
- ความรู้ครูปฐมวัย (89)
- หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย (30)
- อื่นๆ (47)
- ดาวน์โหลดเอกสาร (2)
- พัฒนาการเด็กปฐมวัย (42)
- เอกสารประเมินพัฒนาการเด็ก (12)
- โปรแกรมครูแคร์ (6)
บทความล่าสุด
- “ครูแคร์” ผู้ช่วยมือ 1 ของคุณครูและโรงเรียนทั่วประเทศ พฤษภาคม 29, 2023
- โปรแกรมครูแคร์ พฤษภาคม 22, 2023
- “ครูแคร์” ผู้ช่วยมือ 1 ของคุณครูและโรงเรียนทั่วประเทศ เมษายน 28, 2023
- นักเรียนสนุก คุณครูแฮปปี้ “กิจกรรมช่วงสงกรานต์ที่เด็ก ๆ ควรปฏิบัติ” เมษายน 26, 2023
- ลักษณะธรรมชาติพิเศษของเด็กในวัยอนุบาลที่คุณครูควรรู้ ! เมษายน 12, 2023
บทความแนะนำ
-
“ครูแคร์” ผู้ช่วยมือ 1 ของคุณครูและโรงเรียนทั่วประเทศ
พฤษภาคม 29, 2023 -
การจัดประสบการณ์เพื่อการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย
มิถุนายน 6, 2018 -
การให้ความช่วยเหลือเด็กที่มีปัญหาพฤติกรรม
มิถุนายน 6, 2018 -
วิธีฟื้นคืนเด็กพิเศษให้ปกติด้วยการศึกษา
มิถุนายน 6, 2018 -
เสริมสร้างพัฒนาการเด็กอย่างไรให้โตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ!
มิถุนายน 6, 2018